ไอทีเทรนด์ 2023 กับ “ปีแห่งการตั้งตัวและกระโจนไปข้างหน้า” นี่อาจจะเป็นอีกคำนิยามหนึ่งขององค์กรในปี 2023 นี้ ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมที่เริ่มกลับมาโลดแล่นอย่างไหลลื่นอีกครั้ง หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ที่ทำเอาหลายองค์กรต้องปรับตัวยกใหญ่ และบางองค์กรก็ปิดตัวลงไป ดังนั้นในปี 2023 นี้จะเป็นปีที่แนวคิดซึ่งถูกฟูมฟักมาตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ให้ประโยชน์ต่อภาพรวมของธุรกิจ ตั้งแต่ตัวองค์กรเอง ไปจนถึงพนักงานและที่สำคัญที่สุดก็คือ “ลูกค้า”
ในวันนี้ Teachme Biz จะพามาดูกันว่า ไอทีเทรนด์ 2023 จะมีเรื่องใดบ้างที่ไม่ว่าอย่างไรองค์กรก็ต้องให้ความสำคัญในหัวข้อที่ชื่อว่า “ 5 ไอทีเทรนด์ 2023 แค่ไม่รู้ก็เสียโอกาสแล้ว”
1. การก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ไอทีเทรนด์ 2023 ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานนับสิบปี สิ่งที่ทำให้มันใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางก็คือเรื่องประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และคุณภาพของการประมวลผล แต่วันนี้ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ในโลกเรานั้นก้าวหน้าไปมาก
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในช่วงปลายปี 2022 จนถึงต้นปี 2023 ก็คือ ChatGPT หนึ่งใน AI ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดตัวหนึ่ง จนทำให้ผู้พัฒนาต้องออกมาสร้างเซิร์ฟเวอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการเข้าใช้งานของผู้คนที่มีมากขึ้น และการใช้งานที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนี้ก็มาจากประสิทธิภาพการทำงานของ AI ที่ทำเอาหลายคนอึ้งไปตาม ๆ กัน ชนิดที่ว่าอนาคตมันอาจจะมาแทนแรงงานคนได้จริง ๆ ก็เป็นได้
ปัญญาประดิษฐ์ยังคงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ChatGPT เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคม ส่วนในภาคธุรกิจก็มีการใช้ AI เข้ามาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งตัวอย่างที่เข้าใจง่ายคือ แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำที่ชื่อว่า “Stitch Fix” ก็ได้นำ AI เข้ามาใช้งานโดยมีอัลกอริทึมที่ใช้แนะนำเสื้อผ้าที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ในแง่ของรสนิยมและขนาด
ส่วนในประเทศไทย บริษัทยักษ์ใหญ่ของเครือข่ายโทรคมนาคมก็เริ่มมีการนำ AI มาใช้ระวังป้องกันเชิงรุกสำหรับดูแลประสิทธิภาพของเครือข่ายให้ลูกค้าได้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้โดยไม่มีสะดุดตั้งแต่ปี 2022 หากผลตอบรับดี ปี 2023 จะเป็นอีกปีที่เทรนด์ไอทีเรื่องปัญญาประดิษฐ์จะได้พิสูจน์ตัวเองแล้วยิ่งมีบทบาทมากขึ้น
2. เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Technology)
ในขณะที่ทุก ๆ เทคโนโลยีกำลังก้าวล้ำไปข้างหน้า อีกหนึ่งพื้นฐานของแนวคิดที่จะพาเทคโนโลยีต่าง ๆ ประสบความสำเร็จคือ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน
ในช่วงปีที่ผ่านมา โลกได้พบกับปัญหาการคลาดแคลนชิป (Computer Chips Shortage) ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการประมวลผลของทุกเทคโนโลยี และในทุกอุตสาหกรรม นี่คือเรื่องของการซัพพลายองค์ประกอบให้กับหลาย ๆ องค์กรที่ดำเนินธุรกิจอยู่ เพื่อรักษาความยั่งยืน องค์กรต้องปรับตัวและหาแผนสำรองสำหรับเรื่องเหล่านี้ในอนาคต
ก๊าซเรือนกระจกยังคงถูกปล่อยเพื่อดำเนินธุรกิจในทุกวัน
อีกหนึ่งเรื่องที่อยู่ในหมวดความยั่งยืน คือ เรื่องของสภาพแวดล้อม โดยข้อมูลจาก IDC AP Research บริษัทด้านการวิจัยและที่ปรึกษาชื่อดัง ได้ให้ข้อมูลว่า ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center ต่างใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วทั้งโลกราว 2% ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ราว 6%-7% (Carbon Footprint) และพลังงานนี้จะยังคงใช้ไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำงานที่ต้องเปิดให้ Online ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วทั้งโลก ปัญหาคือ ก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ที่ปล่อยออกมานั้นยังไม่มีเทคโนโลยีหรือมาตรฐานการวัดที่ดีพอเป็นสากลทั่วทั้งโลก ดังนั้นบริษัทที่ต้องการความยั่งยืนและใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมแต่ไม่สามารถวัดผลได้จะเกิดความเสียเปรียบ ในขณะที่องค์กรที่มีเทคโนโลยีการวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเทคโนโลยีอื่น ๆ ขององค์กรจะสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สู่ความยั่งยืนได้
3. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
จนถึงปี 2022 หลายเทคโนโลยี และข้อมูลต่าง ๆ ถูกผนวกรวมกันเป็นระบบนิเวศทางดิจิทัล ดังนั้นการพุ่งเป้าโจมตีจากกลุ่มมิจฉาชีพต่าง ๆ จะพุ่งไปที่เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลของสถาบันใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร, องค์กรของรัฐ, องค์กรเอกชนชั้นนำ โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19ก็สร้างความเสียหายด้านการปลอมวัคซีนในภูมิภาคอาเซียนไปถึง 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9 หมื่นล้านบาท) ดังนั้นนับจากนี้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องของผู้อื่นอีกต่อไปหากแต่เป็นผู้ใช้งานดิจิทัลทุกคน สิ่งที่ควรใส่ใจในประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ
- ให้ความรู้พนักงานในทุกระดับชั้นเกี่ยวกับ Cyber Security พนักงานเพียงคนเดียวที่สร้างช่องโหว่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็สามารถล้มบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ ดังนั้นการทำให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
- นโยบาย Security Zero Trust ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ต้องการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ได้ภายในปี 2024 เป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นให้องค์กรทั่วทั้งโลกปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวหากยังต้องการทำธุรกิจเชื่อมโยงกันอยู่ และนั่นจะส่งผลถึงองค์กรในประเทศไทยด้วย
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
อีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกันคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ซึ่งหากอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายคือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่ทำให้ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นได้ถึง ล้านล้านเท่า เมื่อเทียบกับการประมวลผลแบบปัจจุบัน ซึ่งหลายองค์กรกำลังพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง สิ่งนี้ดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ไอทีเทรนด์นี้เอง ที่สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้นย่อมทำให้การแกะรหัสหรือ แฮกรหัสผ่าน ที่ต้องใช้เวลานาน ๆ สั้นลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างแน่นอน
4. Robot และ Automation
ความสามารถของซอฟต์แวร์ผนวกรวมกับฮาร์ดแวร์ทำให้ความสามารถของหุ่นยนต์ยิ่งใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ และมันก็ถูกนำมาใช้ในชีวิตจริงมากขึ้นเช่นกัน เช่น หุ่นยนต์ต้อนรับ หุ่นยนต์ส่งของ หุ่นยนต์ชงกาแฟ ฯลฯ ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้อย่างง่ายดายและผิดพลาดน้อยมาก ๆ
หนึ่งในบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Tesla เองก็ได้เผยให้เห็นในงาน Tesla AI Day ช่วงเดือนกันยายนปี 2022 เกี่ยวกับหุ่นยนต์ต้นแบบสองตัวที่ Elon Musk ซีอีโอของ Tesla กล่าวว่าจะเปิดให้สั่งจองได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และแทบจะกลายเป็นหุ่นยนต์รับใช้สำหรับงานบ้านต่าง ๆ ได้เลยทีเดียว
หุ่นยนต์ชงกาแฟที่มีให้เห็นในประเทศไทยแล้ว
ในประเทศไทยเอง ไอทีเทรนด์ 2023 เรื่องหุ่นยนต์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเช่นกัน เพราะในโรงงานต่าง ๆ ก็มีการปรับใช้ให้กลายเป็น Smart Factory งานต่าง ๆ ที่อุปกรณ์ทำแบบอัตโนมัติได้ก็กำลังถูกเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์ทำแทนมนุษย์ หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกที่เห็นชัด คือ กาแฟ Amazon ที่ใช้หุ่นยนต์มาชงกาแฟให้กับบรรดาเหล่าคอกาแฟดื่มกันพร้อมกับโชว์ความสามารถการเป็นบาริสต้าโดยไม่ต้องง้อมนุษย์ก็มีออกมาให้เห็นแล้ว หากผลลัพธ์เป็นไปในเชิงบวกเรื่อย ๆ ไอทีเทรนด์นี้ก็อาจขยายตัวมากขึ้นในปี 2023 นี้เป็นแน่
5. Digital Transformation (DX)
Teachme Biz เคยพูดถึงเรื่อง Digital Transformation กันไปแล้วตั้งแต่ช่วงที่สถานการณ์โควิด19 ระบาดใหม่ ๆ ในปีนี้ เทรนด์ไอที 2023 เรื่อง Digital Transformation จะยิ่งเข้มข้นขึ้นเพราะหลายองค์กรเห็นชัดว่ามีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่ง Digital Transformation นี้เองเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมที่องค์กรเผชิญอยู่ไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ในขอบเขตของดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และครอบคลุมทั้ง3มิติของธุรกิจคือ
- ด้านประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ทำให้ลูกค้าพอใจในสินค้าและบริการมากขึ้น
- ด้านกระบวนการทางธุรกิจ กระบวนการต่าง ๆ ถูกทำได้คล่องตัวขึ้นเพื่อให้ธุรกิจขององค์กรเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- ด้านประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ของพนักงาน พนักงานเต็มใจและมีทักษะเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าที่ดียิ่งขึ้น
ข้อสุดท้ายนี้เองที่หลายองค์กรมองข้าม สิ่งที่คอยเชื่อมประสานระหว่างองค์กร(แบรนด์) กับ ลูกค้า ก็คือ “พนักงาน” ทรัพยากรสำคัญขององค์กร หลังจากผ่านวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 หลายองค์กรได้ลดจำนวนพนักงานที่ถือเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) อย่างหนึ่ง และหันหน้าเข้าสู่การเป็นองค์กร Digital Transformation ให้มากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญคือ Automation ที่สามารถทำงานง่าย ๆ แทนมนุษย์ได้หลายอย่าง ทั้งยังมีความถูกต้องแม่นยำอีกด้วย องค์กรจึงต้องหาจุดสมดุลระหว่างการก้าวไปข้างหน้าบน Digital Transformation และคงพนักงานที่นับเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าของบริษัทไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ ควรใส่ใจกับสิ่งนี้
5.1 ไอทีเทรนด์ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรบุคคล
พนักงานดิจิทัลเป็นผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Automation ต่าง ๆ เช่น RPA (Robotic Process Automation) ที่เน้นทำงานซ้ำ ๆ ไม่สลับซับซ้อนได้ และคาดว่าจะแทนที่มนุษย์ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และองค์กรต้องบริหารต้นทุนระบบ Automation ไปพร้อมกับการรักษาพนักงานที่ระบบ Automation ไม่สามารถทำงานแทนได้ ไม่ว่าทรัพยากรดิจิทัลจะสำคัญเพียงใด แต่ในระดับกลยุทธ์ หรืองานที่มีความสลับซับซ้อน งานด้านการตัดสินใจ มนุษย์ยังแสดงบทบาทได้สำคัญกว่า องค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานมีทักษะที่สูงขึ้น นอกจากจะทำให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ภาพรวมองค์กรยังเป็นการบริหารทรัพยากรที่คุ้มค่าอีกด้วย
ขณะเดียวกันบางกระบวนการที่ระบบ Automation ยังไม่สามารถแทนที่ได้ ยิ่งจำเป็นต้องมีการเทรนนิ่งพนักงานให้มีทักษะ, ความคิดที่เก่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ทรงประสิทธิภาพ, ยกระดับคุณภาพพนักงานให้ขาดจากระบบ Automation ดังนั้นการอบรม เทรนนิ่งพนักงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ก็สามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการอบรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น Online Training นอกจากจะสะดวกแล้ว ยังติดตามผลงาน และประหยัดต้นทุนการอบรมได้ดีอีกด้วย
Teachme Biz หนึ่งแพลตฟอร์มสำคัญที่ตามทันไอทีเทรนด์ 2023
สำหรับปี 2023 Teachme Biz ยังคงเกาะติดไอทีเทรนด์ และเป็นแพลตฟอร์มสร้างคู่มือการทำงานออนไลน์ที่ทรงประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมด้านการพัฒนาทักษะให้บุคลากรในองค์กร
เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ว่าใครก็สามารถสร้างคู่มือ แก้ไข และส่งต่อได้ง่าย ใช้งานได้ทั้งจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ต จึงทำให้การแชร์ความรู้จากบุคคลสู่บุคคลเป็นเรื่องเพียงปลายนิ้วสัมผัส นอกจากนั้นยังมี เทรนนิ่งฟังก์ชัน ที่สามารถใช้อบรมพนักงานให้มีทักษะความรู้ทัดเทียมกับโลกที่หมุนไปอยู่ตลอดเวลา ไร้กังวลเรื่อง Cyber Security เนื่องจากข้อมูลที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มถูกจัดเก็บไว้ด้วย Data Center Amazon Web Service (AWS) ที่เซิร์ฟเวอร์ติดตั้งอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเราก็จะพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง คุณเองก็สามารถก้าวทันโลกไอทีไปพร้อม ๆ กับ Teachme Biz ได้แล้ววันนี้
Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ
ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !