062-295−6588 contact-th@studist.co.th
types of digital transformation

เป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้วที่ผู้ประกอบการมีสิ่งที่ต้องโฟกัสในการทำธุรกิจเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งทางการค้า เช่น การวางแผนด้านราคา ทำอย่างไรให้ราคาถูกเพื่อให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินซื้อได้โดยง่าย หรือ ทำอย่างไรให้บริการดีที่สุด ชนิดที่แม้ราคาจะสูงไปสักหน่อยลูกค้าก็ยอมจ่าย หรือสุดท้าย ทำอย่างไรให้สินค้ามีคุณภาพมีฟังก์ชันการใช้งานดีที่สุด ซึ่งการที่จะทำให้ดีพร้อมกันทั้ง 3 อย่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หรือถ้าจะทำให้ได้ดีทั้งหมด ก็ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยชดเชยส่วนอื่น ๆ ดังนั้นการมีอยู่ของ Digital Transformation นี้เองที่อาจจะนำมาตอบโจทย์ดังกล่าวได้ แต่จะตอบโจทย์อย่างไรคงต้องทำความเข้าใจกับ ชนิดของ Digital Transformation 4 ประเภทกันเสียก่อน

ซึ่งในบทความนี้ Teachme Biz จะมาแนะนำประเภทต่าง ๆ ของ Digital Transformation ที่ช่วยให้ผู้ประกอบสามารถวางกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. ชนิดของ Digital Transformation ทั้ง 4 ประเภท (Type of Digital Transformation)

เมื่อพูดถึง Digital Transformation แล้ว ไม่ได้มีแค่เรื่ององค์ประกอบอย่างเดียว แต่เป็นการผสมผสานทั้งองค์กร วัฒนธรรมองค์กร ลูกค้า และคุณค่าที่องค์กรนำเสนอต่อลูกค้าเข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้เกิด Digital Transformation 4 ประเภทดังต่อไปนี้

4 types of digital transformation

1.1 การปฏิรูปกระบวนการ (Process Transformation)

การปฏิรูปกระบวนการอาจจะเป็นชนิดของ Transformation ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่ายที่สุดเพราะว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายในขององค์กรเองซึ่ง สามารถควบคุมได้ง่าย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเริ่มต้นได้ง่ายแต่การทำจริงอาจไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุผลว่า กระบวนการต่าง ๆ ที่มีมาก่อนนั้น อาจมีผลลัพธ์ดีดีพออยู่แล้ว ดังนั้นพนักงานอาจไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ไม่ถี่ถ้วนเพียงพออาจทำให้ผลลัพธ์แย่ลงกว่าเดิมก็เป็นได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ถึงแม้จะทำให้ต้นทุนลดลงก็ตาม ดังนั้น การปฏิรูปกระบวนการจึงไม่ได้เป็นแค่การมองที่มุมมองใดมุมมองหนึ่งเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการสร้างสมดุลของต้นทุน  คุณภาพ และระยะเวลาการทำงานของกระบวนการนั้น ๆ 

การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างสมดุลนี้เอง คือหัวใจสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการ เช่น การใช้ระบบคลาวด์เข้ามาเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆของสำนักงานต่างสาขาหรือต่างแผนกเข้าไว้ด้วยกัน การใช้ RPA (Robotic Process Automation) มาช่วยทำงานที่ไม่ซับซ้อนเพื่อลดเวลา ลดแรงงานของพนักงาน เป็นต้น

Process Transformation

เริ่มต้น Digital Transformationได้ง่ายจากกระบวนการในองค์กร

1.2 การปฏิรูปโมเดลธุรกิจ (Business Model Transformation)

การปฏิรูปโมเดลธุรกิจมีจุดประสงค์คือ ให้องค์กรเปลี่ยนแนวทางในการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัลเข้ามาช่วย เช่น นิตยสารต่างๆที่ยกเลิกการขายนิตยสารเป็นเล่มๆ และเปลี่ยนมาเป็น E-Book แลกกับการจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือน ก็นับเป็นการปฏิรูปโมเดลทางธุรกิจอย่างหนึ่ง 

การปรับเปลี่ยนแบบนี้เองที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้ทั้งองค์กรและลูกค้าด้วย เริ่มตั้งแต่การสื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ว่ามีสินค้าใหม่ใดบ้าง ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน หรือ Social Media ตามด้วยการจ่ายเงินซื้อของลูกค้าที่สามารถจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ และตบท้ายด้วยบริการหลังการขายที่พนักงานสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้เป็นรายบุคคลในเวลาอันรวดเร็ว โจทย์ที่สำคัญที่สุดก็คือ สินค้าต่าง ๆ ที่มีจะนำมาปรับเปลี่ยนโดยใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยเพื่อปฏิรูปโมเดลทางธุรกิจอย่างไร

1.3 การปฏิรูปขอบข่ายของธุรกิจ (Domain Transformation)

การปฏิรูปขอบข่ายธุรกิจ เป็นการเริ่มต้นจากธุรกิจที่องค์กรชำนาญ เชี่ยวชาญเป็นเวลานาน แต่ยังมีพื้นที่อื่นๆที่ยังไม่ได้ต่อยอดออกไป ารปฏิรูปขอบข่ายธุรกิจจึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อให้องค์กรสามารถทำกำไรจากขอบข่ายอื่นๆเพิ่มเติมได้ เช่น องค์กรที่ค้าขายอุปกรณ์ เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน องค์กรเช่นนี้ย่อมต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรงงานเป็นอย่างดี จึงอาจจะนำเทคโนโลยีมาช่วยและให้บริการด้านที่ปรึกษา (Consultant) เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ การจัดตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เครื่องมือทางดิจิทัลมาช่วยให้การสื่อสารกับลูกค้าทำได้ง่ายขึ้นและยังสร้างรายได้ได้อีกด้วย

Domain Transformation

บางองค์กรนอกจากขายผลิตภัณฑ์ยังเป็นที่ปรึกษาด้วย

1.4 การปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร (Cultural / Organizational Transformation)

การปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร มุ่งเน้นให้องค์กรทำงานร่วมกันทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อสารกันอย่างทั่วถึง ทำงานอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกกันว่า Agile นั่นเอง
เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในองค์กร พนักงานสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างถูกต้อง เห็นคุณค่าของเทคโนโลยีว่าช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ดีขึ้นได้อย่างไร และดึงประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านั้นมาสร้างผลลัพธ์ของงานได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สามารถคิดค้นได้รวดเร็วขึ้น หรือแม้จะผิดพลาดก็เริ่มต้นใหม่ได้ง่าย นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการคำนึงถึงการบริการลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขายให้มีคุณค่าบนพื้นฐานวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีด้วย

2. อัตราการประสบความสำเร็จของการทำ Digital Transformation

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ zippia.com ผลการสำรวจพบว่าอัตราการประสบความสำเร็จของการทำ Digital Transformation นั้นมีต่ำกว่า 30% อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารกว่า 56% ขององค์กรที่ทำไม่สำเร็จกล่าวว่า แม้ไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ทั้งหมด แต่ทำให้องค์กรมีกระบวนการทำงานที่ดีขึ้นและทำกำไรได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่ทำอะไรเลย ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์และทำให้เรารู้ว่าสถานกาณ์โดยทั่วไปเป็นอย่างไร

3. การเดินเกมสู่ Digital Transformation (Approach to digital transformation)

เมื่อเราเข้าใจชนิดของ Digital Transformation แล้ว มีวิธีการเลือกเดินเกมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดังนี้

3.1 รอดูสถานการณ์ (Wait and see)

รอดูสถานการณ์ในที่นี้คือ รอดูกรณีที่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่เหมาะกับองค์กรและได้ผลลัพธ์ตรงกับที่คาดหวังไว้ วิธีการเดินเกมแบบนี้มีข้อดีคือ ให้องค์กรอื่นนั้นเป็นผู้รับความเสี่ยงในการลงทุนใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีพร้อมกับผลลัพธ์จากความพึงพอใจของลูกค้า ถ้าองค์กรเราเห็นว่าดีก็รีบนำเทคโนโลยีนั้นมาประยุกต์ใช้บ้าง แต่ข้อด้อยคือ ถ้าผลลัพธ์นั้นดีจริง องค์กรเราจะเดินตามหลังคู่แข่งไปหนึ่งก้าว วิธีนี้เหมาะกับองค์กรที่ยังไม่แน่ใจว่าจะ Digital Transformation ไปในทิศทางนั้น ๆ ดีหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ และไม่ต้องการความเสี่ยงมากนัก

3.2 ก้าวไปข้างหน้าเต็มตัวด้วย Digital Transformation (All-inclusive)

วิธีนี้เป็นการเดินหน้าเต็มกำลังไปกับ Digital Transformation ทั้ง 4 ชนิด และวางแผนอย่างรัดกุม มีแผนสำรองรองรับอย่างชัดเจน และวางแผนระยะยาวอย่างเป็นระบบ เพราะองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกับการเป็นผู้นำของตลาด วิธีนี้นอกจากจะใช้เงินลงทุนสูงแล้วก็ยังเสี่ยงต่อความล้มเหลวของการทำ Digital Transformation อีกด้วย แต่หากทำอย่างรัดกุมจนสำเร็จ การเป็นเจ้าตลาดจะเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่า

3.3 ก้าวไปทีละนิดกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Incremental Delivery)

วิธีนี้เป็นการวิเคราะห์หาช่องทางและเป้าหมายของการทำ Digital Transformation ที่ตอบโจทย์ จุดประสงค์ หรือ เป้าหมายทางธุรกิจเป็นตัวตั้ง บนพื้นฐานที่ว่าหากไม่ทำอะไรต่อเพื่อตอบจุดประสงค์หรือเป้าหมายทางธุรกิจ องค์กรอาจจะแข่งขันกับตลาดไม่ได้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัลที่จำเป็นใหม่ ๆ การพัฒนาทักษะทางดิจิทัลแก่พนักงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของวิธีการนี้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

Incremental of Digital Transformation

นอกจากผลกำไร ลูกค้าและพนักงานก็เป็นอีกตัวแปรสำคัญของ Digital Transformation

4. Digital Transformation ชนิดไหนที่เหมาะกับองค์กรของคุณ

พิจารณากันให้ถี่ถ้วนแล้ว ไม่มีสูตรสำเร็จในการเลือกชนิดของ Digital Transformation เหตุผลคือ ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น อุตสาหกรรมที่องค์กรกำลังดำเนินการอยู่ ความท้าทายปัจจุบันที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ ความต้องการของลูกค้าต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตามการเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย ในระยะยาวอาจจะตามคู่แข่งไม่ทัน การเลือกชนิดของ Digital Transformation ขึ้นกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารทั้งหมด ทรัพยากรที่องค์กรมี แผนสำรองหากทางที่เลือกเดินนั้นไม่สำเร็จตามที่คาดหวัง หากพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ได้ ทางเลือกที่เกิดขึ้นก็นับได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดขององค์กรนั้น ๆ

5. Teachme Biz คู่คิดสู่ Digital Transformation 

สิ่งที่เริ่มต้นง่ายที่สุดคือ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพราะว่าเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้ แต่ภายในองค์กรเราสามารถวางแผนสู่ Digital Transformation ได้อย่างรัดกุมในแบบขององค์กรเอง หากยังไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่มีมาอย่างช้านาน สามารถนำ Teachme Biz ไปประยุกต์ใช้ก่อน เพื่อให้พนักงานมีความคุ้นชินกับการใช้เครื่องมือทางดิจิทัล จากนั้นสามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกได้โดยไม่เกิดผลกระทบมากนัก เพราะ Teachme Biz เป็นระบบจัดการคู่มือออนไลน์ ที่เน้นง่ายในการสร้าง ใช้งาน และอัปเดต นับเป็นก้าวแรกที่ง่ายที่สุดของการไปสู่ Digital Transformation ในปัจจุบัน

แนะนำการใช้งาน Teachme Biz กับการ Digital Transformation ในองค์กร

Digital Transformation with Teachme Biz

“บริษัทพยายามปรับตัวให้เข้ากับโลกในยุคปัจจุบันจึงเริ่มทำ Digital Transformation โดยเริ่มจากสิ่งที่สามารถเริ่มได้ง่ายๆ ก่อนอย่าง Teachme Biz เพราะเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถเข้าถึงได้จากสมาร์ทโฟน มันจึงง่าย เมื่อพนักงานได้ใช้จะเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น อนาคตเมื่อบริษัทต้องการนำระบบอื่นเข้ามาปรับใช้เพื่อการ Digital Transformation อย่างต่อเนื่องก็จะได้ง่ายขึ้น”

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This