062-295−6588 contact-th@studist.co.th
ลดต้นทุนรับมือกับเงินเฟ้อ

ในราว ๆ กลางปี 2022 อัตราเงินเฟ้อของทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูงลิ่วเป็นประวัติการณ์ และเมื่อหันมาดูที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 7.1% (เทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด19 ที่ประมาณ 0.71% ในปี 2019) หรือแม้กระทั่งประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงไม่แพ้กันที่ประมาณ 8%  ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 40 ปี เหตุการณ์เงินเฟ้อสูงเช่นนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคและเชื่อมโยงมายังยอดขายและผลกำไรในบริษัท วันนี้ Teachme Biz จึงพามาดู กลยุทธ์ลดต้นทุน ในยุคเงินเฟ้อสูงลิ่ว ว่ามีแนวทางอย่างไร

ลดต้นทุนเป็นพื้นฐาน กลยุทธ์อื่นเป็นตัวช่วย

Teachme Biz เคยพูดถึงวิธีการต่าง ๆ ในการลดต้นทุนกันมาแล้วซึ่งนำมาเป็นพื้นฐานไอเดียในการลดต้นทุนได้ เช่น รวมไอเดีย การลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย สำหรับทุกองค์กรในทุกช่วงเศรษฐกิจ และ แนวคิดการ “ ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพซึ่งมีทั้งมุมมองการทำงานและการบริหารงาน ครั้งนี้นอกจากการลดต้นทุนแล้ว มุมมองอื่น ๆ ที่ทำให้องค์กรยังคงสามารถรักษากำไรไว้ได้ ด้วยจะถูกหยิบยกมาพูดถึงเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องราคา เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ยังคงเหมือนเดิม แต่ด้วย เงินเฟ้อ ทำให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นโดยปริยาย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลไปถึงราคาที่ขายแก่ลูกค้า การจัดการมุมมองเรื่อง “ ราคา ” จึงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง ที่ทำให้องค์กรยังคงรักษากำไรหรือแม้กระทั่งเพิ่มกำไรไว้ได้

how to deal with inflation ลดต้นทุนช่วงเงินเฟ้อ

แนวทางการรับมือเงินเฟ้อสูงลิ่วในปี 2022

1. การคิดใหม่ทำใหม่ บนสินค้าขายดีขององค์กร (Rethinking
Product)

หลาย ๆ บริษัทชื่อดังทั่วโลก มีวิธีการในการควบคุมต้นทุนที่ตรงไปตรงมาอยู่ เช่น การระดมทีมวิศวกรมาช่วยกันคิดใหม่อีกครั้งบนสินค้าตัวสำคัญขององค์กร คิดใหม่ในที่คือไล่ตั้งแต่การออกแบบสินค้าไปจนถึงลดกระบวนการต่าง ๆ ที่คิดว่าตัดออกได้แต่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น 

  • การคำนึงถึงวัสดุที่ใกล้เคียงกันในราคาที่ถูกกว่า 
  • การเปลี่ยนลักษณะของหีบห่อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องแสดงรูปลักษณ์ผ่านบรรจุภัณฑ์ เช่น อะไหล่รถยนต์, อะไหล่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์, ฯลฯ
  • การเปลี่ยนรูปลักษณ์ตัวสินค้า เช่น ความหนาของฝาขวดที่อาจทำเล็กลงแต่คงทน, แน่นหนา เช่นเดิม
  • การลดขนาดของลวดลายบนตัวสินค้า เช่น สติ๊กเกอร์, ฉลาก, ฯลฯ
  • การลดจำนวนรุ่นของสินค้าชนิดเดียวกันให้น้อยลง เพื่อลดขั้นตอนของกระบวนการผลิตและวัตถุดิบในการผลิต

วิธีการทั้งหมดนี้ทำอยู่บนพื้นฐานที่ว่าไม่ลดทอนฟังก์ชันการทำงาน หรือมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เคยตั้งเอาไว้ ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ช่วยให้สามารถรักษาราคาขายเดิมไว้ได้

2. สร้างความหลากหลายบนห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain )

การสร้างความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานอาจจะเพิ่มต้นทุนในระยะสั้นขึ้นมากบ้าง แต่หากมองในระยะยาวแล้วจะทำให้องค์กรมีทางเลือกมากขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุนและความเสี่ยงได้ดีขึ้น เช่น การค้นหา Supplier รายใหม่ ๆ , เปลี่ยนมาใช้ Supplier ในประเทศแทน Supplier ต่างประเทศ, การประเมินยอดสั่งซื้อจากลูกค้า, การค้นหาผู้บริการในการขนส่งรายใหม่ ๆ  สิ่งเหล่านี้ องค์กรอาจจะเคยค้นหามาแล้วในอดีต เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์เปลี่ยนไป อาจมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด การติดต่อหาผู้เล่นรายใหม่เหล่านี้เพิ่มตัวเลือกในการบริหารจัดการต้นทุนได้มากขึ้น สิ่งที่ควรคำนึงถึง มีดังนี้

2.1 ผู้นำส่งวัตถุดิบในองค์กร ( Supplier )

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีพร้อมกับตรวจสอบ Supplier อยู่เสมอเพื่อดูสถานการณ์ด้านปริมาณวัตถุดิบและราคา ขณะเดียวกันก็เฟ้นหา Supplier รายอื่นเป็นทางเลือกไว้ด้วยซึ่งอาจพบวัตถุดิบที่ใกล้เคียงกันในราคาที่ถูกกว่า

2.2 รักษาสายการผลิตให้มั่นคง ( Production )

ในยามวิกฤตเงินเฟ้อ การสั่งสินค้าจากลูกค้านิติบุคคลอาจจะสูงขึ้นจากความต้องการเพิ่มสินค้าคงคลัง (เพื่อเพิ่มสต็อกสินค้าไว้ขายเมื่อราคาตลาดสูงขึ้น) หากสายการผลิตต้องหยุดชะงักเพราะเครื่องจักรหรือพนักงาน อาจทำให้ต้องใช้บริการการจัดจ้างจากภายนอก ( Outsource ) ซึ่งต้นทุนมักสูงกว่าผลิตเอง และนั่นทำให้ต้นทุนโดยรวมของสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย

maintain productionสายการผลิต สิ่งที่ต้องดูและรักษาอยู่เสมอ

2.3 แผนสำรองของคลังสินค้า ( Inventory )

เมื่อคราวที่ต้องผลิตสินค้ามากกว่าปกติจากคำสั่งซื้อสินค้าที่สูงขึ้น แต่คลังสินค้าไม่เพียงพอ การค้นหาคลังสินค้าชั่วคราวเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทันที เพราะใช้ในระยะเวลาที่สั้น ต้นทุนต่อระยะเวลาสูง การมีแผนสำรองสำหรับผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าจะทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดลงได้

3. ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการปรับราคาขายสินค้า ( Pricing Strategy )

ราคาสินค้า เป็นเหตุผลแรก ๆ ที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ เราจึงมีมุมมองต่อกลยุทธ์ด้านราคา ดังนี้

3.1 ราคาขายในเชิงลูกค้า ( Customer Centric )

การปรับราคาสินค้าเพราะต้นทุนสูงขึ้นอาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด แต่ก็ตามมาด้วยผลกระทบที่อาจคาดไม่ถึงมากที่สุดเช่นกัน วิธีการนี้ไม่ถึงกับเป็นสิ่งต้องห้ามแต่ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะลูกค้าแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price Sensitivity) ที่ไม่เท่ากันเป็นเรื่องปกติ การขึ้นราคาเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ยอดขายโดยรวมของลูกค้ากลุ่มนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญได้

โดยส่วนมาก ลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อสินค้าโดยอ้างอิงจากการเปรียบเทียบและคุณค่าที่ได้รับเป็นสำคัญ ดังนั้นการปรับขึ้นราคาสินค้า ควรปรับใช้กับสินค้าบนกลุ่มที่ไม่มีความอ่อนไหวต่อสินค้านั้น ๆ มากนัก (Low Price Sensitivity: ราคาปรับขึ้นหรือลงก็ไม่ค่อยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ) เพื่อให้แม้จะมีการปรับราคาขายไปแล้วแต่ปริมาณการสั่งซื้อไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และคงราคาสินค้ากลุ่มที่สร้างความอ่อนไหวต่อราคาสูง (High Price Sensitivity: การปรับเปลี่ยนราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสูง) เอาไว้เพื่อรักษายอดขาย ทำให้ภาพรวมขององค์กรยังคงรักษากำไรเอาไว้ได้
ปกติการจะรู้ว่าสินค้าใด ต่อลูกค้ากลุ่มใด มีความสัมพันธ์ในเชิงราคาเช่นไร มักใช้ข้อมูลทางดิจิทัลและฐานข้อมูลเข้ามาช่วย เช่น ประวัติการซื้อขายในอดีต จำนวนครั้งที่ซื้อ ช่วงเวลาก่อนการย้อนกลับมาซื้อ การเปลี่ยนแปลงราคาในอดีต เป็นต้น

3.2 ราคาขายในเชิงคู่แข่ง ( Competitor Benchmark )

อีกกรณีหนึ่งคือ การเปรียบเทียบราคาสินค้าชนิดเดียวกันกับคู่แข่ง หากราคาสินค้าในตลาดของคู่แข่งปรับขึ้น แสดงว่าคู่แข่งไม่สามารถรักษาราคาที่ระดับเดิมไว้ได้ ด้วยสถานการณ์นี้ เราจะมี 2 ทางเลือกคือ

  • คุ้มค่าที่จะยอมขึ้นราคาให้เท่ากับราคาสินค้าคู่แข่ง เนื่องจากเป็นไปตามกลไกราคาตลาด
  • หากเราบริหารจัดการต้นทุนของสินค้าในองค์กรได้ ภาวะเงินเฟ้อยังไม่กระทบต่อต้นทุนของสินค้ามากนัก การรักษาราคาสินค้าไว้เท่าเดิม จะทำให้องค์กรเราสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดเหนือคู่แข่งได้มากขึ้น (เพราะราคาถูกกว่า) เป็นการเพิ่มกำไรโดยรวมขององค์กรด้วย
กลยุทธ์การปรับราคาขาย

4. บริหารจัดการกระบวนการในองค์กรด้วย Automation

ในภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้ การริเริ่มที่จะนำระบบ “ Automation ” มาใช้ในองค์กร นับเป็นช่วงเวลาที่ดีและคุ้มค่าในการลงทุนด้าน เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรือ เครื่องจักร ที่มีความอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีต้นทุนที่สูงในช่วงแรก แต่ในระยะยาวจะสามารถช่วยลดต้นทุนคงที่ได้ นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กรได้ด้วย เพราะระบบ Automation มีความสม่ำเสมอในด้านคุณภาพและต้นทุนที่วางแผนได้ตั้งแต่เริ่มต้น เรียกได้ว่า การสร้างระบบอัตโนมัติ ก่อให้เกิดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและทดแทนแรงงานของมนุษย์ที่เป็นต้นทุนในระยะยาวขององค์กรได้เช่นกัน

ใช้ automation ช่วยลดต้นทุนระยะยาว

โรงงานบริษัทชั้นนำบางแห่ง มีการนำรถยกไร้คนขับมาใช้ลดต้นทุนแรงงานคนกันแล้ว

Teachme Biz เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อต่อสู่กับภาวะเงินเฟ้อ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า ต้นทุนขององค์กร ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องวัตถุดิบของสินค้าเท่านั้น ยังมีเรื่องกระบวนการ เรื่องแรงงานคน การบริหารจัดการ ที่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในองค์กรที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแรงงานคน กระบวนการทำงานที่รวดเร็วขึ้นจากแรงงานคน ได้ผลลัพธ์จากกระบวนการที่มากขึ้น เป็นการใช้ต้นทุนที่คุ้มค่า
Teachme Biz แพลตฟอร์มการสร้างคู่มือออนไลน์ ที่เข้าถึงง่าย ใช้งานง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างคู่มือที่เน้นมองเห็นได้ทั้งแบบภาพนิ่งและวิดีโอ ด้วยเครื่องมือนี้ พนักงานจะทำงานได้รวดเร็ว, ทำงานแทนกันได้, และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากวันนี้คุณมองหาเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรเพื่อต่อสู่กับภาวะเงินเฟ้อ Teachme Biz นับเป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่ง ที่หลายบริษัทช้ันนำระดับโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This
Optimized with PageSpeed Ninja