ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงกรณีศึกษา Case Study เรื่องการ Kaizen ของ “ไนกี้” กันไปแล้ว ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า กว่าจะยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้ก็มีแนวคิดที่น่าทึ่งและใช้ได้จริง วันนี้เราจะมาลองดูกันว่า Case Study ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราจะเป็นอย่างไร เป็นไปในแนวทางเดียวกันไหม ในชื่อบทที่ว่า “Kaizen Case Study ของ AISIN-AI เปลี่ยนแปลงเรื่องเล็ก ๆ เพื่อความยั่งยืน”
AISIN อีกบริษัทที่ทำธุรกิจในไทยและมี Kaizen ที่น่าสนใจอยู่ตลอด
บริษัท AISIN-AI (Thailand) จำกัด เป็นอีกบริษัทหนึ่งในประเทศไทยที่นำแนวคิดการ Kaizen มาใช้อยู่ตลอด โดยเคสวันนี้เป็นเรื่องราวน่าสนใจที่เกิดขึ้นในนิคมอุตสาหรกรรม Wellgrow จังหวัดฉะเชิงเทรา บริษัทนี้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนของยานยนต์ เช่น เกียร์, เครื่องตัด และยังผลิตเพื่อส่งออกอีกด้วย เคสนี้จะเป็นอีกเคสที่ทำให้เราได้เรียนรู้บนแวดล้อมของประเทศไทย ตามไปดูกันเลย
พัฒนา Kaizen โดยเน้นที่ความสะดวกของพนักงาน
บางครั้งพนักงานที่อยู่ในโรงงานอาจพบปัญหาที่ทำให้ปฏิบัติงานได้ยาก โดยที่พนักงานเองก็อาจจะยังไม่รู้ตัว ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกจุดที่สามารถพัฒนา Kaizen ได้เช่นกัน เช่น “พัฒนาการเคลื่อนที่ของพนักงานในโรงงาน” สถานการณ์โดยทั่วไปของพนักงานในโรงงาน บางส่วนอาจยืนอยู่บริเวณหน้างานทั้งวัน ในขณะที่พนักงานอีกกลุ่มจะเป็นผู้หยิบรับชิ้นส่วนจากไลน์ต่าง ๆ ไปส่งยังสถานีเป้าหมายเพื่อประกอบชิ้นส่วนต่อไป กรณีของบริษัท AISIN-AI คือพนักงานมีหน้าที่หยิบชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามใบงานจากไลน์การผลิตเฟืองเกียร์เพื่อไปส่งที่ไลน์การประกอบ ซึ่งปกติแล้ว 1 รอบนี้ พนักงานจะต้องเดินเป็นระยะทางประมาณ 150 เมตร และในทุก ๆ วัน จะต้องเดินกว่า 200 รอบ ที่เหนือกว่านั้นคือ การเข็นและหยุดรถเข็นสำหรับบรรทุกชิ้นส่วนที่หนักอึ้ง จะต้องหยุดและเคลื่อนที่ซ้ำ ๆ แบบนี้มากกว่า 1600 ครั้งใน 1 วัน ดู ๆ แล้วก็ดูเป็นงานปกติทั่วไป แต่ปัญหาที่พนักงานต้องเจอคือ การออกแรงเคลื่อนรถเข็นที่หนักนี้ แม้จะมีล้อของรถเข็น แต่ก็สร้างความเมื่อยล้าให้พนักงานมากขึ้นเมื่อทำงานไปหลายชั่วโมง เป็นผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาวได้
ความไม่สะดวกเกี่ยวข้องอย่างไรกับ ความสูญเปล่า
เราเคยพูดถึงเรื่องความสูญเปล่า 8 ประการกันไปแล้ว หนึ่งในนั้นคือ เรื่อง การเคลื่อนไหว (Motion) การเคลื่อนไหวของพนักงานเข็นรถเข็นนั้นไม่ใช่เรื่องความสูญเปล่าโดยตรง เพราะเกิดคุณค่าคือนำส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ สู่ไลน์การประกอบเฟืองได้ แต่สิ่งที่เป็นความสูญเปล่าคือ ความหนัก และฝืด ของรถเข็นที่ทำให้พนักงานเสียแรงในการหยุดและเคลื่อนที่ในแต่ละครั้ง ลองเปรียบเทียบในแบบอุดมคติที่ว่า หากรถเข็นนั้นไม่มีล้อแต่ลอยเหนือพื้น ทั้งยังไร้น้ำหนัก พนักงานจะทำงานได้สะดวก ลดความเมื่อยล้าได้ดีแค่ไหน
เปิดขั้นตอนการ Kaizen ช่วยพนักงานทำงานได้ดีขึ้นและเหนื่อยน้อยลง
เพื่อนำเสนอการ Kaizen ต่อหัวหน้างาน พนักงานมีขั้นตอนการทำ Kaizen ที่ชัดเจนดังนี้
1. วางแผนงานทั้งหมดรวมถึงงานย่อยต่าง ๆ เมื่อต้องทำ Kaizen
ขั้นตอนนี้นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เมื่อจะทำ Kaizen นั้น มีแผนในการทำอย่างไร จะเริ่มต้นเมื่อใด ทำอะไรบ้าง และจะสำเร็จลงเมื่อใด เพื่อให้หัวหน้างานเห็นภาพรวมทั้งหมดของการ Kaizen
2. ค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาของการเข็นรถของพนักงาน
แนวทางการแก้ปัญหา หรือ เนื้อหาของ Kaizen นั้น พนักงานอาจมีอยู่แล้วในใจ หรือปรึกษากับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เพื่อดูว่า ปัญหาและการแก้ไขเช่นไรน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
3. ออกแบบโซลูชันที่ใช้ทำ Kaizen
จะทำอย่างไรให้การเข็นและหยุดรถในแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อกลั่นกรองตกผลึกโซลูชันที่ต้องการได้แล้ว ก็ออกแบบในรายละเอียดว่าจะพัฒนาจุดใดในกรณีนี้ พอจะอธิบายให้เข้าใจภาพได้ง่ายดังนี้
หัวข้อ |
เนื้อหา |
การ Kaizen เรื่อง | รถเข็นในไลน์การประกอบชิ้นส่วนเฟืองเกียร์ |
จุดอ่อนที่ต้องการพัฒนา | พนักงานจะเมื่อยล้าเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากต้องเข็นรถที่หนักตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะการหยุดรถเข็นและเคลื่อนที่ |
แนวทาง Kaizen | สร้างชุดเบรกมือพร้อมตัวล็อกล้อ เพื่อลดการใช้แรงคนในการหยุดรถเข็น และล็อกล้อเพื่อไม่ให้รถเข็นเคลื่อนที่ลดการใช้มือจับรถป้องกันรถเข็นไหล ประกอบด้วย
|
4. นำเสนอผลที่รวบรวมมาทั้งหมดต่อหัวหน้างาน
นำเสนอแผน, ภาพรวม, รายละเอียดการ Kaizen ทั้งหมด ส่งให้หัวหน้างานเพื่อขออนุมัติ
แค่เพิ่มเบรกให้รถเข็น ก็ถือเป็นการ Kaizen เพื่อลดความสูญเปล่าได้
เพิ่มประสิทธภาพการ Kaizen โดยปรับใช้ไปทั่วองค์กร
จากจุดที่เล็กมาก ๆ อย่างการเข็นรถเข็นในไลน์การประกอบ ซึ่งถ้าไม่มองให้ดีก็แทบไม่คิดว่าจะ Kaizen อะไรได้แล้ว สู่ผลลัพธ์ที่นำมาปรับใช้ได้กับพนักงานทุกคน กรณีนี้คือการเสริมเบรกเข้าไปที่รถเข็นเพิ่มทั้งประสิทธิภาพในการหยุดรถเข็นและความปลอดภัย ไม่ให้รถเข็นไหลด้วย
การ Kaizen ครั้งนี้ถ้านำมาปรับใช้กับพนักงานเข็นรถทุกคน จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเล็กน้อย เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและคงไว้ซึ่งคุณภาพ มาตรฐานการส่งมอบชิ้นส่วนให้ได้ตามกำลังการผลิต
ขั้นตอนการทำงานก่อน Kaizen : ลองมาจำลองภาพการทำงานผ่าน SOP ว่า ก่อนและหลังจะมีกระบวนการเปลี่ยนไปอย่างไร
ก่อน Kaizen |
หลัง Kaizen |
1. เข็นรถเข็นไปยังไลน์การผลิตที่เสร็จแล้วเพื่อหยิบชิ้นงาน 2. หยิบชิ้นงานที่เสร็จแล้วลงในรถเข็น 3. จัดวางชิ้นส่วนตามลำดับการส่งมอบ 4. ทำซ้ำข้อ 1-3 จนครบตามจำนวนในใบงาน 5. เคลื่อนรถเข็นสู่ไลน์การประกอบ *จะเห็นว่ายังไม่มีขั้นตอนการหยุดรถด้วยเบรก และล็อกล้อ |
1. เข็นรถเข็นไปยังไลน์การผลิตที่เสร็จแล้วเพื่อหยิบชิ้นงาน 2. เบรกเพื่อให้รถเข็นหยุด 3. ล็อกล้อ 4. หยิบชิ้นงานที่เสร็จแล้วลงในรถเข็น 5. จัดวางชิ้นส่วนตามลำดับการส่งมอบ 6. ปลดล็อกล้อ 7. ทำซ้ำข้อ 1-4 จนครบตามจำนวนในใบงาน 8. เคลื่อนรถเข็นสู่ไลน์การประกอบ *เพื่อให้การใช้งานเบรกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับขั้นตอน SOP ให้ชัดเจนขึ้นได้ดังขั้นตอนข้างต้น |
Kaizen เรื่องที่องค์กรใด ๆ ก็เริ่มต้นได้
จาก Case Study ทำให้เราเห็นว่าแม้การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวได้ ในกรณีนี้คือความเมื่อยล้าของพนักงานลดลงทั้งระบบ การ Kaizen นี้เองที่ทำให้ขั้นตอนการทำงานเปลี่ยนไป แต่นั่นก็เพื่อให้พนักงานสะดวกในการทำงานมากขึ้น เป็นสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างได้ผลลัพธ์ที่ดีแบบ Win-win Situation พนักงานวินที่ใช้แรงน้อยลง บริษัทก็วินที่มีพนักงานเต็มใจทำงานให้ เป็นผลดีต่อทรัพยากรบุคคลในระยะยาว การสื่อสารให้พนักงานเข้าใจขั้นตอนการทำงานใหม่นั้น ๆ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจึงเป็นคีย์สำคัญของการทำ Kaizen ด้วย
การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนนี้เองที่ Teachme Biz แพลตฟอร์มการสร้างคู่มือการทำงานออนไลน์ สามารถเข้ามามีบทบาทให้ทุกกระบวนการ Kaizen เปลี่ยนผ่านไปสู่ขั้นตอนการทำงานที่ดีได้ราบรื่นขึ้น เพราะแพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้เปลี่นแปลง แก้ไข และแชร์ต่อทั้งองค์กรได้ง่าย บริษัทของคุณก็เริ่มการ Kaizen ง่าย ๆ แบบนี้ไปกับ TeachmeBiz ได้เช่นกัน
Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ
ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !