062-295−6588 contact-th@studist.co.th
ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพ

ความแตกต่าง นับเป็นกุญแจสำคัญหนึ่งที่ทำให้แบรนด์หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างสินค้าหรือบริการให้ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้ตราบจนทุกวันนี้ คำว่า “คุณภาพดีราคาถูก” นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้กันมาช้านาน ก็ด้วยพื้นฐานของผู้ซื้อหรือคนที่จะต้องควักกระเป๋าเอาเงินจ่าย “คุณภาพดีราคาถูก” เป็นราวกับเวทมนต์ที่ร่ายให้ผู้ฟังต้องมนต์สนใจอยากจะซื้อสินค้าไว้ครอบครอง

แต่ปัจจุบันก็มีการสร้างความแตกต่างที่มากกว่า “คุณภาพดีราคาถูก” ที่ดึงดูดเงินในกระเป๋าได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น อาจจะไม่ได้ดีที่สุดหรือถูกที่สุด แต่ใช้แล้วสบายใจ ใช้แล้วสังคมยอมรับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำงบประมาณไปพัฒนาความแตกต่างโดยย่อหย่อนในเรื่องคุณภาพก็มิอาจนำพาองค์กรไปยังจุดหมายปลายทางได้ ทุกองค์กรและทุกแบรนด์จะยืนหยัดอยู่ได้ก็ด้วย คุณภาพและราคาที่วิ่งตามกันไปอย่างสมเหตุสมผล เป็นไปได้ยากมากที่จะสร้างองค์กรหรือสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนโดยปราศจาก ”คุณภาพ” ที่ดี

คุณภาพควบคู่ราคา 

ราคาของสินค้าและบริการในทุกวันนี้ มีกลยุทธ์มากมายในการหยิบยกขึ้นมาเพื่อตั้งเป็นราคาต่อสายตาผู้บริโภค หนึ่งในการตัดสินใจตั้งราคาสินค้าอย่างหนึ่งก็คือการคำนวณต้นทุนซึ่งมักจะเป็นต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการโฆษณา จากนั้นจึงบวกรวมผลกำไรที่ทำให้บริษัทหรือองค์กรอยู่ได้ออกมาเป็นราคาขาย ด้วยกลวิธีการตั้งราคาแบบนี้ วันหนึ่งถ้ามีปัจจัยมากระทบทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จะส่งผลให้ราคาขายสูงตามไปด้วย(เพื่อรักษาผลกำไรให้คงเดิม) หากต้องการรักษาผลกำไรไว้เท่าเดิมโดยไม่เพิ่มราคาก็จำเป็นต้องลดต้นทุนลง ซึ่งนั่นก็อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าหรือบริการได้เช่นกัน ทางออกคือต้อง ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพ

ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของคุณภาพไม่ดีคืออะไร (What is Cost of Poor Quality?)

ยังมีต้นทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช่เรื่องวัตถุดิบ ไม่ใช่แรงงานพนักงาน แต่เป็นต้นทุนของคุณภาพ เพื่อให้เข้าใจเรื่องต้นทุนคุณภาพเราลองมามองไปยังภาพใหญ่ของธุรกิจ จากจุดเริ่มต้นของไอเดีย (กระบวนการค้นคว้าวิจัย) จนแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าไปวางอยู่บนชั้นวางสินค้าต่าง ๆ (กระบวนการขาย) มองลึก ๆ แล้วก็ประกอบไปด้วยกระบวนการต่าง ๆ มากมาย กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้โดยพื้นฐานแล้วมีความจำเป็น (มิเช่นนั้นก็ไม่ต้องมีกระบวนการนั้นก็ได้) การสร้างกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจะส่งให้สินค้าหรือบริการมีคุณภาพที่ดีตามไปด้วย 

ในทางกลับกันกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้หากมีรูรั่วเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้คุณภาพของสินค้าลดต่ำลงได้เช่นกัน และการมีรอยรั่วที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าอยู่แต่ไม่แก้ไข สินค้านั้นจะสร้างความเสียหายในระยะยาว ยิ่งนานวันที่สินค้าออกสู่ตลาดก็ยิ่งสร้างผลเสียต่อองค์กรมากยิ่งขึ้นเพราะมีลูกค้าพบปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ การเคลมสินค้าที่มากขึ้นหรือการมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการการเคลมสินค้าในศูนย์บริการมากขึ้น (แต่ไม่เกิดรายได้) สิ่งเหล่านี้นับเป็นต้นทุนของสินค้าในภาพรวมเช่นกัน มันถูกเรียกว่า ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality) 

ทำอย่างไรเพื่อ ลดตุ้นทุน ไม่ลดคุณภาพ

หลายองค์กรในปัจจุบันมีต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องจากคุณภาพของสินค้าสูงถึงประมาณ 15-20% ของรายได้รวมทั้งหมดเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะตั้งใจผลิตสินค้าอย่างไร ก็มีสินค้าบางชิ้น (จากหลายพันชิ้นหลายล้านชิ้น) มีคุณภาพที่ด้อยกว่าที่ควรจะเป็นบ้าง การสร้างหน่วยงานขึ้นมาดูแลคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าไม่สนใจควบคุมคุณภาพของสินค้า ต้นทุนในภาพรวมขององค์กรนอกจากจะไม่คงที่แล้วมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นการจัดการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ควรจะเป็นก่อนปล่อยออกสู่ตลาดก็ถือเป็นการลดต้นทุนอย่างหนึ่ง หรือเรียกได้ว่า ยิ่งลูกค้าไม่เจอสินค้าคุณภาพต่ำ(ที่อาจมีหลุดไปบ้าง)ได้มากเท่าไรก็ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนลดลงได้มากเท่านั้น และยังไม่ลดคุณภาพของสินค้าด้วย 

แนวคิดในการสร้างกระบวนการการลดต้นทุนคุณภาพ

1. ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสามารถติดตามย้อนกลับได้

การลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality) ที่นิยมคือ การทำให้คุณภาพของสินค้านั้น ๆ มองเห็นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการผลิตและการทำบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อส่งไปยังจุดขายต่าง ๆ ถ้าการติดตามย้อนกลับของสินค้าทำได้ยาก เมื่อคุณภาพของสินค้าต่ำลง เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าคุณภาพที่ต่ำนั้นมาจากกระบวนการใด เมื่อไม่รู้ที่มาก็คงยากที่จะทำให้คุณภาพกลับมาดีดังเดิมได้ ดีไม่ดีอาจจะต้องลงทุนรื้อระบบใหม่ทั้งหมด เหมือนกับการชี้ช้างจับตั๊กแตนนั่นเอง

    กระบวนการลดต้นทุน

    ตั้งแต่ผลิตสินค้าจนถึงการจัดส่งล้วนมีคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง

    แต่ถ้าเรามีกระบวนการติดตามย้อนกลับที่ดี เมื่อสินค้าเกิดข้อบกพร่องก็สามารถรู้ได้ว่าเกิดจากกระบวนการไหน และใช้เวลาไม่นานในการแก้ที่สาเหตุของปัญหานั้น เช่น ถ้าพบสินค้าที่มีข้อบกพร่องส่งผลต่อคุณภาพสินค้า เมื่อเราวางกระบวนการให้ติดตามย้อนกลับได้ เราจะรู้ว่าสินค้าชิ้นนั้นผลิตจากโรงงานไหน ผลิตเมื่อวันที่เท่าไร ผลิตในช่วงเวลาใด สินค้าอื่นในล็อตนั้นมีปัญหาเช่นกันหรือไม่ โกดังที่เก็บสินค้านี้คือโกดังไหน มีการทำบรรจุภัณฑ์จากซัพพลายเออร์ใด และความบกพร่องนี้เกิดขึ้นจากกระบวนการใดเป็นกระบวนการแรก เมื่อรู้ละเอียดเช่นนี้แล้วก็คงหาต้นตอของปัญหาและแก้ไขได้ไม่ยาก 

    2. สร้างขั้นตอนในการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน

    คงเป็นเรื่องที่ดีกว่ามากถ้าจะนำงบประมาณมาลงกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในสายการผลิตต่างแทนการนำงบประมาณมาซ่อมแซมเมื่อมันทำงานได้ไม่เต็มที่จนผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำออกมา หรือในกรณีเลวร้ายก็คือผลิตสินค้าไม่ได้เลย ทำให้เสียโอกาสการสร้างรายได้ไปในพริบตา การประมาณการณ์ระยะเวลาของความเสียหายหรือการด้อยประสิทธิภาพลงของเครื่องจักรเป็นแนวทางที่ดีทางหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality)

      ตัวอย่างเช่นเครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ให้ได้ความหนาตามกำหนด วันหนึ่ง (ซึ่งไม่รู้ว่าวันใด) เมื่อใช้งานเครื่องจักรไปนานเข้าทำให้การขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์บางลงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ สินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์นั้นอาจจะไม่ได้เสียหายในทันที แต่อาจจะเสียหายก่อนถึงมือลูกค้า แน่นอนว่าถ้าเรามีกระบวนการติดตามย้อนกลับก็คงเจอสาเหตุของปัญหานี้ในที่สุด แต่แนวทางในข้อนี้เป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดหรือเกิดได้น้อยครั้งที่สุดจากการบำรุงรักษาเครื่องจักรและการประเมินขีดความสามารถของเครื่องจักรไว้แต่ต้น

      3. สร้างกระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กร 

      องค์กรใดไม่มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายใน ก็แทบไม่ต่างอะไรกับร้านแผงลอยขายอาหารที่ไม่เคยแม้แต่ชิมอาหารของตัวเอง กระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กรจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่คอยสอดส่องว่าสินค้าและกระบวนการทุกกระบวนการในองค์กรนั้นยังสอดคล้องตรงกันหรือไม่ ยิ่งเป็นสินค้าที่มีความซับซ้อนมากเท่าไรการตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กรยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เพราะมันทำให้เราพบความเหลื่อมกันระหว่างมาตรฐานคุณภาพขององค์กรและคุณภาพปัจจุบันของสินค้าได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งนั่นก็ดีกว่าไปเจอด้วยตาของลูกค้าเองเป็นแน่ การตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กรจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality) ได้

      การตรวจสอบคุณภาพภายในองค์มีหลายรูปแบบ เช่น การตรวจสอบคุณภาพของโรงงาน การตรวจสอบกระบวนการต่างๆ การตรวจสอบความปลอดภัยและสุขอนามัย ซึ่งประการหลังนี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรมองข้าม ในขณะที่บางองค์กรกลับให้เป็นความสำคัญอันดับต้นๆ บนพื้นฐานที่ว่า สินค้าดี  ลูกค้าชอบ แต่พนักงานโดยรอบต้องเจ็บป่วย องค์กรก็มิอาจอยู่อย่างยั่งยืน และอาจจะต้องเสียต้นทุนในการดูแลพนักงาน การรับสมัครพนักงานใหม่อีกด้วย

      4. การอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

      การอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถและความรู้ให้กับพนักงานในองค์กรเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality) ได้ หากพนักงานทุกคนในทุกสายงานรู้จักนโยบาย รู้จักกฎ รู้จักวิธีการทำงานที่ถูกต้อง สินค้าคุณภาพดีก็จะตามมา เรียกได้ว่าเป็นการลดโอกาสการสร้างสินค้าคุณภาพต่ำจากการทำงานของมนุษย์ 

      แนวทางการลดต้นทุน

      ความเข้าใจการทำงานของพนักงานเป็นหนึ่งกุญแจการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี

      ลดต้นทุนการผลิต

      การอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพมีหลายวิธีการ วิธีการที่นิยมคือการเรียนผ่านห้องเรียนหรือระบบออนไลน์ โดยมีการทดสอบในตอนท้าย ปัจจุบันการอบรมหรือการสร้างวิธีการทำงานให้พนักงานเข้าใจได้ง่ายที่สุดก็ถูกออกแบบมาเป็นแพลตฟอร์มแล้วด้วย (คลิก ตัวอย่างการใช้ Teachme Biz กับการอบรม)

      แนวทางที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีแนวคิดอีกมากมายที่ใช้ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี (Cost of Poor Quality) ไม่ว่าจะเป็นองค์กรผลิตกระสวยอวกาศที่ซับซ้อนหรือแม้แต่ร้านทำแซนด์วิชโบราณ องค์กรจะเล็กหรือจะใหญ่ถ้ามีการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดแล้ว ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ได้ การลดต้นทุนไม่ลดคุณภาพโดยใช้แนวคิด “ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดี” จึงเป็นอีกหนึ่งเวทมนต์ที่สะกดให้ลูกค้าไว้วางใจองค์กรเราได้มากขึ้นเช่นกัน

      ตัวอย่างบทความที่เกี่ยวข้อง:
      สิ่งที่ต้องเจอและวิธีแก้ไขเมื่อต้องลดต้นทุนแรงงาน
      รวมไอเดีย การลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย สำหรับทุกองค์กรในทุกช่วงเศรษฐกิจ
      ทางรอดของ SMEs ไทย เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจไทย

      case study
      Create SOP manual effectively

      Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

      ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

      Pin It on Pinterest

      Share This
      Optimized with PageSpeed Ninja