062-295−6588 contact-th@studist.co.th
รวมวิธีกำจัด Human Error

หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ทำให้รู้ว่าภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่วันนี้สถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายมากชึ้นแล้ว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี ปี2566 ก็ได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์เอาไว้ว่า ธุรกิจโรงแรมจะฟื้นตัวมากกว่าจุดสูงสุดเดิมก่อนสถานการณ์โควิด 19 อีกด้วย  โดยประเมินมูลค่าธุรกิจโรงแรมไว้ว่ามีประมาณ 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงที่สถานการณ์โควิดรุนแรงคือ 

  • ในปี 2562 (ก่อนสถานการณ์โควิด19)ธุรกิจโรงแรมมีรายได้ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท 
  • ในปี 2564 ลดลงถึงจุดต่ำสุดในปี 2564 (ช่วงสถานการณ์โควิด19) ที่ 0.96 ล้านบาท 
  • ในปี 2566 ประเมินมูลค่าธุรกิจ 3.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง45% 

เข้าใจสถานการณ์ธุรกิจหลังปี 2566 เป็นต้นไปเพื่อปรับตัวให้ทันเหตุการณ์

ตั้งแต่ปี 2566 กลุ่มธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ได้เปรียบในเรื่องอุปสงค์บนโครงสร้างอายุประชากรที่เอื้อและได้เปรียบในเรื่องการควบคุมต้นทุน จึงทำให้ตอบสนองลูกค้าในระดับ Mass Market ได้ดี ซึ่งมาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ 

1) โครงสร้างอุปสงค์เปลี่ยนแปลง: กลุ่มลูกค้าอายุ 29-58 ปี มีความพร้อมด้านการเงินและตอบโจทย์ด้านการหาความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว จึงมีโอกาสที่จะเลือกโรงแรมขนาดใหญ่เป็นหลัก 

2) ต้นทุนของการบริหารจัดการ: ธุรกิจขนาดใหญ่รองรับผู้คนได้จำนวนมากบนต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ต้นทุนราคาห้องพักต่อลูกค้าหนึ่งคนต่ำกว่าโรงแรมขนาดกลางและเล็ก

3) ธุรกิจขนาดใหญ่มีบริการที่หลากหลาย: โรงแรมขนาดใหญ่มีบริการที่ครบวงจร หรือบริการเสริมที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้หลากหลายมากกว่า

4) ธุรกิจมีความสัมพันธ์กับธุรกิจอื่นๆ: ปกติโรงแรมขนาดใหญ่จะมีการเชื่อมต่อธุรกิจเพื่อส่งเสริมกันเช่น ธุรกิจสปา, ธุรกิจร้านอาหาร ฯลฯ

     ธุรกิจโรงแรมเปลี่ยนไปแล้วหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19

     1. การบริการและโครงสร้างที่เกี่ยวกับการทำงานทางไกล (Remote Working) เพิ่มมากขึ้น

เพื่อให้ธุรกิจ และเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ การ Remote Working กลายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่การแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างหนัก ทำให้โลกได้เรียนรู้ว่า การทำงานบางชนิดนั้น สามารถทำงานจากระยะไกลได้ แต่ช่ว่าทุกคนจะมีบ้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมและเอื้อต่อการทำงาน ผู้คนจึงเริ่มมองหาสถานที่อื่นนอกจากบ้านและออฟฟิศ เป็นที่ที่ 3 หรือที่เรียกกันว่า Third Place เราจึงได้ยินศัพท์คำใหม่ว่า “Workation” ที่มีจุดหมายเป็นโรงแรมหรือรีสอร์ทนั่นเอง โรงแรมจึงไม่ใช่ที่สำหรับพักผ่อนเพื่อนักท่องเที่ยวหรือที่พักสำหรับการเดินทางทางธุรกิจอีกต่อไป โรงแรมมีคุณค่าใหม่ ที่กลายเป็นสถานที่สำหรับทำงานได้ด้วย 

     2. เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ช่องทางสำคัญในการขยายธุรกิจ

ในช่วงที่แต่ละประเทศให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้าน ช่วงเวลานี้ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเพิ่มสูงขึ้นด้วย โรงแรมต่างๆที่เข้าใจสถานการณ์จึงใช้ช่องทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย สร้างเนื้อหา โปรโมชัน ประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของโรงแรมมากขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้คนในภาพรวม ผู้ที่ไม่เคยรู้จักก็ได้รู้จักโรงแรมมากขึ้นในช่วงนี้เอง

รวมถึงบางโรมแรมนำเทคโนโลยี AI, IoT เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ให้ลูกค้าสามารถจองห้องผ่านแชทบอทได้, การสร้างห้องในโรงแรมให้เป็นชนิดสมาร์ทรูม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อลดการใช้แรงงานคนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้เอง 

     3. มาตรการในการดูแลสุขอนามัยของโรงแรมอีกตัวแปรสำคัญของธุรกิจ

โรงแรมนอกจากจะทำให้ลูกค้ารับรู้ว่าใช้สำหรับทำงานได้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงมาตรการต่างๆในการให้บริการเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย มาตรฐานการให้บริการและการทำความสะอาดจึงถูกกำหนดขึ้น โรงแรมที่ได้มาตรฐานการรับรองก็สร้างความน่าเชื่อถือและอุ่นใจให้ลูกค้าได้ นอกจากนั้น ลูกค้ายังใช้โซเชียลมีเดียพูดถึงสิ่งเหล่านี้ของโรงแรมด้วย เช่น คะแนนรีวิวของโรงแรมจากผู้ใช้งานจริง, ความสะอาดของโรงแรม, การให้บริการโดยปราศจากการสัมผัส (Contactless) ระบบการเช็คอินและเช็คเอาท์ของโรงแรม, และสิ่งอื่นๆที่ลูกค้าต่างให้ความสำคัญในด้านสุขอนามัย สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณการเข้าพักในแต่ละโรงแรม

     4. จำนวนการจองห้องพักในโรงแรมผ่าน Travel Agency และแบบออฟไลน์มีแนวโน้มลดลง

Travel Agency ต่างๆ ที่มีหน้าร้าน ต้องพูดคุยพบปะลูกค้าเพื่อจองโรงแรมเริ่มมีบทบาทลดลง รวมถึงการจองแพ็คเก็จทัวร์ต่างๆผ่าน Travel Agency ก็มีแนวโน้มลดลงด้วย เนื่องจากการจองห้องพักผ่านโรงแรมโดยตรงทำได้ง่ายขึ้นผ่านระบบออนไลน์  ตัวอย่างทางสถิติจาก Hospitalitynet.org ของการจองห้องพักผ่านช่องทางออนไลน์ในปี 2022 มีสัดส่วนถึงประมาณ 65 % เมื่อเทียบกับช่องทางออฟไลน์

    แนวโน้มของอุตสาหกรรมโรงแรมในอนาคต

ความต้องการในการเข้าพักโรงแรมคาดว่าจะกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง

หลังจากที่ผู้คนห่างหายจากการเข้าพักโรงแรมไปช่วงหนึ่ง นับจากนี้ความต้องการในการเข้าพักโรงแรมจะกลับมาอีกครั้ง  เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มเข้าที่เข้าทางอีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น การประชาสัมพันธ์จากทางภาครัฐเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวก็จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งด้วย การเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติเริ่มผ่อนคลาย ทำให้นักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆกลับมาเดินทางเข้าประเทศไทยมากขึ้น และรัฐบาลเองก็กำลังดำเนินการเจรจากับประเทศต่างๆให้ประชาชนของแต่ละประเทศเดินทางไปมาหากันในระยะเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า

ปรับตัวและสร้าง Value ใหม่ให้ตรงใจความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง

ความต้องการของลูกค้าที่มาพักในโรงแรมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง  ตัวอย่างเช่น กลุ่มทัวร์ขนาดใหญ่ขึ้นจะมีบางส่วนเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มทัวร์ที่มีขนาดเล็กลง หรือบางส่วนก็กลายเป็นเที่ยวแบบครอบครัวหรือส่วนตัว ภายใต้สถานการณ์แบบนี้โรงแรมจึงต้องปรับตัวรับกับกลุ่มลูกค้าประเภทต่างๆที่ความต้องการแตกต่างกัน เช่น การมีโซนแช่อ่างอาบน้ำส่วนตัว, อาหารมื้อครอบครัวและเด็ก หรือ อีเวนต์ย่อยๆในโรงแรมให้เหมาะกับประเภทผู้เข้าพัก สิ่งเหล่านี้ดึงดูดใจผู้เข้าพักให้หันมามองหาโรงแรมที่มีบริการสิ่งเหล่านี้มากขึ้น

ใครๆ ก็ยกระดับธุรกิจไปกับ DX และเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทุกวงการในอุตสาหกรรมต่างๆรวมถึงทุกส่วนของสังคมทยอยกันเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล ธุรกิจโรงแรมก็เช่นกันที่พร้อมจะขับเคลื่อนไปด้วย DX (Digital Transformation) เพราะเทคโนโลยีทางดิจิทัลช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนได้ เช่น การใช้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงแรมเป็นระบบ AI หรือ Virtual Concierge, การเช็คอินห้องพักเองผ่านระบบออนไลน์ด้วยสมาร์ทโฟน และการบริหารจัดการภายในโรงแรม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แค่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายเท่านั้นแต่ยังลดต้นทุนการใช้แรงงานคนในธุรกิจโรงแรมได้มากทีเดียว 

อัปเดตทันตามเทรนด์การบริหารงานโรงแรมด้วยคู่มือ SOP ออนไลน์

การบริหารจัดการโรงแรม พนักงานนับเป็นกุญแจสำคัญ การอบรมพนักงานให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อรักษาคุณภาพการบริการเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ Teachme Biz แพลตฟอร์มการสร้างคู่มือ SOP แบบออนไลน์ที่ทำให้พนักงานเข้าถึงคู่มือการทำงานต่างๆได้ง่าย ทั้งยังอัปเดตและสร้างได้ง่ายเพราะออกแบบมารองรับไว้หมดแล้ว คุณเองก็เริ่มต้นกับแพลตฟอร์มนี้ได้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้ทันทีวันนี้

NeoThai CaseStudy_OPG_TH
Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This