062-295−6588 contact-th@studist.co.th
พนักงานอาจลาออกถ้าไม่ได้ WFH

ตั้งแต่ต้นปี 2020 จนถึงปี 2022 ทั่วโลกมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) อย่างเข้มข้น บริษัทส่วนใหญ่จึงมีนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน หรือ Work from home (WFH) ได้ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวกินเวลานานมากพอที่ทำให้เคยชินกับรูปแบบการทำงาน ที่มีความยืดหยุ่น


เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น อัตราการแพร่ระบาดน้อยลง มีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทบางส่วนจึงเริ่มให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ แบบเดิม 100% โดยที่ไม่รู้เลยว่าการให้พนักงานกลับมาออฟฟิศนั่นจะทำให้พนักงานบางคน รู้สึกไม่พอใจจนอาจยอมเลือกที่จะลาออกถ้าไม่ได้ WFH ต่อ!

อ้างอิงจากผลสำรวจล่าสุดโดย ADP Research Institute สถาบันวิจัยด้านตลาดแรงงานพบว่า การที่บริษัทยกเลิก WFH อาจทำให้พนักงานตัดสินใจลาออกได้ 

สิ่งที่น่าสนใจจากการสำรวจครั้งนี้อย่างหนึ่งคือการที่คนทำงานทั่วโลกกว่า 64% หรือเกือบ 2 ใน 3 ระบุว่าจะหาหรือจะพิจารณาหางานใหม่หากนายจ้างให้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศเต็มเวลา โดยเฉพาะคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี เป็นกลุ่มที่ไม่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลามากที่สุด รองลงมาเป็นคนที่มีอายุ 35-44 ปี 61% และคนที่มีอายุ 45-54 ปี 56% 

นอกจากนี้ กว่า 52% หรือเกินครึ่งยังระบุอีกว่าพวกเขายินดีลดเงินเดือนเพื่อแลกกับการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) 

gen z อาจลาออก ถ้าไม่ได้ wfh

ผลสำรวจจากพนักงานทั่วโลกที่อาจพิจารณาลาออกหากยกเลิก WFH 

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพนักงานลาออกพร้อมกันจำนวนมาก

จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่ค่อนข้างสูงที่พนักงานในบริษัทของคุณจะลาออก ถ้าพวกเขาต้องกลับมาทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศเช่นเดิม แน่นอนว่าถ้าเกิดมีปริมาณพนักงานเข้า-ออกจำนวนมากก็จะส่งผลถึงอัตราการลาออกจากงาน (Turn Over Rate) ให้สูงขึ้น และนำไปสู่ 2 ปัญหาหลักๆ ได้แก่ คุณภาพงานไม่คงที่ และ ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

1. คุณภาพงานไม่คงที่ ประสิทธิภาพลดลง  

ในกระบวนการต่องานระหว่างคนเก่าและคนใหม่มักต้องใช้เวลากว่าที่งานจะกลับมา มีมาตรฐานสม่ำเสมอได้ เนื่องจากคนใหม่อาจยังไม่มีความเชี่ยวชาญและคุ้นชินกับบริษัท นอกจากนี้อาจองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดจากพนักงานคนก่อนอาจไม่ได้ถูกส่งผ่านมาทั้งหมด ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้ง่ายขึ้น งานมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร

2. บริษัทแบกรับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงมักมาพร้อมกับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในส่วนของงานเทรนนิ่ง เพราะการอบรมหนึ่งครั้งบริษัทต้องสูญเสียเวลาการทำงานของผู้อบรมไปด้วย ซึ่งนับเป็นต้นทุนของบริษัทเช่นกัน ถ้ายิ่งต้องจัดอบรมหลายครั้ง ก็เท่ากับยิ่งสิ้นเปลืองมากไปด้วย

นอกจากปัญหาที่มาจากผลกระทบจาก Turn Over Rate แล้ว อย่าลืมว่าพนักงานที่ลาออกไปจากบริษัทนั้น อาจถูกคู่แข่งทางธุรกิจแย่งตัวไปแบบชิลๆ อีกด้วย ซึ่งคงไม่มีบริษัทไหนอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ควรต้องหาทางป้องกันผลกระทบเหล่านี้เอาไว้ ก่อนที่จะสายเกินไป!

ป้องกันวิกฤตด้วยมาตรการจากความเข้าใจ

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “พนักงานพร้อมใจกันลาออก ถ้าไม่ได้ WFH ” ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จึงควรให้ความสำคัญกับความต้องการของพนักงานมากขึ้น เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้ยืดหยุ่น ตอบรับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนไป

1. ปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับทุกฝ่าย

การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) อาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดในยุคนี้ก็เป็นได้ เพราะเป็นการดึงเอาจุดเด่นของการทำงานที่ออฟฟิศและที่บ้านเข้าด้วยกัน โดยออฟฟิศจะถูกใช้เป็นสถานที่หลักเมื่อต้องทำงานร่วมกัน การประชุมแผนก หรือ การระดมไอเดียต่างๆ นอกนั้นพนักงานสามารถเลือก WFH ได้ตามอัธยาศัย โดย HR อาจมี Flexible Working Policy หรือมีการกำหนดนโยบายสำหรับวันและเวลาทำงาน ที่เหมาะสมกับบริษัทและพนักงานที่สุด โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ

2. มีพื้นที่ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ทางออนไลน์

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในช่วง Covid-19 ได้พิสูจน์แล้วว่า “เครื่องมือทางออนไลน์” มีความสำคัญในการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการสื่อสารและส่งต่อข้อมูล ตัวอย่างเครื่องมือที่เรามักพบบ่อยๆ ก็เช่น Zoom, Hangouts, Slack, Google G Suite เป็นต้น

ดังนั้นการทำงานในยุคต่อจากนี้ฝ่าย HR จึงควรเน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น มีการเลือกใช้เครื่องมือออนไลน์ที่เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานมีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่องานเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของบริษัทออกไปด้วย เช่น การส่งข้อมูลผ่านออนไลน์ได้ ลดการใช้กระดาษ ลดระยะเวลาในการส่งข้อมูล ลดระยะเวลาในการทำงาน สามารถดึงข้อมูลออกมาทันทีที่ต้องการ เป็นต้น

3. จัดทำระเบียบการทำงานที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย

บางทีการทำงานที่ไม่มีระบบระเบียบก็ทำให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่ายอยู่แล้ว เมื่อบวกกับการถูกบังคับในสิ่งที่ไม่อยากทำ เช่น กลับมาทำงานออฟฟิศ ยกเลิก WFH ก็อาจทำให้พวกเขาเลือกที่จะลาออกได้ง่ายขึ้น จึงเป็นความจำเป็นของ HR ที่ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
ด้วยการรวบรวมและจัดทำขั้นตอนการทำงานของพนักงานแต่ละตำแหน่งอย่างละเอียด ค้นหาปัญหาในการทำงานของพนักงานให้เจอก่อนนำไปหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับแผนกนั้นๆ เช่น งานที่ซ้ำซ้อน จุดที่ทำให้โฟลว์งานสะดุด หรืออื่นๆ เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น และทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ป้องกันวิกฤตพนักงานลาออก

ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับจัดทำคู่มือทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยเฉพาะ Teachme Biz – Visual SOP Management Platform ระบบจัดการคู่มือการทำงานออนไลน์ที่

ออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรได้จริง สามารถจัดเรียงลำดับงานต่างๆ ออกมาอย่างเป็นระเบียบ ช่วยให้เห็นว่าปัญหาอยู่ที่จุดไหน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างตรงจุด ใช้ปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงใช้บริหารจัดการความรู้ได้องค์กรได้อย่างดี จึงได้รับความไว้วางใจและมีอัตราการใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่น* เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการอื่นในประเภทเดียวกัน 

มารู้จักกับฟังก์ชันทำงานจาก Teachme Biz ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

    Create SOP manual effectively

    Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

    ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

    Pin It on Pinterest

    Share This
    Optimized with PageSpeed Ninja