062-295−6588 contact-th@studist.co.th

New Normal คือ ความปกติรูปแบบใหม่ ซึ่งมาจากวัฒนธรรม หรือหลักปฏิบัติใหม่ที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์ใหญ่ๆ ในอดีตมักใช้กับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติทางการเงินของโลกที่เริ่มจากอเมริกาช่วงปี 2009 แต่ปัจจุบันคำนี้ได้ขยายวงออกไปใช้ในหลายภาคส่วนมากขึ้น เช่นภาคเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตประจำวัน หรือวงการใดก็ตามที่มีสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จนกลายเป็นความปกติ ตัวอย่างเช่นสถานกาณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง และกินเวลายาวนาน จนทำให้ทุกภาคส่วนต้องเกิดการปรับตัวใหม่เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนทั้งชีวิต และธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวนี้เองที่เรียกว่าเป็น “New Normal” แต่จะเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือจะดำรงอยู่แบบยาวนานจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ก็ขึ้นอยู่กับสังคมนั้นๆ แต่สิ่งที่นักวิเคราะห์ทั่วโลกคาดการณ์ตรงกันในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ New Normal ในภาคธุรกิจมีดังต่อไปนี้ 

1. Contactless Society 

Contactless Society หรือสังคมลดการสัมผัสเป็นรูปแบบของสังคมที่เริ่มเห็นมาตั้งแต่ก่อนมีโรคระบาดแล้ว ตัวอย่างเช่นระบบการจ่ายเงินแบบ Contactless Payment หรือ การจ่ายเงินแบบลดการสัมผัส (QR Code, บัตรเครดิต, สแกนจ่าย) ที่แพร่หลายในประเทศไทยมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่หลังจากนี้นอกเหนือจากการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันต่างๆ เราคงจะได้เห็นภาคธุรกิจหันมาใช้นโยบาย Contactless กันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น

  • Social Distancing

    Social Distancing หรือมาตรการรักษาระยะห่างระหว่างกัน เป็นมาตรการที่รองรับโรคระบาดในช่วงนี้ ทั้งการให้รักษาระยะห่างต่อกัน ทั้งการงดการรวมตัวกัน ยืนหรือนั่งห่างกัน ซึ่งก็เป็นรายละเอียดที่ส่งผลถึงการบริหารองค์กรไม่น้อย และเพื่อให้มาตรการลดการสัมผัสได้ผล บางบริษัทก็ถือโอกาสเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเพื่อตอบรับการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งการเปลี่ยนระบบการทำธุรกิจโดยใช้ออนไลน์เป็นหลัก หันมาเรียนหรือเทรนนิ่งพนักงานทางออนไลน์แทนนการเรียนในชั้นเรียน การทำงานและประชุมที่บ้านผ่านออนไลน์แทนการเข้าออฟฟิศ หรือ องค์กรใดที่ไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็อาจจะค่อยๆ เริ่มไปทีละข้อ

  • Work from home

    Work from home นโยบายการทำงานจากที่บ้าน เป็นนโยบายที่มีการพูดกันมานานแล้วแต่ยังไม่มีการใช้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแพร่หลายนัก แต่ด้วยสถานการณ์บังคับให้ต้องใช้นโยบาย Work from home อย่างช่วยไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่น ประสิทธิภาพในงานของพนักงานที่ต้องทำงานคนเดียว การแก้ปัญหางานที่เกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น การบริหารทรัพยากรบุคคล และอีกมากมาย โดยการบริหารงานช่วง Work from Home ให้มีประสิทธิภาพนั้น ในเบื้องต้นเราขอแนะนำให้แบ่งงานเป็น

    1) งานที่ไม่ต้องทำ

    2) งานที่ต้องทำต่อ

    3) งานที่เกิดใหม่และต้องทำ ณ เวลานั้น

เมื่อแบ่งประเภทงานแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วนทบทวนวิธีการทำงานในข้อที่  2 และ 3 แล้วสร้างคู่มือการทำงานของงานนั้นๆ ขึ้นมา จากนั้นแชร์ให้คนในองค์กรทราบ ขั้นตอนนี้จะทำให้พนักงานได้ทบทวนและตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของตัวเอง และเมื่อทำเป็นคู่มือออกมาและแชร์ให้คนอื่นดูได้แล้วก็จะทำให้พนักงานคนอื่นสามารถดูขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องได้จากที่บ้านของตัวเอง เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานแทนกันได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานท่ามกลางภาวะ Social Distancing ได้

  • Cashless Society 

    ประเทศไทยมีแนวโน้มของการเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินไปเป็น Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐ สถาบันทางการเงิน รวมถึงภาคเอกชนทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่ต่างกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้เป็น Cashless Society อย่างสมบูรณ์มากขึ้นโดยเห็นได้จากการพัฒนาระบบ “พร้อมเพย์ – PromtPay” การชำระผ่าน QR Code การงดเว้นค่าธรรมเนียมเมื่อโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคาร เป็นต้น ซึ่งการทำธุรกรรมแบบออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากและมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถกลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างเต็มตัวเพราะการใช้จ่ายผ่านออนไลน์ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ทั้งผู้รับและผู้ให้บริการ ตัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเสียเวลาในการรอ และค่า Operation ต่างๆ ได้อย่างมาก

2. Digital Transformation

เป็นคำที่ได้ยินมาสักระยะแล้วในประเทศไทย Digital Transformation หมายถึงการปฏิรูปการบริหารองค์กรโดยใช้ Digital เป็นหัวใจสำคัญ เป็นการใช้ Digital เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างสรรค์ ผลิต บริหาร และดำเนินการธุรกิจจนเกิดเป็น Asset ขององค์กร ยกตัวอย่างแบบใกล้ตัวได้ตั้งแต่การทำเว็บไซต์ Social Media หรือการใช้ Digital tools ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร หรือตัวอย่างการ Digital Transformation ที่เห็นได้ชัดคือธุรกิจค้าปลีก ที่ปัจจุบันผู้บริโภคและผู้ให้บริการได้เปลี่ยนไปใช้การซื้อขายแบบออนไลน์แทบจะเป็นหลัก หรืออย่างเช่นวงการอุตสาหกรรมการผลิต ที่มักจะได้ยินคำว่า Automation กันบ่อยๆ นั่นก็คือการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลให้เข้ามามีส่วนในการปฏิรูปขั้นตอนการบริหารให้ทันต่อการแนวโน้มเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป

  • Online tools 

    เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคดิจิตอล แน่นอนว่าเครื่องมือเครื่องไม้ที่ต้องใช้ในการทำงานก็จะเปลี่ยนไป อย่างเช่นข้อมูลต่างๆ ในองค์กรที่เมื่อก่อนเคยต้องจัดเก็บและดูแลในตู้เซอร์เวอร์ในออฟฟิศ แต่เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลและการจัดเก็บง่ายขึ้น ปัจจุบันก็หันมาใช้ Cloud storage กันแทบจะทั้งหมดแล้ว หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะด้าน Document control, Operation Management, Creativity, HRM, Training และอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีให้เลือกและรองรับการบริหารองค์กรให้เหมาะสมกับยุคดิจิตอล 

  • Online Training

    การอบรมพนักงานนั้นในอดีตบริษัทใหญ่ๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับหัวข้อนี้เป็นอย่างมาก ทั้งการเดินทางเพื่ออบรม การจ้างบุคคลากร แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Hard skill หรือ Soft skill ทุกคนมีศักยภาพในการเข้าถึงการอบรมนั้นได้เท่าๆ กันด้วยต้นทุนที่น้อยมาก เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต ดังนั้นต่อไปเราคงจะเห็นการอบรมแบบเลคเชอร์ซึ่งเป็นรูปแบบเดิมๆ น้อยลง แต่หลากหลายองค์กรคงเริ่มเตรียมนโยบายสำหรับการอบรมพนักงานออนไลน์มากขึ้น 

3. Cost Reduction

นักวิเคราะห์จากหลากหลายสำนักต่างแสดงความกังวลไปในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจหลัง COVID-19 จะซบเซาอย่างรุนแรงทั่วโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทย ที่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ากำลังเผชิญกับภาวะถดถอยขั้นรุนแรง จนเรียกได้ว่าเป็น “วิกฤติเศรษฐกิจ” ที่อาจหนักกว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 เสียอีก หรือแม้กระทั่งในช่วงนี้ที่วิกฤต COVID-19 ยังไม่ฟื้นฟูเต็มที่ดีก็เห็นได้ประปรายว่าการลดกำลังการผลิต หรือการลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอดของบริษัท สิ่งที่เราสามารถเตรียมตัวในช่วงนี้ได้อาจจะเป็นเรื่องการวางมาตรการนโยบายบริหารบริษัทใหม่ ให้รองรับการมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นต่อการบริหารในต้นทุนที่จำกัด และการกลับมาทบทวนระบบการทำงานขององค์กร ตัดงบที่ไม่จำเป็น ลงทุนในส่วนที่ต่อยอดและส่งผลกับความเติบโตต่อบริษัทในระยะยาว

ไม่ว่าจะเป็น Contactless Society (สังคมลดการสัมผัส) หรือ Digital Transformation หรือ Cost Reduction (การลดต้นทุน) สิ่งที่จะมาเป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็คือ “อินเตอร์เน็ต” ซึ่งต่อไป “อินเตอร์เน็ต” อาจไม่ใช่แค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้นแต่อาจกลายเป็นทั้งหมดของชีวิตไปเลยก็ได้ เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ผู้ประกอบการก็ย่อมต้องปรับตัวตามและเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการโดยใช้อินเตอร์เน็ต และออนไลน์เป็นหลักมากขึ้น ทำให้ต่อจากนี้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation มากขึ้นอย่างเร่งด่วน แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งนโยบาย รูปแบบบริหาร หรือขั้นตอนการทำงานของพนักงานใหม่หมด  ซึ่งก็จะทำให้ทุกคนในองค์กรได้รับผลกระทบ แต่การเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ให้สอดรับกับสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ หากไม่ทำก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอดต่อไปได้ แต่หากองค์กรไหนดำเนินการได้รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้มูลค่ากับการบริหารองค์กรในระยะยาวได้แน่นอน 

Teachme Biz Sample Manual: CLICK HERE

รู้แบบนี้แล้วไม่ต้องรอช้าควรปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการเพื่อให้รองรับพฤติกรรมเหล่านี้ได้เลยเนื่องจากล้วนแต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแล้วและเป็นจุดเริ่มต้นของ New normal ต่อไป ดังนั้นยิ่งเริ่มลงมือดำเนินการได้เร็วก็ยิ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจที่สุด

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This