062-295−6588 contact-th@studist.co.th
Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation คืออะไร ดีอย่างไร

สำหรับหลาย ๆ คน ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของเขาอาจจะเป็นของขวัญชิ้นพิเศษจากผู้ให้กำเนิด แต่ไม่ใช่กับ นาย John Vincent Atanasoff นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่ไม่ได้ของขวัญจากพ่อหรือแม่ของเขา กลับกันเขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดดิจิทัลคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ซึ่งอุบัติขึ้นในช่วงยุค 1930 และนั่นนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของวงการดิจิทัล วงการอินเตอร์เน็ต และวงการเทคโนโลยีของมนุษยชาติจนถึงปัจจุบัน

ดิจิทัลเป็นการแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบของตัวเลข โดยข้อมูลเชิงตัวเลขที่นิยมกันมาถึงปัจจุบันก็คือตัวเลขฐานสอง คือมีแค่ 2 ตัวระหว่าง 1 และ 0 แต่เมื่อนำมาร้อยเรียงกันก็สามารถตีความเป็นข้อมูลต่าง ๆ ให้มนุษย์เข้าใจได้  การเปลี่ยนแปลงของ 1 และ 0 นี้เป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่องจึงสามารถนำมาประยุกต์สร้างเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด 

Digital Transformation คือ กระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าจากการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับธุรกิจในยุคดิจิทัลที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ มิติทางกระบวนการธุรกิจขององค์กร มิติทางวัฒนธรรมองค์กร และมิติด้านประสบการณ์ของลูกค้า

ข้อดีที่หลายคนอาจจะตอบได้รวดเร็วของการทำ Digital Transformation ก็คือทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่นั่นไม่ใช่จุดประสงค์หรือข้อดีหลัก เพราะการทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมีมากมายหลายวิธี แต่ข้อดีจริง ๆ ของการทำ Digital Transformation คือความยั่งยืนที่ก่อตัวขึ้นมาจากข้อดีหลายข้อดังนี้ 

1. สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า (Enhance Customer Experience)

หากหัวใจของการค้าขายคือความต้องการของผู้บริโภค หัวใจของดิจิทัลในวงการธุรกิจคงหนีไม่พ้น “คุณค่าแห่งประสบการณ์ของลูกค้า” หลายบริษัทในปัจจุบันก็เน้นไปที่เรื่องนี้มากขึ้น เพราะยิ่งสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับลูกค้าได้มากเท่าไร ความผูกพันระหว่างองค์กร (หรือแบรนด์) กับ ลูกค้าก็ยิ่งมีมากขึ้น นำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต 

ตัวอย่างผลจาก Digital Transformation เช่น บริษัทที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าในยุคดิจิทัลได้ชัดเจนอย่าง NETFLIX ที่ทำให้สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวของลูกค้าหลาย ๆ คน สร้างกำไรมหาศาลให้กับบริษัท NETFLIX ได้ถึงปีละ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องนั่งรถออกไปเช่าหรือซื้อดีวีดีเหมือนแต่ก่อน

    WI SOP

    2. สะสมฐานข้อมูลเชิงลึกได้มากขึ้น 

    การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและลูกค้าในทุกมิติบนระบบดิจิทัลทำให้สามารถหยิบยกมาใช้ง่ายขึ้น โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวตั้งในการทำความเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้น ตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มากพอ และกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจรวมไปถึงมองเห็นโอกาสในการทำกำไรต่อเงินลงทุนที่ลงไปได้ด้วย นับเป็นอีกกุญแจดอกสำคัญของ “Digital Transformation” เลยก็ว่าได้

    3. เพิ่มความคล่องตัวขององค์กร

    ขณะที่ตลาดและความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง องค์กรต่าง ๆ ก็พยายามไล่ตามเช่นกัน จนมีคำกล่าวว่า “ตลาดคือนิรันดร์ มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปและมีสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ต้องทำมากขึ้น” แม้กระทั่งองค์กรระดับต้น ๆ ของโลกก็ยังต้องปรับตัว และเพราะ “Digital Transformation” นี้เอง ทำให้องค์กรคล่องตัวมากพอที่จะปรับให้แข่งขันกับคู่แข่งได้มากขึ้น สร้างเครื่องมือใหม่ ๆ  ติดตามเทรนด์ต่าง ๆ ได้ทันท่วงที 

    ในวงการธุรกิจ ความคล่องตัวเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาองค์กรไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการทางดิจิทัล เมื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องไปกับระบบดิจิทัลแล้ว การขับเคลื่อนองค์กรในมิติต่าง ๆ จึงรวดเร็วและสะดวกขึ้น “ความคล่องตัว” แบบนี้เองที่เรียกกันว่า “Agility” เป็นแนวคิดที่เรียกได้ว่ามาควบคู่กันกับ Digital Transformation เลยทีเดียว

      ตัวอย่างที่หลาย ๆ คนเห็นกันชัดเจนในยุคนี้ก็คือการทำงานจากที่บ้านได้ เมื่อ Covid-19 แพร่ระบาดในช่วงแรก องค์กรที่ Digital Transformation ไปเรียบร้อยแล้วก็ทำเพียงแค่ออกคำสั่งให้ทำงานจากที่บ้านได้ พนักงานก็เริ่มงานได้ทันที ต่างกับบางองค์กรที่ต้องติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมดโดยใช้เวลาอีกหลายเดือน

      แนวคิดสู่การทำ Digital Transformation 

      หากจะเริ่มต้นทำกระบวนการนี้ มีมากมายหลายตำราแต่หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยใจความใหญ่ ๆ ของแนวทาง 4 แนวทางดังนี้เป็นจุดเริ่มต้น คือ

      1. ระบุจุดประสงค์ให้ชัดเจน 

      ก่อนที่แต่ละองค์กรจะลงรายละเอียดได้ จำเป็นต้องกำหนดจุดประสงค์ให้แน่ชัดก่อน อย่างเช่นถ้าเป็นธุรกิจด้านไอที ส่วนใหญ่ก็จะใช้จุดประสงค์เกี่ยวกับการเพิ่มคุณค่าของประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้แก่ลูกค้า แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลนี้จะรวมไปถึงการคิดใหม่และออกแบบใหม่ของภาพรวมในธุรกิจทั้งหมดด้วย กุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านมักครอบคลุมจุดประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้ 

      1. เพิ่มคุณค่าของประสบการณ์ทางดิจิทัลให้กับลูกค้า เพื่อเชื่อมโยงไปถึงความภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) รายได้ และประสิทธิภาพของธุรกิจในภาพรวม 
      2. เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอนหรือกระบวนการที่ไม่จำเป็น 
      3. เพื่อเพิ่มความคล่องตัวขององค์กร จากการปรับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรสู่ระบบดิจิทัล 
      4. เพื่อค้นหาสิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ นั่นคือ “ความต้องการเบื้องลึก” ของลูกค้าจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อสร้างกลยุทธ์การแข่งขันในตลาดต่อไป

      2. เรียนรู้และรู้จักเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ 

      เป็นไปไม่ได้เลยที่จะลงสนามรบโดยใช้อาวุธไม่เป็น เช่นเดียวกันการทำ “Digital Transformation” เองก็จำเป็นต้องรู้จักเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ เช่น ซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่สามารถทำงานแทนคนได้เกือบทั้งหมดแต่เราไม่เคยรู้จัก Internet of Things ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งในองค์กรหรือสินค้าที่สร้างคุณค่าให้ลูกค้าได้ รวมไปถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะไม่ว่าการทำ Digital Transformation จะได้ประโยชน์เท่าใด ลดต้นทุน สร้างความพอใจให้ลูกค้าได้เท่าใด ก็พังลงในพริบตาด้วยอันตรายจากภัยทางไซเบอร์

      3. วางตำแหน่งขององค์กรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญวัฎจักรของการบริการแบบดิจิทัล

      อนาคตข้างหน้าสำหรับองค์กรแล้วไม่ใช่แค่คำว่า “อะไร” แต่เป็นคำว่า “อย่างไร” เพราะไม่ว่าสินค้าจะมีความซับซ้อนอย่างไร มันก็คือสินค้า แต่องค์กรที่ดีในโลกแห่งดิจิทัลไม่เพียงเน้นที่ตัวสินค้า Digital Transformation ยังเน้นย้ำไปถึงว่าออกแบบสินค้าอย่างไร พัฒนามันอย่างไร จัดการมันอย่างไร และจะปฏิวัติสิ่งนี้อย่างไร เพื่อทำให้องค์กรอยู่ในสนามรบการค้าแห่งโลกดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน มิเช่นนั้นเราจะเป็นเพียงองค์กรที่นำเทคโนโลยีมาใช้เท่านั้น วันหนึ่งที่ทุกองค์กรตามเรามาทันก็เสมือนเราล้าหลังไปเสียแล้ว

      4. มองไกลไปถึงแพลตฟอร์มแห่งอนาคต

      เมื่อพูดถึงแพลต์ฟอร์มใหม่ ๆ ที่ทุกองค์กรกำลังทำ “Digital Transformation” มีสิ่งที่เราต้องยอมรับว่า วงการดิจิทัลนั้นมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ และดิจิทัลที่ล้าสมัยหรือไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าก็อัตรธานไป ตัวที่ยังคงอยู่ก็ถูกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มใหม่ ๆ  แพลตฟอร์มที่ว่านี้มีทั้งสองมิติคือทั้งหลังบ้าน และหน้าบ้าน 

      หลังบ้านคือแพลตฟอร์มที่เป็นดังเครื่องมือต่าง ๆ ขององค์กร หน้าบ้านก็คือแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้และยังสามารถสร้างผลกำไรให้บริษัทได้ด้วย การจับมือก้าวไปด้วยกันอย่างคล่องตัวของทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านนี้เองจะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นในระยะยาว

      ตัวอย่างบริษัท 

      นับถึงวันนี้มีหลายบริษัทที่นำพาองค์กรอยู่บนกระบวนการนี้ได้อย่างน่าพอใจ หนึ่งในตัวอย่างที่หยิบยกมาพูดถึงในวันนี้คือ บริษัท Nike ที่มีสโลแกนเป็นที่รู้จักกันดีว่า “Just Do It” วันนี้ Nike เปลี่ยนแปลงองค์กรไปกับ Digital Transformation ได้จนถูกเรียกกันในวงการดิจิทัลว่า Nike “Just Did It” จากบริษัทผลิตเครื่องสวมใส่ประเภทรองเท้า เสื้อผ้า นำพาตัวเองสู่การทำ “Digital Transformation” ได้อย่างดีจนหลายคนยังสงสัยตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงว่าจะนำดิจิทัลมาขับเคลื่อนองค์กรที่ทำธุรกิจด้านเครื่องสวมใส่ได้อย่างไร

      Nike กับ Digital Transformation

      NIKE ไม่ใช่บริษัทด้านเทคโนโลยีแต่ก็ประสบความสำเร็จกับ Digital Transformation

      Nike เองก็กลัวว่าวงการดิจิทัลและความต้องการของลูกค้าจะกลืนกินบริษัทให้หายไป จึงเริ่มต้นทำ Digital Transformation โดยเน้นไปที่การเก็บข้อมูลในระบบดิจิทัล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ไปสู่การปรับปรุงกลยุทธ์และระบบอีคอมเมิร์ซ การทำการตลาดแบบดิจิทัล การปรับปรุงร้านค้าปลีก การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมไปถึงพัฒนาประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับไปกับระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้ Nike เปลี่ยนแปลงสินค้าของตัวเองได้ทันกับความต้องการของลูกค้าที่โยงไปถึงแฟชั่นและเทรนด์ต่าง ๆ  จนทำให้ราคาหุ้นของ Nike ทะยานจาก 52ดอลลาร์สหรัฐ ไปถึง88ดอลลาร์สหรัฐในเวลาเพียง 2 ปีหลังจาก Digital Transformation เกิดขึ้น (เพิ่มขึ้นประมาณ 70% ใน 2 ปี และปัจจุบันราคาประมาณ 137 ดอลลาร์สหรัฐ)

      รายละเอียดปลีกย่อยของการทำกระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่  ยังมีอีกมากมายนัก แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดหลักที่ควรมีไว้ในใจก่อนที่จะลงมือปั้นองค์กรไปสู่ถนนสายดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ถ้าคุณมีจุดประสงค์การทำ Digital Transformation ที่ชัดเจนแล้วลำดับต่อไปลองเลือกพิจารณาดูว่าเครื่องมือดิจิทัลไหนที่จะมาช่วยให้การบริหารองค์กรของคุณสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งทางทีม Teachme Biz ก็ได้มีการให้คำแนะนำไว้แล้วดังนี้ 

      6 เทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ของวงการการบริหารทรัพยากรบุคคล (ภาคต้น)

      6 เทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ของวงการการบริหารทรัพยากรบุคคล (ภาคจบ)

      Teachme Biz เสนอ 5 เทคโนโลยี ช่วยสนับสนุน Logistics และ Supply chain

      เตรียมตัวตอนนี้ก็ยังทัน! Tools ที่จำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการปรับตัวเพื่อ Work From Home

      หรือหากผู้อ่านท่านไหนต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานแบบครอบคลุมทั้งระบบ ที่จะสามารถเป็นก้าวแรกของการทำ Digital Transformation อย่างยั่งยืนได้นั้น TeachmeBiz เองก็มีเครื่องมือให้คุณทำสิ่งนั้นได้เช่นกัน ลองติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานจากพวกเราได้เลยครับ

      Create SOP manual effectively

      Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

      ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

      Pin It on Pinterest

      Share This