ในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก ส่วนใหญ่มักมี DNA ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือที่เข้าใจกันด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า Kaizen (ไคเซ็น) ซึ่ง Teachme Biz เราก็พูดถึงเรื่องนี้กันอยู่สม่ำเสมอเช่นกัน คำๆ เดียวอย่าง Kaizen นี้ก็ได้ครอบคลุมหลักการทำงานดีๆ ไว้มากมาย เช่น การค้นหาสาเหตุของปัญหา ปัญหาในกระบวนการ หรือปัญหาในธุรกิจ เพื่อหาหนทางแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือถึงแม้กรณีที่ยังไม่ใช่ปัญหา ก็พยายามที่จะหาโอกาสที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นไปเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
วันนี้ Teachme Biz จึงจะพามาดู Case Study ที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจ ของบริษัทที่โด่งดังระดับโลกอย่าง NIKE ว่าเขานำหัวใจสำคัญของการทำงาน “Kaizen” มาใช้ได้ดีอย่างไร แม้พวกเขา ไม่ใช่คนญี่ปุ่นก็ตาม ในบทที่ว่า “เปิด Kaizen Case Study NIKE ที่นำ Kaizen มาใช้จนสำเร็จเป็นตำนาน”
1. จุดเริ่มต้นถึงปัจจุบันของไนกี้ (NIKE) ที่คุณอาจไม่เคยรู้
บริษัท NIKE ก่อตั้งขึ้นในปี 1964 ซึ่งถึงวันนี้ก็เกินกว่าครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้ว จากผู้ก่อตั้งทั้งสองคนคือ Bill Bowerman และ Phil Knight นับว่าเป็นบริษัทที่เก่าแก่บริษัทหนึ่งที่ยังคงทำรายได้อย่างมากมายถึงปัจจุบัน น้อยคนนักที่อาจจะรู้ว่าแรกเริ่มนั้น ไนกี้เริ่มต้นโดยการนำเข้ารองเท้าที่คนไทยรู้จักกันดีในแบรนด์ Onitsuka Tiger ของญี่ปุ่นเข้ามาขาย และเปลี่ยนชื่อเป็น NIKE เพื่อทำตลาด ในปี 1971 ในปี 1980 ไม่เพียงแต่ตัวสินค้าเท่านั้น NIKE เริ่มโฟกัสที่การทำตลาดและ Branding มากขึ้น จนปัจจุบันมีการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ และกลายเป็นบริษัทด้านรองเท้าและเครื่องแต่งกายด้านกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดบริษัทหนึ่งในปัจจุบัน NIKE มีวันนี้ได้ไม่ใช่เพราะโชคช่วยแต่เป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในทุกมิติของการทำธุรกิจ วันนี้เราจะมาดูการพัฒนา ที่มาในรูปแบบของ Kaizen ว่ามีสิ่งให้เราเรียนรู้ได้อย่างไร
2. วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จ
ถ้าเราคิดแค่ว่า “ของมันยังขายได้” หรือ “ของมันก็ขายได้เรื่อยๆ” เช่นนี้แล้ว วันหนึ่งคู่แข่งที่มีแนวคิด Kaizen ก็คงเอาชนะเราได้สักวัน เพราะเขาพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในขณะที่เรายังคงอยู่กับที่ แม้ในวันนี้จะยังนำคู่แข่งแต่อนาคตข้างหน้านั้นไม่แน่ เกมธุรกิจจึงเป็นการมองเกมยาวที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้เป็นสิบถึงร้อยปี NIKE เข้าใจจุดนี้ดี จึงเริ่มนำแนวคิด “Kaizen” เข้ามาใช้ เพื่อเป็นหลักยึดที่จะพาแบรนด์ก้าวไปข้างหน้าทิ้งคู่แข่งไว้เบื้องหลัง โดยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนอยู่หลักๆ ด้วยกัน 2 ข้อคือ
- ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน (Make Today Better)
- ออกแบบอนาคตด้วยตัวเอง (Design The Future)
วิสัยทัศน์ที่เรียบง่ายที่ตั้งใจจะทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานในทุกๆ วัน ทำให้พนักงานทุกคนมีเป้าหมายในการพัฒนาอยู่เสมอ และเป็นจุดกำเนิดของการทำ Kaizen ของทุกกระบวนการในบริษัท NIKE จนถึงปัจจุบัน
3. หัวใจสำคัญแห่งการ Kaizen ที่ขาดไม่ได้ ของ NIKE
เมื่อพูดถึงการทำงานของ NIKE สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ Lean Manufacturing หรือเข้าใจอย่างง่ายๆ ว่ามันคือแนวคิดในการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้มากที่สุด ในขณะที่ทำให้บริษัทเกิด Waste หรือความสูญเปล่าน้อยที่สุด แต่จากนิยามนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างบริษัทและกลุ่มพนักงาน จึงเป็นชนวนเหตุของวิกฤตการแบนสินค้าของ NIKE ในช่วงยุค 90
-
แนวคิดแบบ Lean แต่ทำให้มีปัญหากับพนักงาน เพราะอะไร ?
ในช่วงยุค 90 ที่ NIKE ได้พยายามจะลดความสูญเปล่าตามแนวคิดของ Lean Manufacturing โดยมุ่งหมายไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต แต่กลับกลายเป็นการนำ Lean มาใช้โดยมุ่งไปที่เป้าหมายแต่เพียงอย่างเดียวจนลืมมองแวดล้อมรอบข้างไป และนำมาซึ่งการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานแก่พนักงานของ NIKE เช่น เรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ การทำงานล่วงเวลา และวันลาหยุดต่างๆ ทำให้เรื่องเลยเถิดมาถึงการประท้วงออกสื่อ และการคว่ำบาตรกับ NIKE ของลูกค้าในที่สุด เรียกได้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนสำคัญบทหนึ่งของหน้าอุตสาหกรรมการค้าในยุคนั้นที่พนักงาน และผู้บริโภคสามารถต่อกรกับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ เรื่องนี้ทำให้เราเรียนรู้ว่า เราจะ Kaizen โดยทิ้งอย่างอื่นไว้เบื้องหลังไม่ได้ รายได้และผลกำไรของบริษัทสำคัญก็จริง แต่ฟันเฟืองทุกฟันเฟืองในบริษัท หรือก็คือพนักงานนั้น ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะปราศจากพวกเขาบริษัทก็มิอาจเดินหน้าต่อไปได้
จากเหตุการณ์ดังกล่าวแนวคิด Lean ที่ถูกนำมาใช้ก็มีการพัฒนาต่อเช่นกัน ว่าไม่ได้มุ่งแต่จะคิดเรื่องประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่าเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงองค์รวมด้วย เช่น หากจะให้พนักงานทำงานประกอบชิ้นส่วนย่อยส่วนเดียวซ้ำๆ ก็ Up Skill พนักงานด้วยการเปลี่ยนเป็นให้เรียนรู้ทักษะและเข้าใจการประกอบสินค้าทั้งชิ้นไปเลย นอกจากนั้นยังให้เกียรติพนักงานด้วยการให้ร่วมควบคุมคุณภาพของชิ้นงานและวิธีการทำงานรวมไปถึงร่วมปรับปรุงการผลิต และ สภาพการทำงานโดยรวมด้วย ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในหน้าที่ของตนเองมากยิ่งขึ้น
พนักงานเป็นหนึ่งในผู้ที่องค์กรมิอาจทิ้งไว้เบื้องหลัง
-
การเปลี่ยนแปลงที่ดี พนักงานจึงยากจะปฏิเสธ
จากเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ Lean การคว่ำบาตร ไปจนถึงการกลับมาวินกันทุกฝ่าย ทุกอย่างเริ่มจาก Kaizen ที่พร้อมจะพาทั้งองค์กรไปถึงจุดที่ดีกว่าด้วยกันตามแนวคิดของ NIKE เองที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน (Make Today Better)” แม้พนักงานจะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากที่เคยชินและเชี่ยวชาญกับวิธีการทำงานเดิมแล้ว ต้องมาปรับเปลี่ยนสร้างความคุ้นเคยกันใหม่ พนักงานก็เต็มใจที่จะทำ เพราะตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้ทักษะที่มากขึ้น มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนต่อไป
4. ความยั่งยืนและคู่ค้าเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจของ NIKE ได้อย่างไร
NIKE ไม่ได้เดินทางในสนามการค้าเพียงลำพังหากแต่มีกองกำลังสนับสนุนอยู่บนถนนธุรกิจ หันกลับมามองที่ตัวเราเองหากเราไม่คิดอะไรมากมาย การทำธุรกิจเราไม่สามารถผลิตสินค้าทั้งชิ้นได้จากระดับวัตถุดิบ เช่น หากเราทำธุรกิจขายรองเท้า เราคงไม่ผลิตยางขึ้นมาเอง เพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนได้เร็วและต้นทุนต่ำเราจะเลือกซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าที่จะร่วมเป็นผู้นำส่งวัตถุดิบให้กับเราแทน หากเจ้าไหนให้ราคาดีบนมาตรฐานที่เราต้องการเราก็เลือกเจ้านั้น มองกลับไปที่ NIKE เขามีการ Kaizen ไปอีกขั้นคือ
-
จัดระเบียบและมาตรฐานของคู่ค้าเพื่อความยั่งยืน
การแบ่งระดับของซัพพลายเออร์ออกเป็นชั้นๆ ตามเกรด โดยใช้สีแทนระดับมาตรฐาน ตั้งแต่ สีแดง สีเหลือง สีทองแดง สีเงิน ไปจนถึงสีทอง โดยที่สีแดงคือซัพพลายเออร์ที่ไม่สามารถส่งวัตถุดิบให้กับ NIKE ได้ตามมาตรฐาน ส่วนผู้ที่ทำได้ตามมาตรฐานและยอมรับได้ต้องเป็นระดับสีทองแดงขึ้นไป และสุดท้ายสีทองคือซัพพลายเออร์ทำได้ตามมาตรฐานสูงสุดทุกอย่าง อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่ตั้งมาตรฐานและเลือกซัพพลายเออร์เท่านั้น แต่ NIKE ยังลงไปช่วยให้ความรู้และร่วมมือกับซัพพลายเออร์ให้สามารถผลิตวัตถุดิบมาตอบโจทย์คุณภาพหรือมาตรฐานที่ NIKE ได้ตั้งเอาไว้ และยกระดับซัพพลายเออร์ต่างๆให้มีมาตรฐานเกินระดับสีทองแดงให้ได้มากขึ้น ๆ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการ Kaizen ให้กับซัพพลายเออร์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้ง NIKE จะได้ซัพพลายเออร์ที่ดีในระยะยาว ซัพพลายเออร์ก็มีรายได้เข้ามาไม่ขาดสาย เป็น Win-Win Situation ที่ยั่งยืนในธุรกิจ
-
ถ่ายทอดความรู้การ Kaizen ข้ามบริษัท ยกระดับความแข็งแกร่งธุรกิจ
การถ่ายทอดความรู้ในการทำงานไม่ได้เกิดขึ้นในบริษัท NIKE อย่างเดียว แต่ NIKE ถ่ายทอดข้ามไปถึงซัพพลายเออร์อย่างจริงจังในหลากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยของเราก็รวมอยู่ด้วยเช่นกัน โดยหลักการของ NIKE มีดังนี้
STEP1: เฟ้นหา คัดเลือก และเชื้อเชิญ
NIKE เลือกและเชิญบริษัทซัพพลายเออร์เข้าร่วมโปรแกรมการเทรนนิ่ง (ส่วนใหญ่เน้นบริษัทที่เป็นคู่ค้ากันมาอย่างยาวนานและมีคุณภาพ)
ผลตอบรับ: ซัพพลายเออร์ให้คำมั่นสัญญาในการปฏิบัติตามโปรแกรมเทรนนิ่งสำหรับโรงงานของพวกเขา และเข้าร่วมการเทรนนิ่งอย่างจริงจัง
STEP2: 8 สัปดาห์แห่งการเทรนนิ่ง
NIKE วางโปรแกรมเวลาที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปสำหรับการอบรมพนักงานระดับผู้จัดการไปยังบริษัทซัพพลายเออร์ต่างๆ
ผลตอบรับ: ด้วยการช่วยเหลือจาก NIKE ซัพพลายเออร์ต่างๆ วางแผนในการปรับปรุงสไตล์การทำงาน กระบวนการทำงาน ในโรงงานของพวกเขา
STEP3: ซัพพลายเออร์ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน
ซัพพลายเออร์นำผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้จริงที่หน้างานของตัวเอง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่ NIKE คาดหวังเอาไว้
ผลตอบรับ: NIKE ตรวจสอบการนำผลการเทรนนิ่งไปใช้ของโรงงานต่างๆ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการ Kaizen ครั้งนี้
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
เคสที่เกิดขึ้นจริงของ NIKE ในช่วงปี 2010-2011 จากที่ NIKE อบรมให้กับซัพพลายเออร์ กระจายความรู้ไปทั้งทั่วองค์กรแล้ว ทำให้ได้ผลลัพธ์ดังนี้
- ลดชิ้นงานที่บกพร่องลง 50%
- ใช้เวลาในการส่งมอบเร็วขึ้น 40%
- ได้ผลรวมของประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 20%
- ลดเวลาในการนำเสนอสินค้าใหม่สู่ตลาดได้ 30%
นับเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากต่อภาพรวมธุรกิจ โดยเริ่มจากการ Kaizen ถ่ายทอด และนำไปประยุกต์ใช้ เป็นความเรียบง่ายที่คุ้มค่าระดับตำนานของ NIKE เลยก็ว่าได้
คู่ค้าทางธุรกิจ มีส่วนช่วยให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าเมื่อ Kaizen ร่วมกัน
5. เชื่อหรือไม่ การ Kaizen ขององค์กรระดับโลกแบบนี้ พวกเราก็ทำได้
จาก Case Study นี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การ Kaizen นั้นสำคัญอย่างไม่ต้องสงสัย และเชื่อมโยงไปถึง…
- ตัวพนักงานที่เราไม่สามารถทิ้งพวกเขาไว้เบื้องหลังโดยมุ่งเน้นแต่ผลกำไรได้
- อีกประการหนึ่งคือการถ่ายทอดความรู้ความสามารถไปยังคู่ค้าต่างๆที่ค้าขายกันมายาวนาน
ทั้งหมดนี้ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ วิธีการทำงานให้ดีขึ้น และการปรับปรุงวิธีทำงาน ขั้นตอนการทำงานในยุคดิจิทัลนี้ไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเมื่อครั้งยุค 90 เช่น NIKE ในเวลานั้นแล้ว
วันนี้เรามี Teachme Biz แพลตฟอร์มสร้างและจัดการคู่มือการทำงานออนไลน์ ที่เหมาะกับการ Kaizen เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น การสื่อสารให้พนักงานเข้าใจขั้นตอนการทำงานใหม่นั้นๆ จะทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น ให้พนักงานมีส่วนในการอัปเดตขั้นตอนการทำงานใหม่ๆ แล้วให้หัวหน้าตรวจสอบอนุมัติ หรือให้พนักงานลองสร้างคู่มือการทำงานขึ้นมาเองก็เป็นการตรวจสอบความเข้าใจของพนักงานได้ด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนทำได้จริงใน Teachme Biz แถมยังง่าย เพราะถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบ Visual-Based ทั้งภาพ เสียง วิดีโอ ราวกับมีคนมาคอยบอกข้างๆ คุณเองก็เริ่ม Kaizen ไปกับ Teachme Biz ได้แล้ววันนี้
อ้างอิง:
[1] Gemba (2016). How Nike Used Lean to Solve its Sweatshop Problem, October 31, 2016, from https://thegemba.com/article/how-nike-used-lean-manufacturing
[2] Case study (NIKE): Smart lessons on designing enterprise level interventions promoting productivity and working conditions in SMEs 15 June 2017, from https://www.ilo.org/jakarta/WCMS_565091/lang–en/index.htm
[3] OpEx Learning Team, 29 May 2014, from https://opexlearning.com/resources/nike-lean-manufacturing-example-good-policy-deployment/13755/
Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ
ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !