062-295−6588 contact-th@studist.co.th

จากเหตุการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ที่แพร่ระบาดทั่วโลกเมื่อช่วงปี 2020 เป็นต้นมา ส่งผลให้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยต้องอาศัยมาตรการล็อกดาวน์เพื่อพยุงสถานการณ์และชะลอการระบาดของโรคติดต่อที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ซึ่งทั้งเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร หรือบุคคลธรรมดาต่างก็ผ่านการลองผิดลองถูกในการก้าวผ่านสถานการณ์นี้กันทั้งนั้น แต่ตอนนี้หลายคนอาจจะกำลังไว้วางใจกับสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะคลี่คลายลง แต่อย่างที่ทราบกันว่าวิกฤตการณ์ระดับโลกครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตที่จะจบง่ายๆ ยังคงต้องเฝ้าระวังในระยะยาวอีก ทั้งเรื่องการฟื้นฟู ขยับขยาย และปรับเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินชีวิตและธุรกิจให้เข้ากับ New Normal หรือนิสัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นให้ได้ เรียกได้ว่ายังไม่ใช่เวลาที่จะสามารถวางใจกับสถานการณ์และรูปแบบการใช้ชีวิตแบบเดิมได้ ถ้าธุรกิจไหน “การ์ดตก” ไม่เร่งรับมือกับอนาคตก็คงบอกได้ยากว่าจะได้ “ไปต่อ” หรือเปล่า

Logistics คีย์สำคัญที่จะช่วยพยุงการบริโภคภายในประเทศ

หนึ่งใน New Normal ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากมาตรการล็อกดาวน์คือการซื้อสินค้าออนไลน์ ด้วยข้อจำกัดในการออกจากบ้านที่ไม่สามารถทำได้อย่างอิสระเหมือนเดิมทำให้ยอดการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมว่าในช่วงโควิด-19นี้จำนวนการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์บางรายการได้เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 80% และยอดการเข้าถึงแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ หรือ E-Commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee และ Lazada ที่เพิ่มขึ้น 478.6% และ 121.5% ตามลำดับ เมื่อโมเดลธุรกิจและแนวโน้มของผู้บริโภคเปลี่ยนมีแนวโน้มของการเปลี่ยนจาก Offline  สู่ Online อย่างเลี่ยงไม่ได้แบบนี้ สิ่งที่คีย์สำคัญอย่างธุรกิจ Logistics ต้องทำคือการทำตัวเองให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง และความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นตามมา

ส่งออกต่างประเทศชะงักงัน

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ได้นำมาซึ่งโอกาสในการขยายธุรกิจภายในประเทศของธุรกิจ Logistics แล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเหมือนกัน นั่นคือการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่า COVID-19 ไม่ได้ระบาดแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง จนทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก หรือล่าช้ากว่าเดิมในทุกช่องทาง สอดคล้องกับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่าดัชนีส่งออกของไทยไปสหรัฐฯในปี 63 น่าจะหดตัวลงถึง 9.2% ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ทางรอดของ Logistics และ Supply chain 

คงไม่มีเวลาไหนเหมาะกับการกลับมาทบทวนวิธีการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุน และพร้อมรับสถานการณ์มากเท่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว สถานการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของ Logistics และ Supply chain แต่ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดและสถานการณ์ที่คับขัน การจะลงทุนอะไรให้ได้ผลทันตาเห็นคงจะไม่มีถ้าไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

Teachme Biz เสนอ 5 เทคโนโลยี ช่วยสนับสนุน Logistics และ Supply chain

1. Artificial and Augmented Intelligence AI

จากการที่วงการออนไลน์ช็อปปิ้งที่คึกคักขึ้นมาในช่วงนี้เราจะเห็นได้เลยว่ามีผู้เล่นที่ลงมาในวงการ Logistics เพิ่มขึ้นมากมาย เมื่อมีความต้องการมากขึ้น ผู้บริโภคก็คาดหวังให้ผู้ให้บริการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็วในการส่งของ ความถูกต้อง หรือคุณภาพของการดำเนินการ แต่ปัญหาเรื่องคุณภาพและปริมาณแรงงานก็ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่เคยห่างหายไปจากสังคมไทยเลย การใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเรื่องการลดต้นทุนการดำเนินการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการบริหารงานวงการนี้ไปโดยปริยาย

ตัวอย่างการใช้ AI ในงานโลจิสติกส์เช่น

  • งานที่ต้องเช็คบาร์โค้ด หรือเช็คหีบห่อด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ของการทำงานสูง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีอย่าง Image analysis หรือการใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ด้วยภาพ หรือจะเป็นการใช้ AI ช่วยค้นหาเส้นทางและลำดับในการจัดส่งให้เหมาะสมและประหยัดเวลา ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างการใช้ AI เข้ามาช่วยในการบริหารงาน

2. Warehouse Robotics

รูปแบบการบริหารที่บริษัทผู้ค้าสินค้าระดับโลกอย่าง Amazon และ Alibaba เป็นผู้นำเทรนด์นี้ขึ้นมาใช้นั่นคือ Warehouse Robotics หรือการใช้หุ่นยนต์ในคลังสินค้า เพื่อลดแรงงานคนในการค้นหา จัดเตรียม และตรวจสอบสินค้าที่ต้องนำส่ง ซึ่งนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายในการบริหารได้แล้วยังลดความผิดพลาดอันเกิดจากมนุษย์ได้อย่างดีอีกด้วย

3. Consolidation warehouse 

คลังสินค้าที่รวบรวมสินค้าจากหลากหลายแห่งมาไว้ในที่เดียว เพื่อจะได้ขนส่งในคราวเดียวด้วยรถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่กว่า และไปในปลายทางที่ไกลกว่า เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งรายเล็กๆ ที่สินค้าไม่เต็มรถ

4. Real time supply chain visibility (SCV หรือ การจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทาน)

เทคโนโลยี SCV ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับธุรกิจนี้อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น หรือเรียกได้ว่าเป็น A Must ที่เจ้าของธุรกิจ Logistics สมควรมีเพื่อลดความสูญเสียใน Operation และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุด เจ้าของธุรกิจต้องรู้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ว่าสินค้าอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร เคลื่อนย้ายเมื่อใด

5. Autonomous Vehicles (เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ)

เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ Self-Driving Car หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ Autonomous Vehicles เป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่ฟังดูน่าจะไกลตัวพวกเราที่อยู่ในประเทศไทยมาก แต่กำลังจะกลายเป็นจริงแล้วในหลากหลายประเทศ ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวันทำให้ทั้งฟังก์ชันและความปลอดภัยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เชื่อได้เลยว่ารถยนต์ไร้คนขับกำลังจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในอนาคตอย่างแน่นอน

ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีประเภทใดในการดำเนินงาน เราเชื่อว่าสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยในการทำงานในองค์กรนั่นคือการส่งต่อความรู้ หรือการมอบหมายงาน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของการบริหาร ประสิทธิภาพในการทำงานจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้มีการสื่อสารที่ดี Teachme Biz จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผลของทุกองค์กร

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This