062-295−6588 contact-th@studist.co.th

ช่วงตลอดปีกว่าที่ผ่านมาโลกทั้งใบของเราพบเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 จนอ่วมกันไปทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยังคงต้องขับเคลื่อน บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับตัวตาม นโยบาย Work from Home (WFH) เพื่อลดการเดินทางและพบปะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายบริษัทใช้ แม้ก่อนหน้านี้การ WFH จะไม่เคยเป็นไปได้เลยสำหรับบางองค์กรก็เป็นจริงขึ้นมา 

แต่ 1 ปีผ่านไปกับการสื่อสารผ่านหน้าจอ บางคนอาจจะบอกว่าไม่มีปัญหา แต่แน่นอนบางคนอาจจะถึงขีดจำกัดแล้ว จากผลสำรวจของ Teachme Biz ที่ได้ทำการสัมภาษณ์ความรู้สึกของการ Work from Home จากพนักงานกว่า 250 คนแล้วพบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่ไม่ได้แฮปปี้กับการ WFH และเริ่มรู้สึกว่า WFH เป็นอุปสรรคในการทำงาน

หลากหลายบริษัทชั้นนำของโลกจึงต้องกลับมาทบทวนนโยบายการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง เพราะเมื่อพนักงานได้ลิ้มลองการทำงานรูปแบบใหม่แล้วจะให้กลับมาเป็นแบบเดิม 100% เลยก็คงยาก บางที่จึงมีแนวโน้มว่าการ WFH จะยังคงอยู่ต่อไปแม้สถานกาณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะดีขึ้น หรือบางที่อาจจะใช้วิธีการทำงานแบบผนวกรวมสองแบบเข้าด้วยกันที่เรียกว่า “การทำงานแบบไฮบริด” (Hybrid working) มาเป็นทางออก

ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีนโยบายชัดเจนเรื่อง Work from Home ในปัจจุบัน

บริษัท Amazon

บริษัทค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีพนักงานรวมกันเกือบแสนคนทั่วโลก มีนโยบายการทำงานในช่วงปี 2021 คือ “การทำงานแบบไฮบริด” (Hybrid working) ตำแหน่งใดที่พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้ ให้ WFH 2 วันต่อสัปดาห์ 

บริษัท British Airway

บริษัทสายการบินชื่อดังในประเทศอังกฤษให้ข้อมูลว่าในช่วงปี 2021 นี้ เป้าหมายของลักษณะการทำงานขององค์กรคือ “การทำงานแบบไฮบริด” (Hybrid working) เพราะยังเข้ากันได้กับการดำเนินธุรกิจ โดยพยายามจะผนวกรวมการทำงานแบบไฮบริดนี้ให้เหมาะสมกับทุก ๆ คน 

การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หนึ่งในชีวิตวิถีใหม่

บริษัท SIEMENS

บริษัทด้านเครื่องไฟฟ้าจากยุโรป มีการปรับตัวมาตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบัน โดยอนุญาตให้พนักงานกว่า 140,000 คนทั่วโลกสามารถเลือกทำงานได้ไม่ว่าจะเป็นในออฟฟิศหรือ Work from Home หรือแม้จะเป็น Co-Working Space ต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน โดยให้จำนวนวันประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์แล้วแต่สถานการณ์

การทำงานจากที่บ้านแบบถาวรมีด้วยหรือ (Permanent Work From Home)

จากตัวอย่างของหลายบริษัทข้างต้นจะเป็น “การทำงานแบบไฮบริด” (Hybrid working) หรือการผนวกรวมการทำงานทั้งที่ออฟฟิศและที่บ้านผสมกัน แต่สำหรับการ Work from Home แบบถาวร (Permanent Work from Home) นั้นก็มีปรากฏให้เห็นแล้วเช่นกัน 

ด้วยนโยบายล็อกดาวน์ของรัฐบาลในหลายประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด 19 หลายบริษัทเห็นว่าพนักงานเกือบทั้งหมดไม่สามารถมาทำงานที่ออฟฟิศได้ แต่สามารถทำจากที่บ้านได้ จึงมีแนวคิดที่จะให้มีการทำงานจากที่บ้านอย่างถาวรและธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ ซึ่งในช่วงแรกของการทำงานจากที่บ้าน พนักงานหลาย ๆ คนก็ได้พิสูจน์แล้วว่าคุณภาพของการทำงานไม่ได้ลดลง บางแห่งคุณภาพกลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ จึงเป็นที่มาของนโยบายการทำงานจากที่บ้านถาวร

บริษัทใหญ่ที่มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านถาวร 

สำหรับบริษัทที่มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านถาวร (ขึ้นกับตำแหน่งและหน้าที่การทำงาน) เช่น บริษัท Coinbase Dropbox Quora Twitter Shopify Spotify หรือแม้กระทั่ง Facebook จากรายชื่อของบริษัทที่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านออนไลน์เป็นหลัก ทำให้หน้าที่งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ แม้จะเรียกว่าการทำงานจากที่บ้านถาวร แต่ในเชิงนโยบายจะใช้คำว่า “Remote First” ซึ่งหมายถึงเน้นทำที่บ้านเป็นหลัก แต่หากพนักงานจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศจริง ๆ ก็ไม่ปฏิเสธ 

ข้อถกเถียงของการ Work from Home

  • พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่
    คำตอบนี้ได้ถูกรวบรวมออกมาเป็นข้อสรุปจากเว็บไซต์ startuptalky.com ว่าส่วนใหญ่แล้วมีประสิทธิภาพมากขึ้น (นั่นหมายความว่าส่วนที่ลดลงก็มี แต่ส่วนที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมีมากกว่า)
  • เพราะเหตุใดบริษัทจึงอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้แม้สถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้นแล้ว?
    คำตอบในข้อที่แล้วเป็นเหตุผลหลักอันหนึ่งคือ พนักงานส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เหตุผลอื่น ๆ ก็คือ บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ หรือแม้แต่ค่าเดินทางของการทำธุรกิจ นอกจากนั้นยังทำให้มีการลาออกของพนักงานลดลงด้วยเพราะ Work-Life Balance ที่เพิ่มมากขึ้น
  • อะไรคือประโยชน์ของการ Work from Home แบบถาวร?
    ประโยชน์หลักคือ ความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้น เช่น
    1) ลดเวลาการเดินทาง ทำให้ส่วนใหญ่นำเวลาการเดินทางเฉลี่ยราว 2 ชั่วโมงต่อวันมาใช้ทำอย่างอื่นได้
    2) ลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลงสำหรับพนักงานในตำแหน่งที่ใช้ออฟฟิศเป็นเพียงสถานที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องติดต่อประสานงานกับแผนกอื่น ๆ มากนัก มีผลลัพธ์จากทำงานเป็นงานเอกสารต่าง ๆ เป็นหลัก
    ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้บริษัทตัดสินใจเปิดรับพนักงานบางตำแหน่งเป็นการทำงานจากที่บ้านอย่างถาวร (เงื่อนไขอื่น ๆ นั้นแล้วแต่บริษัทกำหนด)
  • เครื่องมืออะไรที่เป็นตัวช่วยในการ Work from Home?
    ตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์เช่น Google Drive, Dropbox, Zoom และ Microsoft Teams เป้นที่รู้จักมากขึ้นและนับเป็นตัวท็อปของวงการเลยก็ว่าได้ Teachme Biz เองก็ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญของซอฟแวร์เหล่านี้ไว้ตั้งแต่ปี 2020 แล้วด้วย

รวมฟีเจอร์เด็ด ๆ จาก Zoom How to ใช้ Zoom ขั้น Advance
4 เทคนิคการใช้ Google Drive

หากมีการจัดการและเครื่องมือที่ดีการทำงานจากที่บ้านก็มีประสิทธิภาพได้

อนาคตของการทำงาน

Work from Home นับว่าเป็นวัฒนธรรมใหม่ของหลายๆ องค์กร แต่ตลอดกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าการ Work from Home มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร ส่วนที่ดีเราสามารถนำมาปรับใช้ ส่วนที่ด้อยเราก็สามารถปรับปรุงเพื่อใช้ต่อหลังสถานการณ์โควิด 19 หมดไปก็ได้  ซึ่งหากยังไม่แน่ใจว่าจะวางนโยบายแบบใดอาจจะเริ่มจาก “การทำงานแบบไฮบริด” (Hybrid working) หรือการทำงานจากทั้งที่ออฟฟิศหรือที่บ้านผสมกัน เพื่อเป็นการดึงข้อดีของทั้งสองแบบออกมา แต่ไม่ว่าจะทำงานที่ใด สิ่งสำคัญคือการสร้างสภาพแวดล้อมให้พนักงานสามารถใช้ศักยภาพของตัวเองให้ได้เต็มที่ ทำงานได้โดยไม่มีข้อกังวลแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม Teachme Biz จึงขอแนะนำให้สร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าวโดยยึดคีย์เวิร์ดหลัก 2 ข้อคือ  “หาอะไรก็เจอ” และ “ถามได้ทันที” กล่าวคือ พนักงานควรสามารถ “หาอะไรก็เจอ” ได้แม้จะอยู่คนเดียว หรือไม่สามารถถามใครได้ และควรมีสภาพแวดล้อมที่สามารถ “ถามได้ทันที” เมื่อมีข้อสงสัยหรือความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกัน 

ทั้งหมดนี้สามารถจัดการได้ด้วย Teachme Biz ระบบจัดการคู่มือการทำงานออนไลน์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะลบจุดอ่อนต่าง ๆ ของการทำงานในยุคสมัยนี้ให้ได้มากที่สุด

    Create SOP manual effectively

    Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

    ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

    Pin It on Pinterest

    Share This