062-295−6588 contact-th@studist.co.th
รวมวิธีกำจัด Human Error

ในทุกวันโลกกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจ โดยมี “แรงงาน” ที่เป็นฟันเฟืองช่วยขับเคลื่อนไปด้วยกัน ประเทศไทยเองก็มีธุรกิจหลากหลายจากแรงงานต่างสาขา และต่างทักษะ แม้เทคโนโลยีจะก้าวไปไกล แต่แรงงานก็ยังคงขาดไม่ได้ วันนี้ Teachme Biz จะพาไปดูสถานการ์การขาดแคลนแรงงานและสิ่งที่ทุกองค์กรควรปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในตอน “5 เรื่องต้องรู้! เพื่อปรับตัวในยุค ขาดแคลนแรงงานไทย”

1. สถานการณ์แรงงานไทยที่คุณอาจไม่เคยรู้

ปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมดโดยประมาณ 66.09ล้านคน จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปลายปี 2565 ประชากรที่สามารถเป็นกำลังหลักในการทำงานได้ (วัยแรงงาน) มีถึง 58.66 ล้านคน พูดอีกนัยหนึ่งตัวเลขนี้คือกำลังคนของประเทศไทยที่เป็นแรงงานได้ 

แต่ความจริงของสังคมนั้นไม่ใช่ทุกคนจะทำงานจริง ๆ เพราะบางคนเรียนหนังสือ บางคนเป็นผู้เกษียณแล้ว ดังนั้นหากนำตัวเลข 58.66 ล้านคน มาลบคนกลุ่มนี้ออก (เรียนหนังสือ, หรือผู้เกษียณแล้ว, ฯลฯ) จะเหลือเพียง 40.09 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นแรงงานได้จริง ทำให้เรารู้ว่าเมื่อลองนับจริงจังก็มีแรงงานลดลงไปอีก นอกจากนั้น 40.09 ล้านคนที่น่าจะเป็นแรงงานเต็มอัตรานี้ มีผู้ว่างงานอีก 0.52 ล้านคน เหลือเป็นผู้มีงานทำจริงเพียง 39.57 ล้านคนเท่านั้น

2. สถานการณ์ของผู้ประกอบการก็ไม่น้อยหน้า

อ้างอิงสถิติจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อเรามองไปที่ผู้ประกอบการที่เรียกว่า “นิติบุคคล” ตั้งแต่ปี 2562 มีผู้ประกอบการจดทะเบียนประมาณ 746,000 ราย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันปี 2566 มีผู้ประกอบการเพิ่มป็น 858,000 ราย ทำให้เราเห็นแนวโน้มของจำนวนผู้ประกอบการในประเทศไทยนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 5% ต่อปี 

แม้จะผ่านช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนผู้ประกอบการลดลงแม้แต่ปีเดียว คำถามที่มีมูลค่าสูงมาก ๆ ไม่ใช่ว่าจะมีกำลังคนพอกับจำนวนผู้ประกอบการหรือไม่ แต่เป็น จะมีแรงงานที่มีฝีมือทำงานได้ประสิทธิภาพเพื่อแข่งขันในธุรกิจมากพอหรือไม่ต่างหาก

3. เหตุใดจึงขาดแคลนแรงงานไทย

ทั้ง ๆ ที่จำนวนประชากรไทยก็มีเป็นหลักหลายสิบล้าน แต่ทำไมยังขาดแคลนแรงงานไทยได้ ต่อไปนี้คือเหตุผล

     3.1 ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ 

การขาดแคลนแรงงาน หากพูดให้ชัดเจนลงไปอีกสักหน่อยจะหมายถึง การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดก็ต้องการแรงงานที่ไม่เพียงแต่ซื่อสัตย์แต่ต้องมีฝีมือด้วย ยิ่งการแข่งขันในภาคธุรกิจมีสูงขึ้น แรงงานที่เป็นกำลังหรือเปรียบเสมือนกองทัพในสงครามการค้าก็ยิ่งต้องมีฝีมือ มิเช่นนั้นแล้ว ต่อให้มีกองทัพแรงงานมากเพียงใดก็มิอาจแข่งขันกับกองกำลังระดับเซียนที่แม้มีน้อยกว่าแต่มีทั้งทักษะสูงเป็นแน่ และในช่วงสถานการณ์โควิด19 ก็มีแรงงานบางส่วนกลับสู่บ้านเกิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ บางส่วนที่ตั้งตัวได้ในภาคการเกษตรก็ไม่ได้กลับมาเป็นแรงงานให้กับภาคอุตสาหกรรมแล้วก็ไม่น้อย

TrainingTrend 2022_1

แรงงานที่มีฝีมือดีอาจหายากขึ้น

     3.2 อัตราการเกิดต่ำลง 

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติ อัตราการเพิ่มของประชากรในช่วงปี 2562 – 2564 มีอัตราการเพิ่มขึ้นคือ 0.22, -0.56 และ -0.02 ตามลำดับ หลายคนอาจเห็นว่าอัตราการเกิดต่ำลง ไม่น่าจะมีผลอะไรกับตลาดแรงงานมากนัก แต่ในระยะยาวแล้ว มีผู้เกษียณทุกปี ผู้ที่จบใหม่และพร้อมทำงานก็จะมีอัตราลดลงเรื่อย ๆ  (เพราะอัตราการเกิดลดลง) และองค์กรไม่ได้ก่อตั้งมาเพียง 1-2 ปีแล้วจะปิดตัว ดังนั้นระยะยาวหากองค์กรและสังคมไม่เปลี่ยนแปลงอะไร แรงงานที่มีฝีมือที่จะป้อนเข้าสู่ระบบต้องลดลงอย่างแน่นอน  

     3.3 ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง

แรงงานไทยมีการลงทะเบียนขอไปทำงานในต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสอดรับกับสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานในประเทศ เหตุผลหนึ่งที่มีแรงงานบางส่วนไปทำงานในต่างประเทศ เป็นเรื่องของรายได้ที่สูง ครั้นจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศก็มีเสียงค้านบางส่วนจากภาคธุรกิจ เกิดปัญหาวนเวียนเป็นวงจรไม่จบสิ้น การร่วมมือกันอย่างจริงจังของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

4. ตั้งแต่ปี 2566 ไป แนวโน้มจะไปในทิศทางใด

     4.1 แนวโน้มสถานการณ์อัตราการเกิดจะเป็นอย่างไร 

หากย้อนไปสัก 10 ปีก่อน มีเด็กเกิดใหม่ราว 780,000 คน และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ  โดยล่าสุดปี 2565 มีเด็กเกิดใหม่ราว 500,000 คน ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไปก็ยังไม่มีปัจจัยบวกใด ๆ ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มประชากรเกิดใหม่จะเพิ่มสูงขึ้น เหตุที่คนไทยไม่นิยมมีลูกในช่วง3-5ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต เผยว่า สาเหตุหลักอย่างหนึ่งคือประชาชนบางกลุ่มมีการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้ความรู้ด้านการวางแผนครอบครัวชัดเจนขึ้น นำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตรงเป้าหมายขึ้น ส่งผลให้คนไทยชะลอการมีครอบครัวออกไป

     4.2 แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร 

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกรุงศรีถึงแน้วโน้มของเศรษฐกิจทั่วทั้งโลกถึงปี 2567 จะมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 มีแนวโน้มลดลง ทำให้เศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นอีกครั้ง แต่ไม่ใช่แค่เรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น คนทำงาน องค์กรต่าง ๆ ก็คุ้นเคยกับเทคโนโลยีทางดิจิทัลมากขึ้น โดยเทคโนโลยีที่โดดเด่นมากขึ้น คือ Internet of Things (IoT), Artificial Intelligence (AI), เทคโนโลยี 5G ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อตลาดแรงงานโดยตรง ทั้งในเรื่องความรู้ความสามารถที่แรงงานใช้ควบคุมเทคโนโลยี และแรงงานบางส่วนที่ต้องถูกแทนที่จากเทคโนโลยีเหล่านี้

TrainingTrend 2022_1

แรงงานคนหลากหลายถูกแทนที่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

5. ผู้ประกอบควรรับมือกับปัญหาแรงงานเหล่านี้อย่างไร

จากข้อมูลสถิติต่าง ๆ  แนวโน้ม ปัญหา เมื่อนำมาประมวลรวมกันแล้วจะทำให้เราได้แนวทางการรับมือดังนี้คือ 

     5.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในภาพรวม

หากไม่มีงบประมาณพอ อาจจะเริ่มเป็นรายบุคคลไป แต่หากองค์กรมีงบประมาณส่วนการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ  (ไคเซ็น) ในองค์กรอยู่แล้ว สิ่งที่ดีคือ ใช้งบประมาณในการปฏิวัติการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรทั้งหมด ทำอย่างไรจึงจะทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่สั้นลงหรือเท่าเดิม, ทำอย่างไรจะทำให้งานเดิม ๆ ใช้เวลาทำให้สำเร็จได้เร็วขึ้น ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนไม่ลดคุณภาพได้, ทำให้สินค้าไม่บกพร่องจากการควบคุมคุณภาพ ง่าย  ๆ  ด้วย SOP WI ออนไลน์ หรือเคล็ดลับต่าง ๆ เช่น ข้อสำคัญเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสู่องค์กรระดับโลก สิ่งเหล่านี้หากตอบโจทย์ได้ประสิทธิภาพขององค์กรจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากบทความต่าง ๆ ใน Teachme Biz ก็มีเช่นกัน

     5.2 ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์หรือ DX นั่นเอง

หากยังไม่รู้ว่า DX หรือ Digital Transformation คืออะไร วันนี้ยังไม่สายเช่นกัน วันที่โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไม่เพียงแต่กระบวนการผลิต หรือหลังบ้านขององค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลหรือไอที แต่ลูกค้าเองก็มีประสบการณ์ทางดิจิทัลต่อองค์กรด้วย องค์กรต่าง ๆ ปรับตัวสู่ Digital Transformation ตั้งแต่วันนี้ได้ และหลายองค์กรก็พยายามทำกันอยู่ ตอบความต้องการลูกค้าได้มากขึ้น มีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ามากขึ้น นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ได้ดีขึ้น การนำเทคโนโลยีมาช่วยจะทำให้องค์กรได้เวลาและผลลัพธ์มากขึ้นจากการลงทุนที่คุ้มค่า  เช่น การใช้ Chat Bot เข้ามาตอบคำถามที่พบบ่อย ๆ จากลูกค้า ก็สามารถบริหารจำนวนพนักงานในการตอบรับลูกค้าได้ หรือ AI ที่เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิตตามเงื่อนไขต่าง ๆ 

     5.3 ผลักดันองค์กรสู่วัฒนธรรม Multi-tasking Skill 

หากมีตัวช่วยที่ดี แม้คนที่ยังไม่เคยเรียนรู้ก็สามารถเรียนรู้และกลายเป็นพนักงานที่มีทักษะการทำงานหลายด้านได้ และการทำให้พนักงานแต่ละคนมีทักษะการทำงานได้หลากหลายด้าน จะทำให้สามารถหมุนเวียนพนักงานทดแทนทรัพยากรในยามที่ขาดแคลนทรัพยากรได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุฉุกเฉิน หรือไม่สามารถหาแรงงานได้ในช่วงวิกฤต 

นอกจากนั้นยังทำให้ทักษะของงานที่องค์กรได้สร้างขึ้นคงอยู่กับพนักงานรุ่นต่อรุ่น ไม่ว่าพนักงานจะต้องลาออก หรือเกษียณอายุ ก็ยังมีพนักงานรุ่นต่อ ๆ ไปที่สานต่องานได้อย่างยั่งยืน การผลักดันองค์กรให้พนักงานมี Multi-Tasking Skill สามารถเริ่มต้นด้วยการอบรมออนไลน์ที่ต้นทุนต่ำลง การใช้ SOP WI ออนไลน์ที่ทำให้พนักงานทุกคนเข้าถึงวิธีการทำงานได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 

บริษัท Moritomo ใช้ Tedachme Biz เพื่อช่วยในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้พนักงานมี Multi-skills พร้อมสำหรับการทำงานในหลายๆ ด้าน 

Teachme Biz ทางออกในสถานการณ์การขาดแคลนแรงงาน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ Teachme Biz แพลตฟอร์มสร้างคู่มือการทำงานออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น SOP หรือ WI ออนไลน์ ก็สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ พนักงานสามารถสร้างคู่มือที่เข้าใจง่าย ค้นหาง่าย แก้ไข อัปเดตได้ แถมยังแชร์ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้แบบเรียลไทม์ ทำให้พนักงานหนึ่งคนทำหน้าที่ได้หลากหลาย เพิ่มพูนทักษะการทำงานและสร้างประสิทธิภาพที่ดีของงานจากแรงงานทุกคนในองค์กรได้อีกด้วย นับเป็นอีกตัวช่วยในยุคดิจิทัลที่พร้อมจะ Transform องค์กรไปด้วยกัน คุณเองก็เริ่มต้นได้ง่าย ๆ วันนี้

 

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This