062-295−6588 contact-th@studist.co.th
Digital Transformation Strategy

Digital Transformation เคยถูกพูดถึงกันไปแล้วใน Teachme Biz ทำให้เราเข้าใจความหมายและความสำคัญของมัน ในบทที่ว่า “Digital Transformation คืออะไร สำคัญอย่างไร” อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เราวางแผนและนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายบนยุคดิจิทัลได้ การมีกลุยทธ์ในการสู้รบบนสนามการค้าจึงเป็นอีกกุญแจสำคัญ วันนี้ Teachme Biz จะพาทุกท่านไปพบกับ “กลยุทธ์สู่ Digital Transformation” กัน

1. กลยุทธ์สู่ Digital Transformation คืออะไร

กลยุทธ์สู่ Digital Transformation คือ กลวิธีที่รวบรวมเอาแผนปฏิบัติการต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ว่าจะปฏิรูปจุดยืนขององค์กรในเชิงดิจิทัล ว่าจะไปถึงความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างไร เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภค ลูกค้า รวมถึงการปรับตัวของคู่แข่งในยุคดิจิทัลนี้รวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด เทคโนโลยีใหม่ การสอดรับกับกิจวัตรประจำวันลูกค้า รวมไปถึงโมเดลทางธุรกิจต่าง ๆ  หากองค์กรของเราปรับตัวตามไม่ทัน อาจทำให้องค์กรขาดทุน และใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะพลิกฟื้นได้

2. ไม่ยากหากเข้าใจการสร้างกลยุทธ์สู่ Digital Transformation

ไมเคิล พอร์เตอร์ ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจและการตลาด ได้กล่าวถึงเรื่องกลยุทธ์ไว้ใน Harvard Business Review ว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงประสิทธิผลของการทำงานนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุจุดประสงค์ทางกลยุทธ์ได้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้สามารถถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย ดังนั้น การสร้างกลยุทธ์จึงมิใช่เป้าหมายสุดท้าย แต่การสร้างกลยุทธ์พร้อมไปกับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่ากลยุทธ์จำเป็นต้องทำให้ยืดหยุ่นได้ตามแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพื่อรับมือกับความต้องการของลูกค้า ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง รวมไปถึงผลกำไรที่ยั่งยืนขององค์กรด้วย  แผนกลยุทธ์สู่ Digital Transformation ที่ดีจึงมีดังนี้

แกนหลักของ  Digital Transformation

แกนหลักของกลยุทธ์สู่ Digital Transformation

2.1 การวินิจฉัย (Diagnosis)

การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้การวินิจฉัย, วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน 

1) การประเมินสภาพธุรกิจ (Situation Analysis)

Digital Transformation จำเป็นต้องเข้าใจถึงสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ว่าอยู่ในระดับใด การปฏิรูปกระบวนการ และวัฒนธรรมต่าง ๆ ขององค์กรจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ดีมากน้อยเท่าไร การวางแผนไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์สู่ Digital Transformation อย่างไร รวมไปถึงการวัดผลในกระบวนการต่าง ๆ ด้วย

2) การเข้าใจลูกค้าและคู่แข่ง

หลังจากวิเคราะห์จากภาพรวมใหญ่ของอุตสาหกรรมที่องค์กรทำธุรกิจอยู่แล้ว ต้องเข้าใจลูกค้าและคู่แข่งในอุตสาหกรรมนี้ด้วย เช่น ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบสินค้าหรือบริการปัจจุบันเรื่องใด ยังมีความต้องการอะไรที่ผู้เล่นในตลาดยังไม่เติมเต็มให้ลูกค้า นอกจากนั้นก็ศึกษาว่าคู่แข่งมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร กลยุทธ์ในภาพรวมใหญ่สู่ Digital Transformation ของคู่แข่งเป็นอย่างไร ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือใดในการขับเคลื่อนองค์กร ความเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราค้นหาโอกาสทางธุรกิจและจุดยืนขององค์กรสู่ความสำเร็จได้

2.2 นโยบายขับเคลื่อน (Guiding Policy)

นโยบายการขับเคลื่อนมาจากจุดประสงค์และเป้าหมายการทำธุรกิจขององค์กรเป็นหลัก จากเป้าหมายของธุรกิจนั้นจะถูกแจงออกมาเป็นนโยบายในแต่ละด้านเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายหลัก ซึ่งนโยบายจะเป็นรายละเอียดที่มากขึ้น  และเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนเมื่อเข้าใจแล้วจะรู้ว่าตนเอง, องค์กรกำลังเดินไปในทิศทางใดบนถนน Digital Transformation สายนี้

2.3 แผนการที่สอดคล้องกับข้อปฏิบัติ (Coherent plan of action)

การวางแผนการทำงานจากนโนบายให้สอดคล้องกับการปฏิบัติได้จริง มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ 

1) ประเมินทรัพยากรขององค์กร

องค์กรมีทีมหรือพนักงานจำนวนเท่าใด และแต่ละทีม แต่ละบุคคลมีความสามารถที่จะปรับตัวและพัฒนา Digital Transformation ไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่อย่างไร 

2) วางแผนเรื่องงบประมาณ

งบประมาณเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนสู่การทำ Digital Transformation หลายองค์กรที่ล้มเหลวจากการทำ Digital Transformation เหตุผลหนึ่งมาจากเงินทุนที่ไม่เพียงพอ และบางกรณีแม้มีเงินลงทุนเพียงพอสำหรับเทคโนโลยี แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้การลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า การพิจารณาเรื่องเงินทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

3. ความเข้าใจผิดของ Technology กับ Digital Transformation Strategy

กลยุทธ์สู่ Digital Transformation หากดูเผิน ๆ จะเป็นการนำแผนการที่เน้นเทคโนโลยี มาใช้ต่อกรกับปัจจัยภายนอก แต่ความจริงแล้ว พนักงานทุกคน กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมขององค์กร เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องวางกลยุทธ์ให้ครอบคลุมด้วย เหตุผลหลักก็คือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ Digital Transformation หากไม่มีความร่วมมือจากพนักงาน และกระบวนการทำงานทั้งหมดแล้ว จะเป็นแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้บนพื้นฐานวัฒนธรรมองค์กรเดิมทั้งหมด และผลลัพธ์จะกลายเป็นว่า องค์กรลงทุนด้วยต้นทุนทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นบนกระบวนการ กรอบความคิดต่าง ๆ แบบเดิม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลของ Digital Transformation เท่าใดนัก

4. เลือกใช้กลยุทธ์สู่ Digital Transformation ที่คู่ควร

กลยุทธ์ที่จะเลือกในแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกันไปตามบริบท อย่างไรก็ตาม ยังมีกลยุทธ์ที่หลายองค์กรนิยมอยู่เช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ “การเลือกใช้เทคโนโนลยีที่มีประสิทธิผลจากความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง” การผสมกลมกลืนกันให้ได้ระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ทำให้องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นดิจิทัลได้มากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์นี้จะเน้นให้เริ่มต้นที่ ความต้องการของลูกค้า ความต้องการของผู้ใช้งานซึ่งหมายรวมถึงพนักงานทุกคนด้วย นำสิ่งเหล่านี้มาเป็นตัวตั้งแล้วค่อยเลือกเทคโนโลยีที่ได้ประสิทธิผลที่สุดมาใช้ ข้อดีของกลยุทธ์นี้ก็คือ

  • ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายให้กับเทคโนโลยีที่องค์กรนำเสนอ ( เพราะตรงความต้องการ ) 
  • พนักงานพร้อมทำงานกับเทคโนโลยีใหม่อย่างเต็มที่ ( เพราะตรงความต้องการ )
Digital Transformation Strategy Sales

เลือกเทคโนโลยีที่ดีก็อาจปิดการขายได้ง่าย

การดำเนินกลยุทธ์นี้ได้ ต้องเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าและกระบวนการทำงานภายในองค์กร ปรับใช้กลยุทธ์ตามแกนหลักของ ”กลยุทธ์สู่ Digital Transformation” (ในข้อ2) และประเมินผลต่อไป

5. เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากลยุทธ์สู่ Digital Transformation นั้นได้ผล

มีตัววัดผลหลัก ๆ ที่นิยมใช้ใน Digital Transformation ดังนี้ 

digital transformation evaluation

แนวทางการวัดผลกลยุทธ์สู่ Digital Transformation

5.1 วัดผลจากจำนวนผู้ใช้งานต่อเงินลงทุนของดิจิทัลเทคโนโลยีนั้น

เมื่อองค์กรลงทุนไปกับเทคโนโลยีแล้ว จำนวนผู้ใช้งานเปรียบเทียบกับกรณีที่ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีผู้ใช้งานเท่าเดิมบนกิจกรรมนั้น ๆ  หรือมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น แนวโน้มเหล่านี้ทำให้เราพอบอกได้ว่า เทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่ 

5.2 จำนวนกระบวนการที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงหรือไม่

ก่อนที่องค์กรจะลงทุนในดิจิทัลเทคโนโลยี คงมีการคำนวณไว้แล้วว่าจะช่วยกระบวนการเดิมได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีมาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะในองค์กรหรือติดต่อกับลูกค้า ยังต้องคำนึงว่า มีกระบวนการใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ ดังนั้นนอกจากคำนึงถึงจำนวนกระบวนการแล้ว ยังต้องคำนึงถึงภาพรวมทั้งหมดว่าใช้เวลาตั้งแต่ต้นจนจบนานขึ้นหรือไม่ ลูกค้าต้องรอนานกว่าผลลัพธ์จะออกมาหรือไม่ และท้ายที่สุด ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนหรือไม่

5.3 รายได้ใหม่ที่เกิดขึ้นต่อการลงทุนทางดิจิทัลเทคโนโลยี

องค์กรสามารถวัดผลได้ว่า รายได้ (ที่ควรจะเพิ่มขึ้น) ต่อการลงทุนทางดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นอย่างไร เช่น การลงทุนในระบบอัตโนมัติที่ดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อผ่านระบบอัตโนมัตินี้มีมากเท่าใด คุ้มค่าเงินลงทุนหรือไม่ หรือการใช้ระบบเดิม ๆ ได้ผลดีกว่า หรือควรเปลี่ยนระบบอัตโนมัติที่ใช้อยู่ เป็นต้น

Digital Transformation Strategy Customer

นำดิจิทัลเทคโนโลยีมาเสริมและประเมินผลลัพธ์รายได้และความพอใจของลูกค้า

6. เริ่มต้น Digital Transformation ได้ง่ายที่สุดที่นี่

ในทุก ๆ องค์กรล้วนมีกระบวนการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันเป็นมาตรฐาน หรืออยากให้เป็นมาตรฐาน Teachme Biz เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งในราคาย่อมเยาว์ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่าย เพราะ Teachme Biz เป็นแพลตฟอร์มระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่ทำให้พนักงานทุกคนเข้าถึงได้ง่ายเพียงแค่มีอุปกรณ์เช่น สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ต ก็ทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจกระบวนการทำงานได้เป็นแบบเดียวกัน โดยเน้นทีการแสดงผลเป็นรูปภาพ หรือวิดีโอพร้อมเสียง จึงเข้าใจง่ายกว่าการอ่านตัวหนังสือเป็นหน้า ๆ แม้จะอยู่ต่างสาขา ต่างสถานที่ก็สร้างมาตรฐานของพนักงานให้เหมือนกันได้ นับเป็นอีกก้าวง่าย ๆ สำหรับการเป็นองค์กร Digital Transformation

Create SOP manual effectively

Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !  

Pin It on Pinterest

Share This
Optimized with PageSpeed Ninja