062-295−6588 contact-th@studist.co.th
รวมวิธีกำจัด Human Error

อัตราการลาออกของพนักงานในธุรกิจโรงแรมนับว่าสูงหากเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งก็ถือเป็นอีกเรื่องน่าปวดหัวที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมต้องรับมืออยู่เสมอ แต่สถานการณ์เหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้  ด้วยการทำความเข้าใจต้นเหตุของการลาออก
วันนี้ Teachme Biz จะพาไปดูถึงต้นเหตุหลักของการลาออกและหนทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้กัน

เหตุผลหลักของการลาออกของพนักงานในโรงแรมคืออะไรกันนะ

     1. ช่วงเวลาการทำงานที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น

ด้วยความที่ลักษณะของธุรกิจโรงแรมเป็นการเปิดตลอด 24 ชม. ชนิดไม่มีวันหยุด การทำงานในแต่ละวันมีโอกาสสูงที่จะมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน แม้จะมีค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลาก็ตาม แต่ในหลายๆ โอกาส พนักงานก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าการทำงานล่วงเวลา นอกจากนั้นยังต้องทำงานเป็นกะ ที่อาจทำให้ไม่ค่อยได้เจอหน้าครอบครัว หรือเพื่อนฝูง และหากอยู่ในช่วงเทศกาล เช่น หยุดยาวหลายวัน, เทศกาลปีใหม่ หรือ ช่วงวันสงกรานต์ ที่นักท่องเที่ยวมาพักในโรงแรมมากกว่าปกติ โอกาสที่จะลาหยุดก็มีน้อยลง

นอกจากช่วงเวลาหรือชั่วโมงการทำงานแล้ว วันลาหยุดของพนักงานโรงแรมก็มีวันหยุดหลักที่ไม่ตรงกับวันเสาร์ – อาทิตย์ เพราะเป็นช่วงที่ลูกค้าเข้าพักมากกว่าวันธรรมดา วันธรรมดาจึงกลายเป็นวันหยุดสำหรับพนักงานเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ช่วงวันหยุดไม่ตรงกับคนอื่นเช่นกัน นานวันเข้าความเข้มข้นของชั่วโมงการทำงานและวันหยุดที่แตกต่างเช่นนี้ก็สะสมมากขึ้น ส่งผลไม่เพียงแต่ร่างกายแต่รวมถึงจิตใจของพนักงานด้วย และท้ายที่สุดก็นำไปสู่การลาออก

     2. ผลตอบแทน

จากข้อมูลของเว็บไซต์ thethaiger.com พนักงานในโรงแรม ตัวอย่างเช่น พนักงานเสิร์ฟอาหารในโรงแรม อัตราเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 9000 บาท โดยไม่รวมเซอร์วิสชาร์จและทิป หน้าที่รับผิดชอบไม่ได้เพียงแต่เสิร์ฟอาหารเท่านั้น ยังมีการบริการในโรงแรมเมื่อมีงานเลี้ยง หรือการจัดโต๊ะและเก้าอี้ในงานต่างๆ รวมถึงงานครัวที่ต้องช่วยตามสมควรหากงานล้นมือพ่อครัวแม่ครัว เมื่อเทียบกับลักษณะงานที่ใกล้เคียงกันแล้วอัตราผลตอบแทนก็นับว่าไม่ได้สูงมาก และเหตุผลนี้เองทำให้พนักงานมีโอกาสสูงขึ้นที่จะลาออกไปหาอาชีพอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า

     3. ความต้องการของตลาดต่อธุรกิจโรงแรมมีสูงขึ้น

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 เริ่มคลี่คลายลง การกลับมาของนักท่องเที่ยวเริ่มพุ่งสูงขึ้นไม่ว่าจะจากในหรือนอกประเทศ และคาดการณ์ว่าจะสูงต่อเนื่องมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเสียอีก พนักงานที่เคยเปลี่ยนไปทำงานอื่น ก็มีโอกาสที่จะไม่กลับมาทำงานในธุรกิจโรงแรมอีก การค้นหาพนักงานให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นของโรงแรมต่าง ๆ จึงมีมากขึ้น ในขณะที่จำนวนแรงงานในตลาดนั้นลดลง จนเป็นผลกระทบไปถึงการแข่งขันในตลาดแรงงาน เช่น การเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานมาทำงานกับโรงแรม รวมไปถึงการลาออกย้ายงานไปยังโรงแรมของคู่แข่งก็มีให้เห็นเช่นกัน

4 แนวทางเพื่อลดอัตราการลาออกในธุรกิจโรงแรม

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 เริ่มคลี่คลายลง การกลับมาของนักท่องเที่ยวเริ่มพุ่งสูงขึ้นไม่ว่าจะจากในหรือนอกประเทศ และคาดการณ์ว่าจะสูงต่อเนื่องมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเสียอีก พนักงานที่เคยเปลี่ยนไปทำงานอื่น ก็มีโอกาสที่จะไม่กลับมาทำงานในธุรกิจโรงแรมอีก การค้นหาพนักงานให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นของโรงแรมต่าง ๆ จึงมีมากขึ้น ในขณะที่จำนวนแรงงานในตลาดนั้นลดลง จนเป็นผลกระทบไปถึงการแข่งขันในตลาดแรงงาน เช่น การเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานมาทำงานกับโรงแรม รวมไปถึงการลาออกย้ายงานไปยังโรงแรมของคู่แข่งก็มีให้เห็นเช่นกัน

     1. เปลี่ยนแนวคิดและหลักปฏิบัติให้เห็นถึงความนุ่มนวล

สิ่งแรกที่ควรปรับคือหลักปฏิบัติต่อพนักงานโรงแรม ในอุตสาหกรรมโรงแรมปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ความต้องการของลูกค้ามีมากขึ้น โรงแรมต่างๆต้องการแรงงานเพื่อดำเนินธุรกิจ การมีผลตอบแทนที่ไม่สูง วันหยุดไม่ตรงกับบุคคลในอุตสาหกรรมอื่น จำนวนการทำงานที่เข้มข้นของธุรกิจที่เปิดตลอด 24 ชม. จากที่ฟังเพียงเท่านี้หากผลตอบแทนไม่ดีพอจริงๆ การลาออกไม่ใช่เรื่องแปลก การปรับปรุงสวัสดิการมาทดแทนให้เหมาะสมสามารถจูงใจพนักงานได้ ความผูกพันระหว่างองค์กร (โรงแรม) กับพนักงานจะเพิ่มมากขึ้นได้หากเราเปลี่ยนแนวคิดเสียหน่อย เช่น

  • การสลับวันหยุดมาในช่วงที่พนักงานเห็นดีด้วย อาจไม่ใช่ตลอดทั้งปี แต่บริหารจัดการจำนวนคนให้พอเหมาะและหมุนเวียนไปยังวันหยุดที่ทุกคนชอบได้ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอันหนึ่ง 
  • การปรับเปลี่ยนกะการทำงานให้เหมาะสม โดยสอบถามจากพนักงานในภาพรวมว่า ช่วงเวลาของกะที่เหมาะสมเป็นเช่นไร แม้ไม่อาจเปลี่ยนได้ในทันที แค่เพียงการรับข้อมูลมาพิจารณาบ้าง ก็สร้างความพอใจให้กับพนักงานได้

     2. ยกระดับธุรกิจโรงแรมด้วย IT หรือ DX

การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในธุรกิจโรงแรม นอกจากจะทำให้ภาพรวมของโรงแรมมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยลดความเข้มข้นของการทำงานของพนักงานในแผนกต่างๆ ของโรงแรมได้ด้วย เรียกได้ว่า ใช้คนจำนวนน้อยลงแต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าเดิมหรือมากกว่า 

แนวทางหนึ่งที่แนะนำคือลองมองไปที่โรงแรมคู่แข่งต่างๆ ว่ามีการนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาใช้ในกระบวนการใดของโรงแรมบ้าง แม้ว่าจะยังไม่เห็นผลได้ทันที แต่หากเทคโนโลยีนั้นใช้กันแพร่หลายเป็นที่ประจักษ์ ท้ายที่สุดในระยะยาวก็มีโอกาสสูงที่จะเหมาะสมกับธุรกิจของเราเช่นกัน

     3. รีวิววิธีการอบรมพนักงานใหม่อีกครั้ง

ถึงแม้จะมีการอบรมพนักงานด้วยวิธีการเดียวกัน แต่ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของแต่ละขึ้นย่อมแตกต่างกันไปเนื่องจากขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นแต่ละคน 

ดังนั้น หากมีการปรับเปลี่ยนวิธีอบรมพนักงานให้มีการฟีดแบ็คและวัดผลชัดเจนรายคนในรายหน้าที่ จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าเติบโตในทักษะอย่างเป็นรูปธรรม รู้ว่าตนเองเก่งขึ้นด้านใด ยังขาดด้านใด เหมาะสมกับงานรูปแบบใด รวมไปถึงแรงจูงใจในการทำงานด้วย แถมโรงแรมเองยังได้คุณภาพงานบริการที่ดีเป็นผลพลอยได้เช่นกัน

     4. การสร้างคู่มือการทำงานให้เป็นเพื่อนคู่ใจพนักงาน

ถ้าโรงแรมมีคู่มือการทำงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ ขั้นตอนการทำงาน ข้อควรระวัง ช่องทางการรับข้อเสนอแนะจากพนักงาน และพนักงานเข้าถึงได้ง่าย ทุกการปฏิบัติในหน้าที่ของพนักงานจะไม่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานจะทำงานที่กระจ่างในทุกมิติ พร้อมเผชิญกับทุกปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น 

อีกหนึ่งคำแนะนำคือ ผู้บริหารสามารถสร้างนโยบายการแชร์เคสที่ยกระดับบริการจากพนักงานโดยตรง ทำให้เป็นโมเดลที่ผู้แชร์ปลื้มใจ ผู้ฟังได้ประโยชน์ สร้างความยอมรับนับถือในหมู่พนักงานเอง สิ่งเหล่านี้เริ่มจากจุดเล็กๆที่เรียกว่า คู่มือพนักงาน และจะนำมาซึ่งอัตราการลาออกที่น้อยลง

เครื่องมืออย่างง่ายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในธุรกิจโรงแรม

    1. เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ

การนำเครื่องเช็คอินอัตโนมัติมาใช้ สามารถลดความแออัดของลูกค้าที่มารอติดต่อกับพนักงานต้อนรับได้ ขั้นตอนโดยทั่วไปจะเป็นการเช็คอินด้วยตัวเอง กรอกข้อมูลต่างๆเอง บนหลักการเดียวกับที่พนักงานบริการแก่ลูกค้า แต่เปลี่ยนเป็นเครื่องอัตโนมัติแทน แม้ว่าธุรกิจโรงแรมจะเน้นการบริการแต่การมีเครื่องเช็คอินอัตโนมัติให้ลูกค้าได้ลองทำเอง ก็สามารถช่วยลูกค้าที่ต้องการความเร่งรีบ และสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้ลูกค้าได้ด้วย

    2. ใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการโรงแรม (Hotel Management System)

หรือบางครั้งเรียกกันว่า Property Management System เป็นระบบในการจัดการธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงแรม รวมศูนย์ และเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆไว้ที่เดียวกัน เช่น การจองห้องพักของลูกค้าแต่ละราย, การจัดสรรห้องว่างตามการจองห้องพัก, การบริหารจัดการการทำความสะอาดห้องพัก รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมด้วย ด้วยระบบเดียวจะทำให้เรารวมศูนย์ทุกอย่างที่จำเป็นไว้เพื่อบริหารได้ง่ายขึ้น

    3. ระบบบริหารจัดการกุญแจห้องพัก

ปัจจุบันสมาร์ทโฟนแทบเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัว ระบบบริหารจัดการกุญแจห้องพักจะใช้รูปแบบของแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนเป็นเสมือนกุญแจห้องพัก เพื่อให้ลูกค้าใช้เปิดและปลดล็อกประตูห้องพักแทนการใช้กุญแจจริงๆ ระบบนี้จะลดปัญหาการจัดการกุญแจตัวจริง ไม่ว่าจะเป็นการฝากกุญแจที่ล็อบบี้ของลูกค้า การทำกุญแจหายในกรณีต่างๆ ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นของพนักงานได้อีกด้วย

Teachme Biz ตัวช่วยผู้ประกอบการโรงแรมในการบริหารจัดการพนักงาน

ท้ายที่สุดแล้วแม้ผู้ประกอบการอาจพยายามหลากหลายแนวทางเพื่อรั้งการลาออกของพนักงาน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราก็อาจจะไม่สามารถทำให้พวกเขาอยู่ด้วยตลอดไปได้ 

ดังนั้นการมีมาตรการไว้รับมือเมื่อมีพนักงานลาออกและเข้าใหม่ จะช่วยให้การดำเนินงานสามารถไปต่อได้ไม่สะดุด ซึ่ง “คู่มือการทำงาน SOP” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งต่องานได้โดยตรง

Teachme Biz เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบมาให้สร้าง, อัปเดต และแชร์คู่มือการทำงานให้ทั่วถึงกันทั้งองค์กร มีเทมเพลตแบบเป็นขั้นเป็นตอน ให้สามารถสร้างคู่มือได้อย่างง่ายดาย แถมยังมีฟังก์ชันการแปลภาษาอีกด้วย แม้จะมีพนักงานชาวต่างชาติก็ไร้กังวล และผู้บริหารสามารถเช็คได้ด้วยว่าพนักงานมีการเข้าถึงคู่มือมากน้อยเพียงใด เพื่อเอาไว้ใช้พัฒนาทักษะการทำงานของพนักงานเพื่อเติบโตอย่างมีความสุขไปกับองค์กรได้พร้อมๆกัน คุณเองก็เริ่มต้นกับ Teachme Biz ได้แล้ววันนี้

NeoThai CaseStudy_OPG_TH
Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This