062-295−6588 contact-th@studist.co.th
Agile header

Teachme Biz เคยพูดถึง “Agile” ไปแล้วก่อนหน้านี้ (อ่านบทแรกที่นี่) ว่า Agile ช่วยให้เกิดการสื่อสารกันในองค์กรมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อน และเห็นผลงานแม้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เพื่อให้แก้ไขได้ทันหากมีข้อผิดพลาด ซึ่งแนวคิดนี้ได้มีการนำมาผนวกรวมกับการทำ Digital Transformation ในองค์กรกันอย่างชนิดแยกกันไม่ได้ 

องค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง GE (General Electric) ในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า พวกเขาเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบริษัทเชิงดิจิทัลได้ราบรื่นด้วยการนำแนวคิด Agile มาผสานเข้าไว้ด้วย และมหาวิทยาลัย MIT ในสหรัฐอเมริกาก็รายงานว่าบริษัทที่มีแนวคิดแบบ Agile สร้างกำไรได้เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้ใช้แนวคิด Agile วันนี้เรามาดูความสัมพันธ์ของทั้ง Agile และ Digital Transformation กัน

ความสัมพันธ์ของ Agile ต่อ Digital Transformation

Digital Transformation สร้างข้อดีทั้ง 3 ด้าน คือคุณค่าใหม่ต่อทั้งกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร ต่อวัฒนธรรมของคนในองค์กร และต่อประสบการณ์ของลูกค้า แต่ผู้ที่จะทำ Digital Transformationได้สำเร็จอย่างรวดเร็วและราบรื่น มักนำ Agile เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย เพราะ Agile เป็นวิธีที่เหมาะในการเร่งความเร็วของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เนื่องจากเน้นที่การส่งผ่านคุณค่าให้รวดเร็วลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการ เปรียบดังวัตถุดิบอาหารชั้นยอด = Digital Transformation ผสานเชฟฝีมือดี = Agile จึงออกมาเป็นเมนูที่แสนอร่อยให้รับประทานได้ทันใจนั่นเอง

Agile_Transformation

แนวคิด Agile เร่งความเร็วในการ Digital Transformation

เหตุผลที่ทำให้ Agileเป็นแนวคิดที่เหมาะจะนำมาใช้ร่วมกับ Digital Transformation เพราะ

1. Agile ทำให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เพราะความต้องการของลูกค้ารวมถึงประสบการณ์ของลูกค้าบนธุรกิจดิจิทัลเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ถ้าลูกค้ายังไม่พอใจ การปรับปรุงสินค้าและบริกาให้เร็วจะดึงดูดลูกค้าไว้ได้ ซึ่งนี่ถือเป็นแนวคิดหลักของ Agile อยู่แล้ว ที่จะส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าได้เห็น และเตรียมพร้อมที่จะแก้ไขในจุดที่ยังไม่สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว

2. Agile ขับเคลื่อนวัฒนธรรมได้กว้างทั้งองค์กร หากทั้งองค์กรตกลงใจร่วมกันว่าจะนำแนวคิด Agile มาใช้ ทุกฟันเฟืองขององค์กรที่หมุนเร็วด้วยตัวเองอยู่แล้วจะยิ่งหมุนต่อกันได้เร็วขึ้นอีกเพราะทุกคนก้าวได้เร็วพร้อมๆ กัน ต่างกับแนวคิดดั้งเดิมที่ต่อให้คนที่เร็วที่สุดพยายามอย่างไร องค์กรก็จะเดินไปข้างหน้าด้วยความเร็วของคนที่เดินช้าที่สุด

นำ Agile มาใช้ในการทำ Digital Transformation อย่างไร

หลักในการนำแนวคิด Agile มาใช้ในการทำ Digital Transformation สามารถทำได้ 6 ขั้นตอนดังนี้ 

1. ประเมินสถานกาณ์ปัจจุบัน: ในที่นี้คือการนำเอาโมเดลทางธุรกิจปัจจุบัน แผนการตลาด และขั้นตอนการทำงานในกระบวนการต่างๆ ขององค์กรมาประเมินว่า ณ ปัจจุบันองค์กรของเราอยู่ใกล้เคียง Digital Transformation เพียงใด จะนำดิจิทัลเข้ามาช่วยองค์กรหรือมีเทคโนโลยีอะไรที่ทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ รวมถึงเข้าใจทั้งองค์กร ลูกค้า และคู่แข่ง วิเคราะห์หาช่องทางดิจิทัลที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้และยังตอบโจทย์เป้าหมายการทำธุรกิจ 

2. ค้นหา: เมื่อเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจึงรวบรวมข้อมูล พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อยอดขาย แล้ววิเคราะห์จากข้อมูลเหล่านั้นว่าเหตุการณ์ต่างๆ ส่งผลต่อยอดขายอย่างไร องค์กรยังขาดคุณค่าทางดิจิทัลใดที่เติมเต็มความต้องการลูกค้าได้

3. กำหนด: กำหนดเกณฑ์การประเมินผล ทั้งเรื่องเวลา และการวัดผลความสำเร็จ พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่จะนำเอาเทคโนโลยีและข้อมูลทางดิจิทัลมาใช้ว่าจะทำให้เกิดคุณค่าอย่างไร

4. สร้าง: ลงมือสร้างแบบจำลองหรือ Pilot Project เพื่อทดสอบแผนกลยุทธ์ทางดิจิทัลอันใหม่ ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ โดยอาจจะเริ่มจากโครงการเล็กๆ ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่ายก่อน

5. ทดสอบ: ทดสอบโครงการที่เริ่มต้นใหม่นี้ เพื่อดูว่ามีตัวแปรใดที่มีบทบาทในการวางกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่ยุคดิจิทัล กระบวนการใดที่แทบไม่เกิดคุณค่าใหม่ กระบวนการใดที่มีเสียงตอบรับดี เสียงตอบรับที่ไม่ดีจากลูกค้าเป็นอย่างไร เป็นต้

6. ปรับปรุง: เมื่อได้ผลจากการทดสอบแล้วให้นำมาวิเคราะห์โดยเริ่มจากข้อแรกอีกครั้ง เพื่อหาจุดบกพร่อง ปรับปรุง และนำข้อมูล (Data) ที่ได้จากการทำในรอบปัจจุบันมาใช้ในรอบต่อไป

ทั้ง 6 ขั้นตอนนี้ สามารถวางกรอบของเวลาให้ไม่ยาวนานจนเกินไป เพื่อให้ได้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว แต่ก็ไม่สั้นเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ รวมถึงจำเป็นต้องนำข้อมูล (Data) เชิงดิจิทัลมาใช้ในการวิเคราะห์แต่ละรอบด้วย

ปัญหาและตัวอย่างการแก้ไขที่หลายองค์กรเจอเมื่อทำ Digital Transformation 

แม้รู้ว่า Agile สำคัญต่อการทำ Digital Transformation แต่เมื่อลองปฏิบัติจริงก็เป็นไปได้ที่จะติดปัญหาบางประการดังนี้ 

1. ไม่รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรแทนเครื่องมือเดิม: เทคโนโลยีมีมากมายแต่สิ่งใดที่จะถูกนำมาใช้นั้น ยังทำให้หลายคนสับสน
2. ขาดเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลง: การลงทุนเทคโนโลยีใหม่บางเทคโนโลยีต้องใช้เงินตั้งต้นจำนวนมาก
3. พนักงานยังขาดความรู้หรือทักษะในเชิงดิจิทัล: เทคโนโลยีหลายๆ อย่างเป็นสิ่งที่หลายคนยังไม่คุ้นเคย ทำให้มีแนวโน้มที่จะไม่กระตือรือร้นเรื่องการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
4. การขาดกรอบการทำงานที่ชัดเจน: การตั้งเป้าหมายเรื่องกรอบเวลาไม่มีอะไรที่แน่ชัดจึงทำให้ผัดวันไปได้เรื่อยๆ 

หากเรามองปัญหาข้างต้นและลองนำมาแก้ไขอย่างง่ายโดยการนำ Teachme Biz มาเป็นตัวนำร่อง (ดังที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ว่า “อยากให้ธุรกิจเดินหน้า ต้องรู้จักทฤษฎี Agile and Scrum”) จะพอแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ดังนี้ 

1. เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้บ่อยให้เข้าสู่รูปแบบดิจิทัล: เช่น คู่มือการทำงาน เอกสาร หรือแบบฟอร์มต่างๆ ที่เคยเป็นกระดาษ หยิบใช้ยาก ค้นหายาก เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ 

2. เริ่มต้นจากเรื่องที่ใช้ตุ้นทุนไม่สูงแต่ได้ผลลัพธ์ชัดเจน: ปัจจุบันแพลตฟอร์มด้าน Digital มีราคาที่จับต้องง่ายมากขึ้น มีรูปแบบการให้บริการที่สามารถเลือกให้เหมาะกับองค์กรได้อย่างหลากหลาย อย่างเช่นรูปแบบ Subscription ที่เหมือนเป็นการทำสัญญาเช่าระบบเพื่อการใช้งานในราคาถูก โดยไม่ต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อระบบ 

3. ทำทุกอย่างให้ง่าย: ในองค์กรหนึ่งๆ นั้นมีพนักงานด้วยกันหลายระดับ อาจจะมีทั้งคนที่ถนัดด้านเทคโนโลยีและไม่ใช่ แต่อย่างไรก็ตามพนักงานทุกคน ทุกระดับ ต่างเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่อองค์กรทั้งสิ้น การจะนำระบบใดเข้ามาใช้งานจึงควรคำนึงถึงพนักงานทุกคน เลือกสิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

4. เริ่มต้นไปทีละโครงการ: หากกรอบเวลาไม่ชัดเจน ลองแบ่งโครงการเป็นโครงการย่อยๆ และทำไปทีละโครงการ หรือกระบวนย่อยๆ ก่อน หากประสบความสำเร็จก็ค่อยขยายผลไปยังส่วนอื่น หรือหากล้มเหลวก็จะได้แก้ไขได้ไปเป็นจุดๆ 

    TMB

    Teachme Biz ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย

    Digital Transformation เป็นไปได้โดยเริ่มต้นวันนี้กับ Agile 

    เราคงพอจะเห็นความสัมพันธ์ของ Agile และ Digital Transformation กันไปแล้ว หวังว่าหลายๆ ท่านจะได้นำแนวคิดและแนวทางไปปรับใช้กับองค์กรได้ต่อไป เริ่มต้นทีละนิด และปรับปรุงเป็นรอบๆ บนแนวคิดของ Agile โดยอาจจะเริ่มต้นจาก Teachme Biz ระบบจัดการคู่มือการทำงานออนไลน์ แพลตฟอร์มที่สามารถสร้าง แชร์ และแก้ไขคู่มือการทำงาน SOP หรือ WI ขององค์กรได้ในรูปแบบออนไลน์ เป็น Subscription ที่สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ในราคาที่จับต้องได้ มีฟีเจอร์การใช้งานที่ออกแบบมาให้ง่ายทั้งการสร้างเอกสาร และค้นหาเพื่อดูเอกสาร รวมไปถึงการแก้ไขเอกสารที่ทำได้จากอุปกรณ์หลากหลายชนิด สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษา หรือดูสาธิตการใช้งานได้ที่นี่

     

    Create SOP manual effectively

    Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

    ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

    Pin It on Pinterest

    Share This
    Optimized with PageSpeed Ninja