062-295−6588 contact-th@studist.co.th

การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในองค์กรต่าง ๆ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้จำนวนทรัพยากรลดลงแล้ว การสร้างทักษะและความรู้ใหม่ ๆ ยังเป็นการเสริมทัพขององค์กรในสนามการค้าอีกด้วย ซึ่งวิธีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้พร้อมต่อการดำเนินงานขององค์กรนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การอบรมเป็นกลุ่ม การใช้ E-Learning และ OJT (On the Job Training) เป็นต้น โดยปัจจุบันวิธีการหลัก ๆ ที่นิยมใช้คือ E-Learning และ OJT แต่ยิ่งไปกว่านั้นการผสมผสานระหว่าง E-Learning และ OJT ช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพของการอบรมให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และพนักงานเองก็พร้อมต่องานตรงหน้ามากขึ้นด้วย

E-Learning คืออะไร 

E-Learning คือรูปแบบการเรียนรูปแบบหนึ่งที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ผสมผสานเข้ากับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น หรือจะเรียกว่าเป็นการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) นั่นเอง ซึ่งเดิมที e-Learning ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเวลาและต้นทุนของการอบรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการกระบวนการอบรมเป็นสำคัญ

E-Learning เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน กระทรวงศึกษาธิการของไทยได้เริ่มนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 และมีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ เรื่อยมาจนกลายเป็น E-Learning  อย่างจริงจังในประเทศไทย

  • ปี พ.ศ. 2538 เริ่มต้นจากภาครัฐบาล โดยเปิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย 
  • ปี พ.ศ. 2549 ข้อมูลจากวารสารวิทยบริการ ปีที่17 ฉบับที่ 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุผลการวิจัยว่า จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 430 คน มีความถี่การใช้ E-Learning  จำนวน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 61.2 ระยะเวลาที่ใช้คือช่วง 12:00 น. – 16:00 น. 
  • ปี พ.ศ. 2562 กลายเป็นธุรกิจอย่างมีแบบแผนและภาพรวมตลาดการเรียนกวดวิชารวมถึงการเรียนออนไลน์มีมูลค่าราว 8,000 – 9,000 ล้านบาท (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย) โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนวันละ 10 ชั่วโมง โดย 28.5% เป็นการใช้เพื่อการเรียนออนไลน์

ข้อดีและข้อเสียของ E-Learning 

เราทราบกันไปแล้วว่า E-Learning คืออะไร มาดูกันว่ามันมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง 

ข้อดีของ E-Learning

  1. ถ้าองค์กรและพนักงานมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้กับ E-Learning ได้ จะทำให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา 
  2. เนื้อหาของการเรียนหรือการอบรมหนึ่ง ๆ สามารถนำมาใช้กับพนักงานได้ครั้งละมาก ๆ 
  3. สามารถรับรู้ผลการเรียนการสอนจากผู้เรียนและผลการทดสอบของการเรียนได้ทันที 
  4. การเตรียมเอกสารในการเรียนการสอนนั้น ทำเพียงครั้งเดียวและสามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้งหากไม่จำเป็นต้องแก้ไข

ข้อเสียของ E-Learning

  1. การสื่อสารระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนทำได้ยาก ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้เรียนเกิดขึ้นน้อย
  2. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับเนื้อหาที่จำเป็นต้องมีการสนทนา พูดคุย ใช้ความคิดร่วม การจำลองบทบาท (Role-Play) หรือเนื้อหาที่เน้นทักษะปฏิบัติ
  3. ยากในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนเพราะเป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นส่วนใหญ่  

OJT (On the Job Training) คืออะไร 

OJT ย่อมาจาก On the Job Training โดย OJT เป็นวิธีการในการอบรมวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติงานจริงบนสถานที่หรือหน้างานจริง ซึ่ง OJT นี้เองมีต้นกำเนิดมาจากการสร้างกองทัพเพื่อใช้ในสงครามของสหรัฐอเมริกา โดยมีหัวใจสำคัญทั้ง 4 ประการคือ แสดงให้เห็น บอกให้รู้ ทำจริง และ ตรวจสอบ โดยปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้ในเชิงวิชาชีพโดยเรียกว่า “4 ขั้นตอนในการแนะแนวทางเชิงวิชาชีพ” 

การทำครัว หนึ่งใน OJT

และกระบวนการนี้เอง ประเทศญี่ปุ่นได้นำมาประยุกต์ในช่วงที่เศรฐกิจเจริญรุ่งเรืองสูงสุดหลังสงคราม กลายเป็นแนวคิดที่เรียกว่า PDCA ซึ่งประกอบด้วย Plan (วางแผน), Do (ลงมือทำ), Check (ตรวจสอบ) , Action (พัฒนาปรับปรุง) จนกลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการฝึกอบรมพนักงานจนถึงปัจจุบัน

ข้อดีและข้อเสียของ OJT

ข้อดีของ OJT

เพราะว่า OJT คือการสอนโดยตรงต่อตัวผู้เรียนในสถานที่การทำงานจริง จึงทำให้เข้าถึงเนื้อหา ปัญหา และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างตรงจุด แต่การสอนงานผ่านการทำงานจริงแบบนี้จำเป็นต้องมีทักษะในการสอนพอสมควร เพราะไม่ใช่แค่การบรรยายตามเนื้อหาเท่านั้น นอกจากนั้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การสอนไปพร้อม ๆ กับการทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสียของ OJT

ประสิทธิผลของการสอนขึ้นกับทักษะของผู้สอนเป็นสำคัญ เพราะการเรียนรู้ผ่าน OJT นั้นต้องทำงานไปด้วยเรียนรู้ไปด้วย งานส่วนอื่น ๆ จะได้เรียนรู้น้อยลงหากผู้สอนยุ่งกับงานตัวเองมากจนไม่มีเวลาสร้างสมดุลระหว่างการมอบหมายงานใหม่ ๆ กับการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน นอกจากนี้ประสิทธิภาพของการอบรมพนักงานแบบ OJT ยังวัดผลได้ยาก ทั้งในแง่ของสิ่งที่พนักงานได้รับ และในแง่ของคุณภาพของผู้สอน เพราะหากผู้สอนไม่มีสื่อการอบรมให้อ้างอิงอยากชัดเจนก็จะสอนตามวิธีการที่ตนเองถนัด โดยที่ไม่รู้ว่าวิธีนั้นตรงตามมาตรฐานหรือไม่

ความแตกต่างระหว่าง E-learning กับ OJT

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง E-Learning และ OJT คือ E-Learning นั้นมีประโยชน์มากสำหรับการสอนที่ไม่ต้องการทักษะในเชิงปฏิบัติ ส่วนOJTนั้นจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงในสถานที่จริง

ความแตกต่างระหว่าง E-learning กับ OJT

จะเห็นได้ว่าทั้ง E-Learning และ OJT นั้นมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน และถ้าเรานำจุดเด่นของทั้งสองวิธีนี้มารวมกัน ด้วยการผสมผสานที่ลงตัวแล้วก็น่าจะสามารถสร้างประสิทธิภาพจากทั้ง2วิธีได้มากขึ้น

การอบรมพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ E-learning + OJT

E-Learning และ OJT มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากเรานำทั้งสองอย่างนี้มาผสมผสานกันโดยให้ข้อเสียของการเรียนวิธีหนึ่งถูกเติมเต็มด้วยข้อดีของการเรียนอีกวิธีหนึ่งคงจะดีไม่น้อย และตัวประสานนั้นก็คือแนวคิดของ “Flipped Classroom” ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือการเตรียมตัวของผู้เรียนบนพื้นฐานของบทเรียนจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้จริง (เตรียมตัว แล้วจึง เรียนรู้) นับเป็นแนวคิดสำคัญที่ทำให้การรวมกันของทั้ง E-Learning และ OJT เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของ Flipped Classroom ได้จากหัวข้อลดต้นทุนการอบรมพนักงานด้วย Flipped Classroom

เปรียบเทียบการเรียนรู้โดยทั่ว ๆ ไปและแบบ Flipped Classroom

การเลือกใช้ E-learning และ OJT

หลังจากที่เราเข้าใจรูปแบบต่าง ๆ ของการเรียนแล้ว เราสามารถประยุกต์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดคือ 

  • “การเตรียมตัว” ที่เป็นส่วนประกอบใน Flipped Classroom จะสอดรับกับการเรียนแบบ “E-Learning” 
  • “การเข้าเรียน” ก็สอดรับกับการเรียนแบบ “OJT” 

ดังนั้นเราจึงสามารถนำความเกี่ยวข้องทั้งหมดนี้มาใช้ในการฝึกอบรมพนักงานในองค์กรได้ โดยเรียนอย่างเป็นระบบผ่านการเรียนแบบ E-Learning เพื่อให้เกิดฐานความรู้ หลังจากนั้นจึงเรียนรู้ผ่าน OJT เพื่อให้เห็นภาพจริง ผลที่ได้คือจะทำให้ความรู้ที่ได้รับตั้งแต่ตอนเรียน E-Learning ถูกทบทวนและตรวจสอบความเข้าใจอีกครั้งเมื่อตอนทำ OJT วิธีนี้จะช่วยลดเวลาการสอนระหว่างช่วง OJT ได้ นำเวลาไปเพิ่มทักษะที่ต้องใช้จริงหน้างานให้ผลลัพธ์ตรงตามแบบแผนจาก E-Learning นับเป็นแนวคิดการฝึกอบรมพนักงานที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

การผสมผสานกันของ E-Learning, OJT และ Flipped Classroom

ให้การฝึกอบรมพนักงานเป็นเรื่องง่ายได้ผลคุ้มค่า

ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดการประยุกต์ข้อดีจากหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน Teachme Biz ซึ่งเป็นระบบและเครื่องมือในการออกแบบคอร์สการอบรม การสร้างคู่มือออนไลน์ ก็สามารถประยุกต์แนวคิดที่กล่าวมาแล้วได้ทั้งหมด และนับเป็นเครื่องมือที่นิยมของหลาย ๆ องค์กรอย่างมากในปัจจุบัน 

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This
Optimized with PageSpeed Ninja