062-295−6588 contact-th@studist.co.th
what is Mixed Reality

ความแตกต่างที่องค์กรต่าง ๆ สร้างขึ้นให้กับลูกค้า คือ คุณภาพของสินค้าที่เหนือกว่าคู่แข่ง ราคาที่น่าซื้อหามาใช้ และการบริการที่รวดเร็วทันใจ แต่เมื่อมาถึงจุดที่การแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้อาจยังไม่เพียงพอในการต่อสู้กับคู่แข่งในตลาด องค์กรจึงต้องสรรหาสิ่งใหม่ ๆ มาสร้างความแตกต่าง สิ่งหนึ่งที่นิยมใช้คือ “ประสบการณ์ใหม่ ๆ ” และนี่เองเป็นที่มาของ Mixed Reality ที่ Teachme Biz จะมาพูดถึงกัน

1. Mixed Reality คืออะไร

Mixed Reality (MR) คือ เทคโนโลยีความเป็นจริงแบบผสม โดยใช้เทคโนโลยีมาผสมระหว่าง โลกแห่งความเป็นจริงและสิ่งเสมือนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างการรับรู้ในรูปแบบใหม่ ๆ  บนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ตัวอย่างเช่น สร้างสินค้าเสมือน (เช่น รูปของเล่น3มิติที่ยังไม่ได้สร้างจริง) ไว้ในโลกแห่งความจริงและให้คนได้โต้ตอบกับสินค้าหรือสื่อนั้น ๆ  ขณะเดียวกันเพื่อให้คนเห็นสินค้า หรือสิ่งของเสมือนได้ แต่จำเป็นต้องมองผ่านอุปกรณ์ โดยสวมแว่นตาสำหรับ Mixed Reality เพราะถ้าไม่มีแว่นเหล่านี้ เราจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งของเสมือนนี้ได้ ขณะเดียวกันแว่นนี้ก็มองเห็นโลกแห่งความจริงด้วย นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้การโต้ตอบทำได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น เซนเซอร์, กล้อง, การสื่อสารผ่านระบบคลาวด์, ฯลฯ

2. ความต่างที่หลายคนสับสนของคำว่า Mixed Reality

นอกจาก Mixed Reality (MR) แล้วยังมีคำว่า Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) หลายคนสับสนกับคำต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้ง MR, AR หรือ VR วันนี้ Teachme Biz จะมาไขความกระจ่างดังรูปข้างล่างกัน

mixed reality timeline

ภาพแสดงความแตกต่างของโลกความจริงไปจนถึงโลกเสมือน

  • จุดซ้ายสุด คือ โลกแห่งความจริง เป็นโลกที่เราอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสิ่งของและสิ่งแวดล้อมเป็นของจริง ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยี อุปกรณ์ใด ๆ  ก็มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

  • จุดกลาง คือ ความจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นการเสริมบางสิ่งแบบเทียม ๆ ลงไปในโลกแห่งความจริงโดยใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เช่น วางภาพตัวการ์ตูนลงบนโลกจริง ๆ  ซึ่งจะมองเห็นได้ผ่านหน้าจออุปกรณ์

  • จุดขวาสุด คือ โลกเสมือน (Virtual Reality) เป็นโลกที่ไม่มีความจริงแท้อยู่เลย ไม่ว่าจะสิ่งของหรือสิ่งแวดล้อม ถูกสร้างขึ้นมาเป็นของเทียมทั้งหมด ต้องอาศัยอุปกรณ์ เช่น แว่นตาVR เพื่อให้เห็นโลกเสมือนนี้ ไม่มีแว่นตาVRไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ที่ใช้โต้ตอบกับสิ่งของหรือสิ่งแวดล้อมเสมือนนั้นได้

  • Mixed Reality คือช่วงตรงกลาง เป็นการใช้ “สิ่งของเทียม” มาวางลงใน “โลกจริง” และโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ผ่านแว่นตาแบบเฉพาะ

สำหรับ Mixed Reality นั้น ก็มีผู้ผลิตหลากหลายเจ้าที่ทำการพัฒนาแว่นตาแบบเฉพาะนี้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทคโนโลยี Mixed Reality เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ก็มีการสร้างแว่น Microsoft HoloLens เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สวมใส่และสามารถมองเห็นโลกจริงกับสิ่งเสมือนรวมไว้ด้วยกันได้

mixed reality goggles usage

ตัวอย่างแว่นตาสำหรับใช้งานในโลกเสมือน

WI SOP

3.  Mixed Reality ของเล่น หรือ ธุรกิจ

เทคโนโลยีทางดิจิทัลต่าง ๆ ในโลกนี้ หากมันตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้และทำกำไรได้ก็สามารถเป็นธุรกิจได้เกือบทั้งหมด กรณีของ Mixed Reality เองก็เช่นกัน ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจกันแล้ว ไม่ได้เป็นเพียงแค่จินตนาการหรือเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

      3.1 ประโยชน์ในการฝึกอบรม

      การฝึกอบรมในยุคปัจจุบันนอกจากจะทำผ่านกระบวนการออนไลน์แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเมื่อมี Mixed Reality นั่นคือ การฝึกอบรมผ่านประสบการณ์ (Experiential Training) ทำให้พนักงานได้มีโอกาสรับรู้ประสบการณ์หรือสถานการณ์ในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงก่อนจะลงสนามธุรกิจจริง ๆ สิ่งนี้ทำให้ความเสี่ยงในการสร้างความผิดพลาดหน้างานจริงลดลง ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรของบริษัทที่อาจเสียหาย หรือความพอใจของลูกค้าถ้าพนักงานทำผิดพลาด บริษัทใหญ่ ๆ บางบริษัทมีการนำ Mixed Reality มาใช้บ้างแล้ว เพราะผู้บริหารมีความเห็นว่าแทนที่จะให้อ่านคู่มือกระดาษหลาย ๆ รอบ ลองให้ฝึกทำจริงกับระบบนี้เลยดีกว่า บนสถานที่จริง และมีส่วนเสริมทางดิจิทัลเข้ามาเป็นสิ่งทดลอง เช่น ให้พนักงานสวมแว่น Mixed Reality บนหน้างานจริง โดยมีตัวละครเสมือนเป็นลูกค้า เป็นต้น

      3.2 การพัฒนาโครงการต่าง ๆ

      สำหรับการสร้างสถาปัตยกรรมต่าง ๆ หรือระบบเครื่องจักร ก็มีการนำ Mixed Reality มาใช้งานแล้ว เช่น การใช้พิมพ์เขียวสามมิติวางซ้อนทับลงไปในโมเดลจริง เพื่อดูความเข้ากันได้ ปรับเปลี่ยนความเหมาะสม และนำไปพัฒนาการออกแบบต่อไป การใช้ประโยชน์จากความจริงผสมนี้ ทำให้ลูกค้าโต้ตอบกับสินค้า และเห็นภาพจริงที่ไม่ใช่เพียงแต่การแสดงผลบนหน้าจอ เป็นอีกช่องทางในการสื่อสารหนึ่งที่ดีกว่าเดิม

        mixed reality goggles usage

        ตัวอย่างการใช้งานแว่นตา Augmented Reality 

          3.3 เพื่อพัฒนาประสบการณ์การซื้อและขาย

          เทคโนโลยี Mixed Reality นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการซื้อขายได้อย่างลงตัว เช่น ลูกค้าสามารถสัมผัสประสบการณ์ที่ใกล้ความจริงได้ดีมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ผู้ซื้อสามารถทดลองจัดวางสินค้า สามารถเลือกสรรไม่จะว่าเป็นสีสัน หรือดีไซน์ที่ต้องการ ว่าจะสามารถเข้ากันกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านของแต่ละคนได้มากน้อยเพียงไร ทดลองตกแต่งในบ้านตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อได้ (แน่นอนว่าต้องใช้แว่นตา Mixed Reality เข้ามาช่วย) นอกเหนือจากนี้แล้ว ร้านค้าปลีกต่าง ๆ สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปช่วยเติมเต็มประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อสร้างคุณค่าของแบรนด์ได้มากขึ้น อุตสาหกรรมค้าปลีกนี้เองนับได้ว่าเข้ากันได้กับ Mixed Reality รองลงมาไม่แพ้จากอุตสาหกรรมเกมและความบันเทิงเลยทีเดียว

            4. ตัวอย่างจริง ใช้จริง ของ Mixed Reality ในอุตสาหกรรมใหญ่

            เราเห็นจากหัวข้อก่อนแล้วว่า Mixed Reality สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานจริงได้ วันนี้ก็มีการนำมาใช้งานจริงแล้วเช่นกัน ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่นำมาใช้คืออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ที่ค่าแรงค่อนข้างสูง และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เริ่มขาดแคลนแรงงาน ดังนั้นการทำงานได้หลายงาน ด้วยทักษะที่สอนกันง่าย ทำให้ได้ประสิทธิภาพงานสูงสุด เช่น บริษัทรถยนต์ชื่อดังระดับ Top3 ในประเทศญี่ปุ่น มีการพัฒนาเครื่องยนต์ หรือระบบไฟฟ้า ต่าง ๆ ในรถยนต์ ผู้พัฒนาสามารถทำกระบวนการตรวจสอบผ่านแว่น Mixed Reality โดยจะเห็นขั้นตอนที่จะต้องทำบนเครื่องยนต์จริง และปฏิบัติไปตามขั้นตอน จึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะมากนักก็สามารถทำงานให้สำเร็จได้

            manufacture mixed reality usage

            ตัวอย่างภาพจากแว่น Mixed Reality ที่เห็นขั้นตอนการทำงานบนเครื่องยนต์จริง

            5. ก่อนจะไปถึง Mixed Reality เรายังมี Teachme Biz

            ถึงบรรทัดนี้ เราเข้าใจ Mixed Reality ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในวงการธุรกิจ สิ่งที่เห็นชัดในองค์กรคือช่วยให้พนักงานทำงานได้ราบรื่นขึ้นบนหน้างานจริง เช่นกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ตอบโต้ไปพร้อม ๆ กันราวกับมีคนสอนไปด้วย ซึ่งกว่าจะแพร่หลายคงใช้เวลาอีกสักพัก เพราะต้องมีการพัฒนาซอฟแวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้องค์กรต่าง ๆ รู้สึกคุ้มค่าเงินที่จะซื้อหามาใช้

            อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พอจะตอบโจทย์เดียวกันนี้ได้ ที่จะทำให้พนักงานทำงานตามกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น และไม่ต้องใส่แว่น Mixed Reality แถมยังมีวิดีโอ มีคำแนะนำ และเข้าถึงได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต Teachme Biz ก็นับเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นแพลตฟอร์มการทำคู่มือออนไลน์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เริ่มต้นใช้งานได้ทันที ดังนั้น หากกำลังมองหาเครื่องมือในการจัดสร้างเอกสารปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure) ที่จะช่วยให้การทำงานของพนักงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ลดระยะเวลาในการทำงาน และ สร้างมาตรฐานคุณภาพของชิ้นงานให้กับองค์กร Teachme Biz ก็นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่แนะนำ

            SOP คืออะไร
            Create SOP manual effectively

            Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

            ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

            Pin It on Pinterest

            Share This