OEM ตอบโจทย์การสร้างแบรนด์ในยุค 4.0 เพราะต้นทุนต่ำและแต่ละโรงงานมีวัสดุชิ้นส่วนหลากหลายให้ลูกค้าเลือก Customize เองได้ อย่างไรตามการที่โรงงานจะบริหารให้สร้างกำไรอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องมีการจัดการ Supply Chain ที่ดี กล่าวคือ องค์กรสามารถขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำไปสู่ลูกค้าปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการจัดการคลังสินค้า (Inventory management) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน Supply Chain หากโรงงานสต็อกวัตถุดิบมากเกินไปก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้ามีไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การผลิตล่าช้าลงเช่นกัน ดังนั้นธุรกิจ OEM จะแข็งแรงได้หากผู้บริหารรู้จักการสร้างสมดุลขององค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
เรามาดูตัว KPIs ชี้วัดเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังที่มีผลต่อ Supply Chain ของ OEM เพื่อประเมินศักยภาพของโรงงานกันค่ะ
1. ระดับสินค้าคงคลัง (Inventory Levels)
2. จำนวนวันที่สต็อกสินค้า (Inventory days of supply)
3. อายุสินค้าคงคลัง (Inventory aging)
4. เวลาที่ใช้ในการรอสินค้าจากซัพพลายเออร์ (Materials lead time)
5. การพยากรณ์ความแม่นยำของสินค้า (Forecast accuracy)
6. กำลังการผลิต (Capacity utilization)
7. ยอดขาย (Asset turns)
เมื่อเราทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว Teachme Biz ขอเสนอเทคนิคการปรับปรุง Supply Chain เพื่อเป็นแนวทางให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงาน OEM มากขึ้น
ลดเวลาการทำงานเพื่อนำสินค้าออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด (Reduce time to market )
รายได้จากการผลิตของบริษัทนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วของการส่งมอบผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า เพื่อที่จะให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างฉับไว บริษัท OEM มีการดำเนินงานที่ซับซ้อนตั้งแต่การวางแผนรวม การออกแบบสินค้า การดำเนินงานผลิต และขนส่งสินค้า เนื่องจากงานทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายแผนก เพื่อให้ทุกแผนกสามารถทำงานต่อเนื่องกันและสร้างข้อผิดพลาดที่น้อยที่สุด โรงงานควรมีระบบการจัดการทำงานที่ดี แก้ปัญหาการสื่อสารข้อมูลและกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เป็นคอขวด ลดการสื่อสารผ่านตัวอักษรและสเปรดชีตที่ฟุ่มเฟือย ขับเคลื่อนให้สินค้าออกขายสู่ตลาดได้เร็วที่สุด
ลดสินค้าคงคลังและคาดการณ์อย่างชาญฉลาด (Reduce Inventory And Forecast Smarter)
การลดขนาดคลังสินค้าให้น้อยลงจะช่วยให้คุณประหยัดต้นทุน โดยใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) คือ การดำเนินการโดยปราศจากความสูญเสียในทุกๆ กระบวนการทำงาน สามารถปรับตัวและตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งโดยมุ่งเน้นที่จะ
– ลดการเก็บวัตถุดิบคงคลังที่ไม่จำเป็น
– ลดขนาดพื้นที่ของคลังสินค้า เพื่อนำพื้นที่ไปใช้สอยให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น
– ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ที่มีคลังสินค้าให้คุณ
– ซัพพลายเออร์สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดอย่างรวดเร็ว
– คาดการณ์ตัวชี้วัดร่วมกับซัพพลายเออร์ ป้องกันการเสียโอกาสทางการขายและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลาย