062-295−6588 contact-th@studist.co.th
รวมวิธีกำจัด Human Error

ถ้าให้ทุกคนลองจินตนาการถึงเพื่อนร่วมงานที่เป็น เพอร์เฟคชั่นนิสต์ (Perfectionist) แล้วล่ะก็ คงจะคิดถึงความสมบูรณ์แบบที่พวกเขามี จะทำอะไรก็ต้องเป๊ะไปซะหมด ห้ามมีข้อผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้ในโลกแห่งความจริงจะเป็นไปได้ยาก แต่ชาวเพอร์เฟคชั่นนิสต์ก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำทุกอย่าง ให้สมบูรณ์แบบต่อไปอยู่ดี  ซึ่งลักษณะนิสัยแบบนี้นี่เองที่บางครั้งก็สร้าง ‘ความรำคาญ’ ให้กับคนรอบตัวได้ หรืออาจสร้างความหงุดหงิดแก่เพื่อร่วมงานอยู่บ่อยๆ ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายควรทำคือลองปรับตัวเข้าหากัน และหาแนวทางทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขกันทุกฝ่าย ก็จะเป็นผลดีต่อองค์กรมากที่สุด

Perfectionist มีลักษณะอย่างไร?

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Perfection ที่แปลว่า ความสมบูรณ์แบบ ดังนั้นแล้วผู้ที่มีความเป็น Perfectionist ก็หมายถึง คนที่หลงรักในความสมบูรณ์แบบ ซึ่งแน่นอนว่าความผิดพลาด ความล้มเหลว หรือได้รับคำตำหนิ คือสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการเผชิญเลย ทำให้นิสัยอย่างหนึ่งที่โดดเด่นของคนกลุ่มนี้ก็คือ เขามักจะดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังเสมอในทุกเรื่องรอบตัว โดยปัจจัยที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็น เพอร์เฟคชั่นนิสต์ ได้นั้นอาจมาจาก 3 สาเหตุหลักๆ คือ วัยเด็กได้รับคำชมมากเกินไป ครอบครัวคาดหวังสูง และคนรอบตัวไม่ใส่ใจ

นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกอย่างแรงกดดันจากการอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูง และอิทธิพลของการใช้ Social Media ทำให้ผู้คนยุคนี้มีแนวโน้มที่จะเป็น Perfectionist สูงขึ้น เนื่องจากต้องการการยอมรับจากผู้อื่นนั่นเอง

สรุปข้อมูล SOP Online

นักจิตวิทยาแบ่งลักษณะของ Perfectionist เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Self-Oriented Perfectionism

คือผู้ที่ตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้ตัวเอง สำหรับคนกลุ่มนี้แล้วความเป๊ะของตัวเองคือที่สุด! จะรักความสมบูรณ์แบบเฉพาะกับตัวเองเท่านั้น จึงไม่ค่อยกระทบไปถึงคนอื่นเท่าไหร่

2. Other-Oriented Perfectionism

คือผู้ที่ตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้คนรอบข้าง อย่างเพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัว คนกลุ่มนี้แทนที่จะคาดหวังกับตัวเองแต่ดันไปตั้งความคาดหวังไว้กับคนอื่นเสียอย่างนั้น ชอบเอาคนอื่นไปวัดกับมาตรฐานที่ตัวเองยึดมั่นเชื่อมั่น เรียกได้ว่าเป็น เพอร์เฟคชั่นนิสต์ ที่เริ่มกระทบต่อผู้อื่น ทำให้ทำงานกับคนอื่นได้ยาก หรืออาจจะไม่ค่อยมีเพื่อน

Perfectionism

หากมีคนประเภท Other-Oriented Perfectionism ในองค์กร ควรจัดประเภทงานให้เหมาะสมกับคนเหล่านี้

3. Socially-Prescribed Perfectionism

คือผู้ที่เชื่อว่าหากตัวเองเป็นผู้ที่สมบูรณ์แบบตามความคาดหวังจะทำให้เป็นที่ยอมรับ เป็นกลุ่มที่ต้องการการยอมรับที่สุด โดยเชื่อว่าความสมบูรณ์แบบจะทำให้ทุกคนชอบใจ เป็นที่รักได้ ซึ่งแม้จะไม่ได้กระทบต่อคนอื่น แต่เจ้าตัวกลับได้รับผลไปเต็มๆ เพราะปฏิกิริยาจากคนอื่นนั่นมีผลต่อใจพวกเขามากๆ นั่นเอง

โดยทั่วไป Perfectionist มักมีลักษณะนิสัยดังต่อไปนี้

– คาดหวังหรือตั้งมาตรฐานในการทำงานหรือการทำสิ่งต่างๆ ไว้สูงเกินความเป็นจริง
– มักตั้งคำถามในแง่ลบเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองยังมีข้อผิดพลาดและทำสิ่งต่างๆ ได้ไม่สมบูรณ์แบบ
– หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดความล้มเหลว เช่น บ่ายเบี่ยงหรือปฏิเสธงานเพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำออกมาให้สมบูรณ์แบบได้
– ใช้เวลาทำสิ่งต่างๆ นานกว่าคนทั่วไป และมักเริ่มลงมือทำในวินาทีสุดท้ายก่อนจะถึงเวลาที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อแก้ตัวเมื่อผลงานมีข้อผิดพลาด
– ไม่เชื่อมั่นในการทำงานของผู้อื่น และมักหาจุดบกพร่องในสิ่งที่ผู้อื่นทำ
– ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกจริงๆ ได้อย่างตรงไปตรงมา
– ชอบควบคุมหรือบงการความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวัง

ข้อดี – ข้อเสีย ของ Perfectionist

ข้อดีของ Perfectionist คือมีความละเอียดรอบคอบมากกว่าใคร เนื่องจากต้องการให้งานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ตามนิสัยส่วนตัวนั่นเอง วางใจได้เลยว่าจะไม่มีพวกงานที่ทำแบบลวกๆ ผ่านๆ หลุดออกมาจากพวกเขาแน่นอน นอกจากนี้เพอร์เฟคชั่นนิสต์ยังทำทุกอย่างอย่างมีเป้าหมาย ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จสูง ถ้าในองค์กรคุณมีคนแบบนี้บอกเลยว่าเขาเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่น ความเป๊ะสูงสุดๆ จะเห็นได้ว่าหัวหน้างานส่วนใหญ่ก็มักเป็น Perfectionist

ส่วนข้อเสียนั้น อย่างแรกเลยคนที่หมกมุ่นกับความสมบูรณ์แบบมากๆ พอเจอกับความผิดพลาดมักจะทำใจไม่ได้ ปล่อยวางยาก ทำให้ต้องใช้ชีวิตภายใต้แรงกดดันตัวเองตลอดเวลา กลายเป็นความเครียดสะสม และส่งความน่าอึดอัดให้คนรอบตัวด้วย ทำให้ทำงานกับผู้อื่นได้ยากขึ้น ด้วยไม่มีความสุข รู้สึกกดดันตลอดเวลา อาจทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Perfectly Hidden Depression (PHD) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการซึมเศร้าที่มาจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่สุดโต่งในทางความคิด สรุปเร็วเกินไป ไม่ยืดหยุ่น และไม่เปิดใจ ยึดแต่ตัวเองเป็นบรรทัดฐาน

สาเหตุของ Human Error

จะเห็นได้ว่าในแง่ของการทำงานนั้นถ้าได้คนที่มีความ Perfectionist เข้ามารับผิดชอบ ย่อมช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างดี เพราะนิสัยที่รักความสมบูรณ์แบบนี่ล่ะ ที่เป็นเหมือนสารตั้งตนของคุณสมบัติที่องค์กรต้องการหลายอย่าง เช่น มีความรับผิดชอบ โฟกัสงานได้ ละเอียดรอบคอบ มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ดังนั้นคนประเภทนี้จะจับไปทำตำแหน่งอะไรก็ไม่เป็นปัญหา โดยเฉพาะตำแหน่งระดับหัวหน้าต่างๆ ผู้ดูแลโปรเจ็ค ผู้ควบคุมทีม ฯลฯ เพียงแต่ว่าอาจจะต้องวางสมดุลระหว่าง Perfectionist กับเพื่อร่วมงานให้ดี แน่นอนว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ถ้าทำได้ องค์กรนี่ล่ะที่จะได้รับประโยชน์เต็มๆ

ประโยชน์จากพนักงานที่เป็น Perfectionist! ช่วยเร่งเครื่องขับเคลื่อนองค์กรเต็มประสิทธิภาพ

งานสุดเพอร์เฟค รออยู่

คนที่เป็น Perfectionist มักตั้งเป้าหมายในการทำงานเสมอ และไม่ใช่แค่ตั้งเล่นๆ แต่พวกเขาจะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะไปสู่สิ่งที่คาดหวังไว้ให้จงได้ ด้วยความมุ่งมั่นที่แรงกล้านี้เองที่มักทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้พวกเขายังมีความละเอียดรอบคอบในการตรวจเช็กทุกอย่างเพื่อให้ไม่มีข้อผิดพลาด จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่างานที่ออกมานั่นก็ย่อมดีไม่มีที่ติทีเดียว

ทันกำหนดเวลาแน่นอน

ด้วยความกลัวการผิดพลาดเป็นที่สุด ชาวคนรักความสมบูรณ์แบบจึงไม่ยอมส่งงานช้าอย่างนอนแน่ เพราะการส่งงานเลยกำหนดถือเป็นความผิดใหญ่หลวงที่รับไม่ได้ Perfectionist มักมาพร้อมความรับผิดชอบสูงมาก มีการกำหนด Deadline ของแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบ Timeline โดยรวม และยังเผื่อเวลาไว้แก้ปัญหา เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดตามที่ตั้งใจไว้

พัฒนาสู่ความสมบูรณ์แบบ

ถ้าคุณต้องการพัฒนาอะไรสักอย่างในองค์กร หรืออยากทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไว้ใจให้ชาว Perfectionist ช่วยสร้างสรรค์ได้เลย ด้วยนิสัยที่ไม่ชอบความผิดพลาดนี่ล่ะ พวกเขาจึงสามารถค้นหาจุดอ่อนจุดด้อยต่างๆ ได้ดีมาก พร้อมด้วยความมุ่งมั่นในการทำงานและโฟกัสที่สูงมาก ดังนั้นการจะคิดค้นนวัตกรรมหรือวิธีการเพื่อมาแก้ปัญหานั้นๆ จึงไม่ใช่เรื่องยากเลย

เป็นผู้นำชั้นดี

ไม่ใช่แค่ดีแต่ต้องดีที่สุด! ด้วยทัศนคติแบบนี้นี่เองชาว Perfectionist จึงเหมาะกับการเป็นผู้นำอย่างมาก และมีความเป็นไปได้สูงที่พวกเขาจะเป็นส่วนที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาต่อไป เป็นพลังงานที่พร้อมจะแผ่ออกไปให้ทีมและคนรอบข้าง เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง ทั้งในแง่ของการไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ มีวินัยสูง และความมั่นใจที่จะนำทุกคนให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ขับเคลื่อนองค์กรเต็มประสิทธิภาพ!

เป๊ะ เนี้ยบ พร้อมทุกสถานการณ์

นอกจากเรื่องการทำงานแล้ว Perfectionist ยังมักให้ดูแลเสื้อผ้าหน้าผมของตัวเองเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าต้องเป๊ะ ต้องเนี้ยบในทุกสถานการณ์ บวกกับบุคลิกภาพที่ดูมั่นใจแล้ว ถ้าให้พวกเขาเป็นตัวแทนองค์กรรับรองว่าไม่ต้องเป็นห่วง จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเดินอยู่ในบริษัท หรือไปประชุมกับลูกค้าที่ไหน ก็สามารถสร้างความประทับใจให้กับคนที่พบเจอได้ไม่ยาก

    เทคนิคการใช้ความ Perfectionist ให้สุดปัง

    ไม่ว่าจะจับเพอร์เฟคชั่นนิสต์ไปวางที่ตำแหน่งไหนหรือหน้าที่อะไร พวกเขาก็จะรังสรรค์ผลงานตรงหน้าให้ออกมาดีที่สุดแน่ๆ ด้วยลักษณะนิสัยทั่วไปที่ค่อนข้างจะนำมาใช้ได้ดีกับการทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความละเอียดรอบคอบ การมีเป้าหมาย ความมุ่งมั่น แต่จะดีมากขึ้นถ้าสามารถปรับสักเล็กน้อย เพื่อให้กระทบต่อผู้อื่นน้อยลง สนุกกับงานได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพทำงานเพิ่มขึ้นด้วย

    Positive self talk

    โดยปกติคนที่มีความ Perfectionist จะติดคิดอะไรให้แง่ลบไปก่อนเพราะกลัวที่จะเกิดข้อผิดพลาดนั่นเอง พอติดนิสัยคิดลบบ่อยๆ ก็อาจทำให้เผลอแผ่พลังงานลบไปสู่ผู้คนรอบข้าง กลายเป็นคนที่ไม่น่าเข้าใกล้โดยไม่รู้ตัว เพื่อกำจัดรัศมีแง่ลบออกไป แนะนำให้ลองพูดเรื่องดีๆ กับตัวเองทุกวัน ให้กำลังใจตัวเอง พูดถึงข้อดีของตัวเอง ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ปรับให้กระบวนการคิดเป็นแง่บวกมากขึ้น

    ฝึก Flexible คิดให้ยืดหยุ่น

    อีกหนึ่งลักษณะนิสัยที่ทำให้คนรอบข้างส่ายหน้าหนีก็คือการชอบเอาความคิดตัวเองมาเป็นไม้บรรทัดวัดคนอื่น การที่ตึงมากเกินไป ทำอะไรเป็นลำดับขั้นมากไป ถึงแม้เจตนาจะดีอยากให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ แต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็ไม่ถือว่าดีที่สุดอยู่ดีเพราะฉะนั้นต้องมีความยืดหยุ่นบ้าง โดยดูจากความเหมาะสมและสถานการณ์นั้นๆ

      กำจัด Human_Error

      เป็น Perfectionist ได้ เพียงแค่ต้องมีควายืดหยุ่นในบางเรื่องด้วย

      ผ่อนคลายได้นะจำไว้ว่า Nobody Is Perfect

      ความเครียดคืออุปสรรคอันดับต้นๆ ของ Perfectionist ที่อาจทำให้ไปกระทบต่อเพื่อร่วมงาน รวมถึงรบกวนประสิทธิภาพในการทำงานด้วย ดังนั้นจึงควรฝึกที่จะ ให้อภัยตัวเองเมื่อเกิดความผิดพลาด นึกไว้เสมอว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้น เพื่อปรับปรุงจุดบกพร่องของตัวเองให้ดีขึ้น

        แม้ไม่มี Perfectionist ในองค์กร แต่ก็สามารถสร้างมาตรฐานการทำงานอย่างมืออาชีพได้

        การมี Perfectionist ในองค์กรไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะทำให้งาน Perfect ได้เสมอไป แต่การที่มีมาตรฐานการทำงานที่กำหนดชัดเจน พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงเพื่อตรวจสอบมาตรฐานนั้นๆ ได้ต่างหากที่จะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่าง Perfect ซึ่งสิ่งที่จะช่วยบันทึกและถ่ายทอดมาตรฐานการทำงานให้พนักงานได้อย่างง่ายๆ ก็คือคู่มือการทำงาน SOP หรือ Work Instruction นั่นเอง
        ประโยชน์ของการสร้างคู่มือการทำงาน SOP หรือ Work Instruction นั้น Teachme Biz ได้เคยกล่าวถึงไปบ้างแล้ว ตั้งแต่ SOP คืออะไร ทำไมทุกองค์กรต้องมี หรือ Online SOP คืออะไร ดีกว่า SOP แบบกระดาษอย่างไร เริ่มสร้างอย่างไร? ลองเช็คดูได้เลยค่ะ

        Teachme Biz คือแพลตฟอร์มสร้างคู่มือการทำงาน SOP และ Work Instruction แบบออนไลน์ ที่สามารถสร้างได้ง่ายที่สุด อำนวยความสะดวกให้พนักงานทุกระดับ แม้ไม่ต้องเป็น Perfectrionist ก็สามารถแชร์ know how ของตัวเองได้เพราะสามารถสร้างคู่มือได้ง่ายๆ ด้วยมือถือแค่เครื่องเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ Perfect ตั้งแต่ครั้งแรก เพราะการเข้าถึงง่ายของ Teachme Biz ทำให้สามารถปรับปรุง และพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ง่ายๆ ทุกที่ ทุกเวลา จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรเดินหน้าพัฒนาคุณภาพงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างดี

        Create SOP manual effectively

        Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

        ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

        Pin It on Pinterest

        Share This
        Optimized with PageSpeed Ninja