062-295−6588 contact-th@studist.co.th

สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยตอนนี้ก็ไม่ต่างจากนานาประเทศที่โดนพิษ COVID-19 เล่นงาน แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการกล่าวถึงว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคร้ายนี้ได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่เมื่อลองมองย้อนกลับไปก็จะเห็นได้ว่าดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจของไทยไม่ได้เติบโตอยู่ในขั้นที่เรียกว่า “ดี” มาสักระยะใหญ่ๆ แล้ว ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยที่ขยายตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และขยายตัวต่ำกว่าประเทศในอาเซียนด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้มีสาเหตุมาจาก COVID-19 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

กลับเข้าสู่สภาวะพึ่งตัวเอง

ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมือง ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา การส่งออกที่ติดลบ หรือเหตุการณ์อะไรก็ตามหากส่งผลต่อเศรษกิจในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เราจะมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่พอจะเข้ามาดึงสถานการณ์ให้ไม่แย่มากไปกว่าเดิมได้ แต่ปัจจุบัน เมื่อเจอไวรัส COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก หยุดการค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว จนทำให้เราไม่สามารถพึ่งใครได้ ต้องกลับเข้ามาสู่ภาวะพึ่งพาตัวเอง

SMEs = รากฐานเศรษกิจไทย

อย่างที่เรารู้กันเป็นอย่างดีว่าบริษัท SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ถือเป็นรากฐาน และเป็นกำลังหลักสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ โดยกิจการประเภท SMEs ของไทยนั้นคิดเป็นถึง 95% ของธุรกิจทั้งหมด และทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 50% ของธุรกิจทั้งหมดด้วย จึงจะเห็นได้ว่า SMEs มีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ

วิกฤต SMEs = วิกฤตเศรษกิจ 

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรง และประเมินความน่าจะเป็นได้ยากที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสจะคลี่คลายลงเมื่อไหร่ ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ภายในประเทศต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้กันแล้ว โดยจากข้อมูลทางสถิติของฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เปิดเผยว่า ณ เดือนพฤษภาคม 2563 มีจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ 4,195 ราย น้อยลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 29.4% และมีจำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ 905 ราย ซึ่งส่งผลโดยตรงถึงการจ้างงาน โดยจากข้อมูลประกันสังคมพบว่าเฉพาะเดือนพฤษภาคม 2563 เดือนเดียวมีผู้ประกันตนว่างงาน 332,060 คน ถูกเลิกจ้าง 105,488 คน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดเท่าที่ผ่านมา นอกจากนี้สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังออกรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุอัตราการวางงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่เด็กจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่ว่ามี SME 32.8% ที่มีเงินสดหมุนเวียนพอใช้จ่ายโดยไม่ต้องกู้ยืมเพิ่ม 2-3 เดือน และมี SME 25.4% ที่มีเงินสดหมุนเวียนพอใช้จ่ายโดยไม่ต้องกู้ยืมเพิ่มเพียงแค่ 0-1 เดือน ซึ่งไม่ใช่สถานการณ์ที่ดีต่อการบริหารองค์กรเท่าไหร่นัก ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะทำให้สามารถเชื่อมโยงได้ว่า SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพียงใดแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกได้อย่างชัดเจนว่าปัจจุบันผู้ประกอบการทุกภาคส่วนกำลังต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพียงใด เพราะหาก SMEs ล้มก็คงทำให้เศรษฐกิจทั้งระบบล้มตามกันไปอย่างแน่นอน

 เทคนิคเอาตัวรอดจากวิกฤตสำหรับ SME 

วิธีที่จะเอาตัวให้รอดจากวิกฤตได้อย่างดีที่สุดคือการที่จะต้องสามารถบริหารงานโดยยึดหลักดังนี้ 

1. ใช้ต้นทุนที่น้อยที่สุด 

ต้นทุนนั้นไม่ได้หมายถึงเม็ดเงินเพียงอย่างเดียว ยังหมายรวมไปถึงทั้งเวลา คน ทรัพยากร ที่นอกจากจะต้องใช้ให้น้อยแล้วยังต้องพยายามให้เกิดผลลัพธ์ที่มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันวิธีการประหยัดต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายของบริษัทก็มีหลากหลายวิธี อย่างเช่น

  • ลดการจ้างงาน แล้วสนับสนุนให้พนักงานได้ฝึกทักษะหลากหลาย (Multiple skill) เพื่อให้หนึ่งคนสามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง

  • ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองเท่าที่จะเป็นไปได้ จากที่เคยต้องว่าจ้างบริษัทอื่น หรือบุคคลอื่นเพื่อช่วยสนับสนุนงานในส่วนต่างๆ ก็เปลี่ยนเป็นการทำด้วยตัวเองภายในบริษัท เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง

  • เปลี่ยนเป็น Remote Work ซึ่งจะดีต่อทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสและค่าใช้จ่ายของบริษัท เพราะหากพนักงานสามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ บริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสถานที่และทรัพยากรต่างๆ ในออฟฟิศได้

  • ข้อเสนอด้านการลดต้นทุนอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

2. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีหมายถึงการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เท่ากันหรือมากกว่า ซึ่งขั้นตอนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานนั้นอาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจโครงสร้างการทำงานขององค์กรทั้งระบบ

7 เทคนิคสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (อ่านต่อ)

Kaizen เพื่อเตรียมความพร้อมองค์กรในระดับรากฐาน (อ่านต่อ)

รู้จักทฤษฎี Agile and Scrum (อ่านต่อ)

3. เพื่อให้ได้เห็นผลรวดเร็วและดีที่สุด 

การบริหารองค์กรในยุค 4.0 นี้หัวใจสำคัญอย่างนึงคือ “ความเร็ว” เพราะในโลกของธุรกิจที่มีคู่แข่งประเภทเดียวกันมากมายนี้ ผู้บริโภคสามารถหาผู้ให้บริการแบบเดียวกันได้ทันทีภายในเสี้ยวเวลา หากเป็นบริษัทที่ดำเนินการอย่างล่าช้าแล้วก็ย่อมจะถูกบริษัทอื่นแซงได้อย่างง่ายดาย สิ่งที่จะมาช่วยให้การบริหารงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นนั่นคือ “เทคโนโลยี” ซึ่งปัจจุบันนี้มีแพลตฟอร์มต่างๆ มากมายที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การ Digitalization จึงเป็นทางเลือกที่เร่งด่วนและขาดไม่ได้สำหรับองค์กรที่ต้องการอยู่รอดในยุคนี้

5 เทคโนโลยี ช่วยสนับสนุน Logistics และ Supply chain (อ่านต่อ

ไม่มีใครในโลกนี้สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะอยู่อีกนานไหม หรือไม่มีใครสามารถคาดคะเนได้ว่าแนวโน้มการทำธุรกิจในโลกอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่สิ่งหนึ่งที่ยังใช้ได้ดีเสมอนั่นคือ “เร็วกว่าได้เปรียบ” การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเป็นองค์กรที่ได้เปรียบในเรื่องความรวดเร็วในการ action เป็นแต้มต่อให้กับการบริหารยุคปัจจุบันที่ดี และอย่าลืมสิ่งสำคัญอีกอย่างว่า “เทคโนโลยี” จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ทุกองค์กรอยู่รอดได้อย่างสง่างาม

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This