062-295−6588 contact-th@studist.co.th

เดล คาร์เนกี้ นักเขียนชื่อก้องโลก ได้กล่าวถึงประโยคหนึ่งในหนังสือที่ขายดีระดับ Best Seller ว่า “มนุษย์ทุกคนต้องการรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ” และยังมีอีกหลายแนวคิดที่ทำให้ผู้อ่านหลายล้านคนทั่วโลกเข้าถึงจิตใจของมนุษย์ การผูกมิตร และการสร้างมนุษยสัมพันธ์ชนิดที่พบเจอคนแปลกหน้าที่ใดในโลกก็สามารถสร้างความสัมพัน์ที่ดีให้เกิดขึ้นได้

การบริหารองค์กร บริหารทีมก็เช่นเดียวกัน จริงอยู่ที่ว่าการสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นกับองค์กรไปพร้อมๆ กับการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้านับเป็นเป้าหมายหลักสำคัญขององค์กร แต่ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้นั้นไม่ใช่เพียงแต่ผลกำไรและความพอใจของลูกค้าเท่านั้น การเอาใจใส่สมาชิกทุกคนในองค์กรให้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆและสร้างความเติบโตให้องค์กรไปพร้อมๆกันก็นับเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน จึงเกิดแนวคิด “การให้ความสำคัญกับพนักงาน” หรือ Employee Recognition ขึ้น

Employee Recognition คืออะไร

Employee Recognition กล่าวโดยง่ายคือการให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กร หมายรวมถึงกระบวนการในการช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจสิ่งที่เขากำลังทำว่าสร้างคุณค่าอะไรให้กับคนรอบข้าง ท้ายที่สุดคือความรู้สึกขององค์กรที่มีต่อผลสำเร็จจากการทำสิ่งนั้นของพนักงาน เมื่อองค์กรส่งผ่านความรู้สึกที่ดีต่อพนักงานและพนักงานรับรู้ได้ ความสัมพันธ์ก็ย่อมดำเนินไปด้วยดี สร้างทีมที่มีประสิทธิภาพได้ยิ่งขึ้นไป สิ่งที่องค์กรส่งความรู้สึกดีๆ ต่อพนักงานนี้เองที่เรียกว่า Employee Recognition เช่น การแสดงการชื่นชม การให้รางวัล เป็นต้น

ทำไม Employee Recognition จึงสำคัญ

เมื่อนึกย้อนไปถึงเรื่องราวในวัยเด็ก กิจกรรมง่ายๆ เช่น การทรงตัวบนจักรยานเป็นครั้งแรก การคว้าเหรียญรางวัลจากงานวันกีฬาสี เหล่านี้สร้างความภูมิใจให้กับเด็กๆ บนความสำเร็จที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่คำชื่นชมที่ได้รับจากผู้ใหญ่เป็นรากฐานสำคัญให้เด็กในวันนั้นสร้างความสำเร็จยิ่งใหญ่อื่นๆ ต่อเนื่องเรื่อยมาจนวันนี้ เมื่อวันที่เด็กคนนั้นเติบใหญ่ เข้าสู่การทำงานสร้างสรรสิ่งดีๆ ในระดับที่สร้างผลต่อสังคมระดับชาติได้ คำชื่นชมนั้นมาในรูปแบบของ Employee Recognition ซึ่งสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญดังนี้ 

  1. ทำให้พนักงานสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (องค์กรก็สร้างผลกำไรได้มากขึ้น)
  2. ทำให้พนักงานพร้อมจะสร้างทักษะใหม่ๆเพื่อผลลัพธ์ใหม่ๆ (องค์กรมีบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น)
  3. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและผู้บริหารทั้งในระดับทีมและระดับองค์กร (แวดล้อมการทำงานในองค์กรดีขึ้น เป็นองค์กรที่ใครก็อยากทำงานด้วย อยากเป็นคู่ค้าด้วย)

นอกจากสิ่งดีๆทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้ว Employee Recognition ยังสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานเพื่อทำให้เกิด 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นวนเวียนเรื่อยไป การสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานจึงนับเป็นผลลัพธ์สำคัญของการทำ Employee Recognition เลยก็ว่าได้ จนมีคำกล่าวไว้ว่า การสร้างแรงจูงใจนับเป็นศิลปะแห่งการบริหารคนอย่างหนึ่ง

เราจะสร้าง Employee Recognition ในองค์กรได้อย่างไร

ยังไม่ช้าเกินไปที่จะให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กรด้วย Employee Recognition โดยมีกรอบแนวคิดของการสร้าง Employee Recognition ไว้ดังนี้ 

1. กำหนดเกณฑ์สำคัญของการทำ Employee Recognition

พนักงานทำสิ่งใด แล้วองค์กรจึงให้ความสำคัญแสดงความชื่นชม ไม่ใช่เพียงการชื่นชมโดยไม่มีเกณฑ์ใดๆ มารองรับ มิเช่นนั้นแล้วคำชื่นชมนั้นจะกลายเป็นคำธรรมดาที่มีอยู่เกลื่อนไป ผู้บริหารทุกคนในทุกระดับควรมีส่วนในการคิดพิจารณาถึงเกณฑ์สำคัญในการสร้างความชื่นชมต่อพนักงานที่ทำผลงานได้ดี และเกณฑ์สำคัญนี้ควรถูกสื่อสารไปถึงพนักงานด้วย อาจไม่จำเป็นต้องลงถึงรายละเอียดแต่ให้เห็นถึงเกณฑ์สำคัญ

2. Employee Recognition บนพื้นฐานความยุติธรรม

การสร้าง Employee Recognition ควรเป็นไปโดยยุติธรรม การสร้างความชื่นชมหรือสร้างคุณค่าและให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อพนักงานนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากพนักงานทำผลงานได้ดีพอๆ กัน คนหนึ่งได้รับคำชื่นชม อีกคนหนึ่งไม่ได้รับ แม้เพียงครั้งเดียว ก็สร้างความแคลงใจให้กับพนักงานและส่งผลถึงระบบการทำ Employee Recognition ได้ 

3. เริ่มต้นด้วยพื้นฐานง่ายๆ

เป็นที่รู้กันดีว่า คำชม หรือคำขอบคุณอย่างจริงใจนั้นจะสร้างความพึงใจต่อผู้ที่ได้ยินและนับเป็นสิ่งสำคัญที่หลายองค์กรไม่ได้ทำอย่างจริงจัง การเอ่ยคำชื่นชม การกล่าวคำขอบคุณหลังเลิกงานในทุกๆวัน การมอบการ์ดขอบคุณเมื่อผลงานสำเร็จ สิ่งง่ายๆเหล่านี้เป็นบันไดขั้นแรกของการทำ Employee Recognition ได้เป็นอย่างดี หรือจะชื่นชมเป็นเดือนๆ ไปผ่านทางเครื่องมือ Teachme Biz เพื่อเป็นแบบอย่างแก่พนักงานคนอื่นก็ยังได้

นอกจากนั้นการเริ่มต้นไม่จำเป็นต้องเป็นคำชื่นชม หรือรางวัลด้านเงินตรา การแสดงความยินดี เช่น เหตุการณ์สำคัญของพนักงานคนนั้นๆ งานแต่งงาน ภรรยาคลอดบุตร การแสดงออกอย่างเป็นทางการหรือปากเปล่าต่อพนักงานคนนั้นๆ ก็นับเป็น Employee Recognition เช่นกัน

    การเขียนขอบคุณด้วยลายมือผ่านการ์ดเรื่องไม่ยากที่สร้างความประทับใจ

    4. ปรับเปลี่ยนรางวัลให้เหมาะสม

    รางวัลต่างๆจาก Employee Recognition ไม่ว่าจะเป็นในทางจิตใจ หรือทางเงินตรา ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวเสมอไป เพราะพนักงานแต่ละคนก็มีความพอใจที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งผู้จัดการหรือหัวหน้าเข้าใจลูกทีมมากเท่าไร การให้รางวัลบนพื้นฐานของ Employee Recognition จะสร้างผลลัพธ์ที่ได้ประสิทธิผลสูงสุดมากขึ้นเท่านั้น

    ตัวอย่างของ Employee Recognition ที่น่าสนใจ 

    มาถึงบรรทัดนี้หลายๆท่านคงเข้าใจถึงความสำคัญของการทำ Employee Recognition กันแล้วว่า ลงทุนไม่มาก ทำด้วยใจ แต่ได้ผลตอบแทนที่มีประสิทธิผล และยังสร้างแวดล้อมการทำงานที่ดีได้อีกด้วย เรามาดูกันว่าตัวอย่างดีๆ ของการทำ Employee Recognition มีอะไรบ้าง 

    1. โบนัส การให้โบนัสแก่พนักงานอย่างยุติธรรม จะสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานได้อย่างดีเมื่อผลของโบนัสสามารถเชื่อมโยงได้อย่างชัดเจนกับผลงานที่พนักงานคนนั้นๆทำได้ 
    2. การท่องเที่ยวประจำปี การท่องเที่ยวประจำปีที่จัดโดยบริษัท อาจจะเป็น1วันหรือพักค้างคืน ไม่เป็นเพียงการคลายเครียดให้กับพนักงานแต่ยังสามารถจัดกิจกรรมเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจขณะท่องเที่ยวหรือค้างแรมให้แก่พนักงานได้อีกด้วย 
    3. การให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวที่เปิดเผยได้ จะดีแค่ไหนถ้าเช้าวันทำงานวันหนึ่งผู้บริหารเดินเข้ามาหาพนักงานที่โต๊ะ พร้อมกับการ์ดที่เขียนคำอวยพรวันคล้ายวันเกิดด้วยลายมือของตัวเอง พร้อมกับเสียงทักทายว่า สุขสันต์วันเกิด! วันนั้นทั้งวันพนักงานคนนั้นคงทำงานด้วยความสุขพร้อมกับความสามารถที่มีทั้งหมดเลยทีเดียว กรณีนี้ยิ่งเป็นหัวหน้าโดยตรงอาจจะรู้จักวันสำคัญวันอื่นของลูกน้องในทีมและแสดงความสำคัญให้เห็นในโอกาสอื่นๆได้อีกด้วย 

    เรื่องส่วนตัวที่เปิดเผยได้สามารถสร้าง Employee Recognition ได้

    4. แคมเปญค้นหาผลงานเด่นในตัวผู้อื่น ลองให้แต่ละคนในทีมค้นหาผลงานดีที่สุดของเพื่อนร่วมทีม หรือจะเป็นระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องในทีม อย่างน้อยที่สุด 1 อย่าง แล้วนำมันออกมาประกาศให้กับทุกคนในทีมได้รู้ จะเป็นการประกาศคุณความดีอย่างง่ายๆจากคนหนึ่งสู่คนทั้งทีมได้เลย 

    5. การปรบมืออย่างเป็นทางการร่วมกัน ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาเสียจนหลายคนลืมวิธีนี้ไป หากคุณเป็นหัวหน้าทีมหรือผู้บริหาร ครั้งใดที่ลูกทีมในทีมทำผลงานได้โดนใจ การให้ทีมนั้นแสดงตัวตน และยื่นเสียงปรบมือจากทีมอื่นให้ ก็นับเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับผู้สร้างผลงาน

    6. เพิ่มคำถามนี้ลงในใบสมัครงาน การเพิ่มคำถามที่ว่า “ลองเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รู้สึกประทับใจจากการทำงานหรือการเรียนในช่วงชีวิตที่ผ่านมา” การถามคำถามแบบนี้จะทำให้เราได้ข้อมูลจากเบื้องลึกของพนักงานแต่ละคนตั้งแต่วันสมัครงานว่าหากเราจะสร้าง Employee Recognition แก่พนักงานคนนี้ แบบใดจึงจะเหมาะสมสำหรับเขา

    ตัวอย่างในองค์กรระดับโลก ก็มีการทำ Employee Recognition เช่นกัน 

    • Airbnb บริษัทการแบ่งปันที่พักชื่อดัง ให้วงเงินพนักงานจำนวน 2,000 USD (ราว 60,000 บาท) เพื่อท่องเที่ยวและพักในรายชื่อที่พักของ Airbnb ที่ใดก็ได้ในโลก
    • REI (Recreational Equipment, Inc.) บริษัทค้าปลีกชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ให้วันหยุด(ที่ยังจ่ายค่าตอบแทน) แก่พนักงาน 2 วันเพื่อออกไปทำกิจกรรมนอกบริษัทเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและพักผ่อนจากการทำงาน เรียกกันว่าวัน Yay Days
    • Burton บริษัทค้าสโนว์บอร์ดชื่อดัง ให้ตั๋วเล่นสกีแก่พนักงานในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกหนัก

    บริษัท Burton ทำสโนว์บอร์ดจึงให้รางวัลพนักงานเล่นสกีในช่วงฤดูหนาว

    Employee Recognition เรื่องเล็กๆ ที่สร้างประกายแรงจูงใจการทำงานที่ยิ่งใหญ่

    Employee Recognition ที่หลายองค์กรมองข้ามไป หากมีวัฒนธรรมในการทำ Employee Recognition อย่างจริงจังจะทำให้องค์กรน่าอยู่ ลดปัญหาเรื่องคนไปได้มาก นอกจากนั้นเราจะเห็นว่าการทำ Employee Recognition ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการกล่าวชื่นชม หรือการให้รางวัลเท่านั้น ยังหมายรวมไปถึงคำสำคัญของ เดล คาร์เนกี้ ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า “มนุษย์ทุกคนต้องการรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ” หรือพิเศษกว่าคนอื่นๆ ดังนั้นในวันสำคัญต่างๆที่ผู้บริหาร หัวหน้าทีม สามารถแสดงความยินดีกับพนักงานหรือลูกน้องในทีม ก็ถือเป็น Employee Recognition อย่างหนึ่งเช่นกัน เรื่องเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ เปรียบดั่งน้ำมันหล่อลื่นที่ทำให้ทุกฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างพร้อมเพรียงกัน

    Create SOP manual effectively

    Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

    ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

    Pin It on Pinterest

    Share This
    Optimized with PageSpeed Ninja