062-295−6588 contact-th@studist.co.th
Blog cover training trend 2022

หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ การฝึกอบรมนั้นได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่หลอดไฟยังไม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ในสนามรบที่ต้องมีการผึกซ้อม หรือการฝึกอบรมที่ดีต่อไพร่พลทั้งหมด และการที่ต้องมีที่ปรึกษาทางกลยุทธ์การรบที่ดีด้วย เช่นเดียวกันกับในสงครามการค้า แต่ละองค์กรที่กำลังชิงชัยส่วนแบ่งการตลาดกัน นอกจากกลยุทธ์ทางธุรกิจแล้ว การฝึกอบรมพนักงาน (Employee Training) ที่เป็นกำลังพลสำคัญขององค์กร  ก็เป็นอีกกุญแจสำคัญของสนามการค้าด้วย วันนี้ Teachme Biz จะพาไปดูเทรนด์การฝึกอบรม ที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เรามีแนวคิดการ Training ให้ทันโลก 2022 (Training Trend 2022)

ไม่ใช่แค่ Training Trend แต่มันคือ Learning and Development

การสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องการอบรมโดยทั่วไป คำสากลที่นิยมใช้กันว่า Training เป็นคำที่สื่อสารได้เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับพนักงานในองค์กร นอกจากนั้น ในยุค 2022 ไม่ใช่แค่เรื่องการฝึกอบรมเท่านั้น แต่มันคือ การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยทุกสื่อการสอนและทุกกระบวนการสอนที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ จึงรวมเรียกมันว่า Learning and Development

TrainingTrend 2022_1

Learning and Development การพัฒนาการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด

เทรนด์การอบรมในยุค 2022 (Training Trend 2022) ที่เพิ่มมูลค่าให้องค์กร

ในปี 2022 เป็นช่วงเวลาที่ทั้งโลกเริ่มคุ้นเคยกับเครื่องมือทางดิจิทัลมากขึ้น จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานไปมาก ผสานกับสภาพเศรษฐกิจที่พยายามจะฟื้นตัว และปัจจัยภายนอกเช่นข้อพิพาทของประเทศมหาอำนาจ ที่ทำให้การรักษาเสถียรภาพทางธุรกิจขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

Training Trends 2022_2

1. Training แบบจิ๋วแต่แจ๋ว กับ Micro learning

มีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารหลายต่อหลายคนได้กล่าวถึง Micro learning ว่าเป็นแนวทางการฝึกอบรมพนักงานที่เหมาะสมรูปแบบหนึ่ง เพราะ Micro learning คือ การฝึกอบรมหรือเรียนรู้ที่เน้นเนื้อหา สั้น กระชับ แต่สามารถนำไปใช้งานได้จริง บางครั้งก็เรียกกันว่า การอบรมแบบ “Bite sized” (จิ๋วแบบกัดพอดีคำ) เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่ค่อนข้างอิสระต่อกัน การเรียนรู้ทีละส่วนย่อย โดยใช้เวลาสั้น ก็ทำให้เข้าใจเนื้อหางานและวิธีการทำงานได้ ซึ่งเวลาที่ใช้ในการเรียนแบบไมโครเลิร์นนิ่งมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 8 นาที (แล้วแต่บริบทขององค์กร) การเรียนสั้นแต่ได้เนื้อหาเป็นส่วนย่อยครบนี้ไม่เพียงแต่ลดเวลาเท่านั้น แต่ยังทำให้พนักงานโฟกัสกับเนื้อหาได้ดีขึ้น ลดความอ่อนล้าจากการฝึกอบรมได้อีกด้วย

2. ยิ่งรวมกันยิ่งดีขึ้น Blended Learning (การเรียนรู้แบบผสมผสาน)

Blended Learning หรือ การเรียนรู้แบบผสมผสาน (หรือบางครั้งรู้จักกันในคำที่ว่า Hybrid Learning) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบหนึ่งของการฝึกอบรมพนักงานที่รวบรวมเอกสารหรือวิธีการเรียน หลากหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกันและยังคงทำให้การโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมีประสิทธิภาพเหมือนกับการฝึกอบรมแบบดั้งเดิม เช่น การนำรูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ มาช่วยให้เข้าถึงห้องเรียนได้ง่าย ผสมผสานกับการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลส่วนสำคัญมาก่อน รวมไปถึงผสานกับการเรียนรู้แบบต่อหน้า (Face-to-Face) วิธีนี้เป็นการนำข้อดีของหลายรูปแบบมารวมเข้าไว้ด้วยกันโดยเน้นผลลัพธ์ของการเรียนรู้เป็นสำคัญ เรียกได้ว่า วิธีการฝึกอบรมแบบนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็ช่วงหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 นั่นเอง

Training Trend 2022_3

Reskill และ Upskill ดีต่อทั้งพนักงานและองค์กรในเวลาเดียวกัน

3. ไม่ปรับอาจไม่รอด Reskill and Upskill (การอบรมทักษะใหม่และการเพิ่มพูนทักษะเดิม)

จากข้อมูลการวิจัยของ donaldhtaylor.co.uk ในปี 2022 แสดงให้เห็นว่า การฝึกอบรม ไม่ได้มีเพียงให้พนักงานในสังกัดใดสังกัดหนึ่งเรียนรู้เรื่องเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ สำหรับพนักงานผู้นั้น (Reskill) และการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่แล้วให้สูงขึ้น (Upskill) ทั้งสองวิธีนี้เป็นแนวโน้มที่หลายบริษัทหันมาใช้กันมากขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19

เหตุผลสำคัญที่วิธีนี้เป็นวิธีสู่การปรับตัวใหม่ของหลายบริษัท คือ การเข้ามาของการทำงานออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Remote work, การประชุมทางกไกล และ การบริหารจัดการทีมแบบไม่เห็นหน้า ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทำให้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ง่าย ต่อยอดไปถึงการสร้างประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และอีกเหตุผลสำคัญคือ พนักงานหลายคนสามารถเรียนรู้และทำงานแทนกันได้เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งไม่อยู่

4. เมื่อทุกคนไม่อยากเป็นผู้แพ้ การฝึกอบรมแบบ Gamification (การอบรมรูปแบบเกม)

พื้นฐานของมนุษย์เราถ้าเลือกได้ก็คงไม่อยากเป็นผู้แพ้ ด้วยสามัญสำนึกนี้เอง ทำให้วิธีการเรียนที่มีพื้นฐานจากการแข่งขันหรือที่เรียกกันว่า Gamification ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงด้วย ในปี 2022 นี้ไม่ใช่เป็นการหยิบเอาวิธีการฝึกอบรมแบบ Gamification เข้ามาใช้เท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มความมีส่วนร่วมของพนักงานให้มากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่มี บนพื้นฐานของเกมนั่นเอง 

 

Training Trend 2022_4

การอบรมแบบ Gamification ที่ผู้คนมักไม่ยอมแพ้ ยังเป็นอมตะอยู่เสมอ

หากสามารถใช้ซอฟแวร์พื้นฐานง่าย ๆ ผนวกรวมเข้ากับการฝึกอบอรม ด้วยกลไกลต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปจะยิ่งสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานมากขึ้น

  • ค่าประสบการณ์ (Experience Point) คือ คะแนนที่ได้รับเมื่อทำกิจกรรมของการฝึกอบรมต่าง ๆ ได้สำเร็จ 
  • สนามประลอง (Battle) คือ แบบทดสอบที่ให้ผู้เรียนได้ลองทำเพื่อประเมินผลการเรียน
  • รางวัล (Reward) คือ ผลตอบแทนที่ได้จากการทำภารกิจต่าง ๆ ในคอร์สการอบรมนั้น ๆ  
  • ความสม่ำเสมอ (Consistency) คือ คะแนนความสม่ำเสมอ กรณีที่คอร์สการอบรมมีระยะเวลานานหลายสัปดาห์ การสร้างระบบ Login ให้พนักงานได้เข้าฝึกสม่ำเสมอช่วยให้เกิดแรงกระตุ้น
  • ระดับขั้น (Level) คือ ระดับขั้นของผู้ฝึกอบรม ว่ามีทักษะมากน้อยเพียงใด ในแต่ละทักษะมีระดับของทักษะมากเท่าไร 
  • สถานะการแข่งขันและการเรียน (Scorecard) คือ การตรวจสอบประสิทธิภาพ และสถานการเรียนรู้ของการฝึกอบรมของ พนักงานแต่ละคน

5. เทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ไกลตัว AI learning technology 

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ รวมไปถึงเทคโนโลยีเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น Mixed Reality (MR) ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องอนาคตอีกต่อไปแล้ว เพราะมีการนำมาใช้งานจริงในหลายองค์กรของโลก การอบรมพนักงานบนเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนกรอบความคิดเดิม ๆ ของการเรียนรู้ออกไป เหตุผลหลักคือ การนำ AI มาช่วยในการฝึกอบรมทำให้ สามารถปรับปรุงหลักสูตรรายบุคคลได้ดีขึ้น การคำนวณ วิเคราะห์ว่าหลักสูตรใดเหมาะสำหรับพนักงานคนใด ควรเรียนรู้ก่อนหรือหลัง (Adaptive Training) อีกเหตุผลหนึ่งคือทำให้การฝึกอบรมในแต่ละครั้ง ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น ตอบโจทย์ทั้งผู้สอนและผู้เรียนในเวลาเดียวกัน

ไม่ว่าวิธีเก่าหรือใหม่ แต่หัวใจคือ ประสิทธิภาพการอบรม 

ในยุค 2022 เรามีวิธีการและเทคโนโลยีมากมายเพื่อช่วยเหลือการฝึกอบรมพนักงานให้ดียิ่งขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะไม่มีความหมายใดเลย หากการอบรมทั้งหมดที่ทำไปไม่ได้ทำให้พนักงานมีทักษะการทำงานที่ดีขึ้น ลดเวลาการทำงานได้มากขึ้น เชี่ยวชาญการทำงานมากขึ้น สร้างผลลัพธ์ให้องค์กรได้ดีขึ้น บนต้นทุนที่ลดลง ซึ่งทั้งหมดนั้นสัมพันธ์กับการบริหารจัดการองค์กรและการอบรมที่ดีด้วย

การเริ่มต้นด้วยวิธีการอบรมพนักงานต่าง ๆ ข้างต้นอาจจะยุ่งยากสำหรับบางองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญของหน่วยอบรมหรืองบประมาณที่สูง Teachme Biz ขอนำเสนอ “Training Function” ในแพลตฟอร์มของ Teachme Biz ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ลดระยะเวลาการฝึกอบรม และสนับสนุนเรียนรู้แบบ Self-Learning อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คลิก 6 เทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ของวงการการบริหารทรัพยากรบุคคล (ภาคต้น)

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This