สาเหตุที่ตัดสินใจใช้ |
พนักงานลาออกบ่อย อยากให้พนักงานใหม่ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันที |
---|
ชื่อบริษัท |
ISID SOUTH EAST ASIA (THAILAND) CO., LTD. |
---|---|
เว็บไซต์ |
https://www.isidsea.co.th/th/ |
ที่อยู่ |
13th Floor, Ramaland Building No. 952 Rama IV Rd, Khwaeng Suriyawong Bang Rak, Bangkok 10500 |
จำนวนพนักงาน |
– |
ประเภทธุรกิจ |
Information Technology |
รายละเอียดทางธุรกิจ |
ให้คำปรึกษา ซัพพอร์ต พัฒนา และจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ |
การใช้งาน |
คู่มือการต้อนรับ คู่มือการดูแลสถานที่และสาขา |
ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตและขยายโอกาสในตลาด
・เปิดธุรกิจในประเทศไทยเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต
iSiD เป็นบริษัทไอทีระดับโลกที่มีพนักงานรวม 2,700 คน ดำเนินธุรกิจหลัก 4 ประเภทคือให้คำปรึกษา ให้การซัพพอร์ต พัฒนา และจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบมาร์เก็ตติ้งและการบริหารองค์กร เช่น การผลิต การเงิน บุคลากร หรือการบัญชี ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์ที่เราเป็นผู้พัฒนาเองแล้ว ยังเป็นตัวแทนให้บริการผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นอีกด้วย ซึ่ง Teachme Biz ก็เป็นหนึ่งในบริการที่เราดูแล
บริษัทเราเริ่มให้บริการในไทยเมื่อปี 2013 ด้วยเป้าหมายหลักคือ การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่น ดังนั้นกว่า 95% ของลูกค้าจึงเป็นบริษัทญี่ปุ่นครับ ส่วนใหญ่แล้วระบบของเราจะถูกนำไปใช้ในแผนกวิศวกรรมในอุตสาหกรรมการผลิต ตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต กระบวนการผลิต และขนส่งโลจิสติกส์
ปัจจุบันเราให้บริการบริษัทด้านอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นถึง 2,000 ราย ซึ่งแน่นอนว่าเรามีเครือข่ายที่แข็งแกร่งโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้จุดแข็งของเราคือ พนักงานคนไทยของเรามีความแม่นยำในการทำงาน และทักษะทางด้านเทคนิคก็ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับธุรกิจทางการเงิน โดยจำหน่ายแพคเกจผลิตภัณฑ์สำหรับบริษัท Leasing โดยเฉพาะ ซึ่งจัดทำขึ้นโดย iSiD เซี่ยงไฮ้
・พนักงานคนไทยเป็นผู้นำเสนองานให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริหารชาวไทย
ผมได้รับมอบหมายให้มาทำงานในสาขาที่ประเทศไทยได้ 3 ปีแล้ว ทำให้ได้เห็นปัญหาต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ “ถ้าที่ญี่ปุ่นทำไม่ได้ ที่ไทยก็ทำไม่ได้เช่นกัน” และ “อยากลองสิ่งที่ไม่เคยทำที่ญี่ปุ่นดู เพราะที่นี่คือประเทศไทย” ซึ่งสิ่งที่บริษัทเราเลือกคืออย่างหลัง เพราะการใช้วิธีปฏิบัติแบบญี่ปุ่นนั้นไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเมื่อมาใช้ที่ไทยได้เสมอไป
แต่เดิมภายในบริษัทญี่ปุ่นนั้น อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นของคนญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันเริ่มมีการนำเสนอสิ่งต่างๆ จากพนักงานชาวไทยระดับปฏิบัติการ (Bottom-up) มากขึ้น และพนักงานชาวไทยระดับผู้จัดการที่มีอำนาจในการตัดสินใจก็เพิ่มมากขึ้น เราจึงพยายามร่วมมือกับสต๊าฟคนไทยของเราในการเข้าถึง Key person ชาวไทยของลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ปัจจุบันบริษัทเราพยายามมุ่งเน้นการเข้าถึงบริษัทของคนไทยด้วยเช่นกัน
สต๊าฟชาวไทยของเราคุ้นเคยกับฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี แต่ยังคงขาดประสบการณ์ในการตั้งค่าและใช้งานซอฟต์แวร์ในสถานการณ์จริงเมื่อเทียบกับทางญี่ปุ่น เราจึงพยายามจัดเทรนนิ่ง หรือพาพวกเขาไปประชุมกับลูกค้าจริงๆ ไม่ใช่แค่ที่สำนักงานใหญ่และภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงที่ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเยอรมัน ด้วย เป็นระบบที่จะทำให้เข้าใจวิธีการใช้งานในสถานการณ์จริง เพิ่มความสามารถในการประยุกต์ใช้ด้วยการคลุกคลีกับผู้พัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถในการนำเสนอ
Managing Japanese Coordinator, Mr.Keisuke Tamai
・ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
Teachme Biz ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่าง อย่างแรกคือ การเพิ่มประสิทธิภาพงานซัพพอร์ตลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิต ปัจจุบันเราขายและให้บริการซอฟต์แวร์มากกว่า 20 ชนิด แต่ประเทศไทยมีอัตราการลาออกจากงานของพนักงานสูงมาก ทำให้มักจะได้รับคำถามเดิมๆ จากลูกค้าบ่อยๆ เช่นเดียวกันกับลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์มากกว่า 100 คน
เรามีนโยบายในการใช้ Teachme Biz ในการจัดเตรียมคำตอบที่เข้าใจง่ายไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะลดปริมาณงานเวลาที่มีคำถามซ้ำๆ เข้ามาจากลูกค้า และนอกจากนี้เราหวังว่าจะการใช้ภาพนิ่งและวิดีโอในการอธิบายจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นด้วย
・อยากใช้ประโยชน์กับงาน Operation เล็กๆ น้อยๆ
วัตถุประสงค์ที่สอง คือ ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยปรับปรุง Operation เพื่อต่อยอดไปสู่การขาย
บริษัทของเราร่วมพันธมิตรกับบริษัทซีเมนส์ (Siemens) ประเทศเยอรมัน ให้บริการระบบ IoT และโรงงานดิจิตอลให้กับอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เครื่องมือของซีเมนส์ในการสร้างแบบจำลองภายในโรงงาน และนำเสนอระบบโลจิสติกส์ Robot และระบบตารางการผลิต ซึ่งก็เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้คนไทยได้ใช้ซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของหน้างานจริงได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัญหาที่พบมากกับกลุ่มผู้ใช้งานซอฟต์แวร์คือการที่พนักงานลาออกบ่อย ผมจึงอยากให้ Teachme Biz เข้ามาช่วยให้พนักงานที่เพิ่งเข้าใหม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันที ซึ่งส่วนนี้ผมคิดว่าจะเป็นอาวุธลับสำคัญในการเข้าหาบริษัทคนไทยด้วย เพราะคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย นิยมการสื่อความหมายด้วยภาพ (Visual based) มากกว่าการอ่านตัวหนังสือแบบที่คนญี่ปุ่นคุ้นชิน
เราเพิ่งเริ่มใช้งาน Teachme Biz ได้ไม่นาน จึงต้องการเน้นใช้กับวัตถุประสงค์ที่สอง นั่นคือการขายก่อน ตอนนี้ตั้งใจว่าจะนำไปเสนอพวกบริษัทตัวแทนจำหน่าย หรือบริษัทน้ำมันที่กำลังดีลอยู่ โดยเสนอขายเฉพาะ Tools เป็นหลัก แต่แน่นอนว่าเราจะใช้ Teachme Biz เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แรกควบคู่ไปด้วย
・ให้ Teachme Biz เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ของเรา
ก่อนหน้านี้เราได้เชิญลูกค้าจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มาเข้าร่วมสัมมนาของ Teachme Biz ซึ่งพบว่ามีบริษัทไทยหลายแห่งที่ตอบแบบสอบถามว่า “สนใจ” หรือ “อยากใช้ทันที”
ที่ผ่านมาเราได้เสนอ Solution ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตว่าให้ “เปลี่ยนกระดาษเป็นแท็บเล็ต” “เปลี่ยนมาทำรีพอร์ตแบบอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องกรอกข้อมูลจากกระดาษลงคอมพิวเตอร์” ซึ่งถ้าใช้ Teachme Biz จากแท็บเล็ตที่นำเข้าไปที่หน้างานในการเช็ควิธีการทำงานที่ถูกต้องได้ก็น่าจะดี และถ้าสามารถนำเสนอ Teachme Biz ไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่พวกเรานำเสนอลูกค้ามาตลอดได้ก็จะยิ่งดีมากเลยครับ
ผมอยากนำแผนการที่ประสบความสำเร็จที่นี่ไปใช้ที่ญี่ปุ่นด้วย โดยส่วนตัวแล้วผมกำลังทดลองอะไรใหม่ๆ ที่ไทยอยู่ (หัวเราะ) เลยคิดว่าต่อไปจะดำเนินธุรกิจแนวรุกโดยใช้ Teachme Biz เป็นตัวช่วยครับ
ตัวอย่างผู้ใช้งานอื่นๆ
QUALICA (Thailand) Co., Ltd.
ลดภาระการอบรมพนักงานใหม่ สร้างความมั่นใจให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนลูกค้าบริษัท QUALICA (Thailand) Co., Ltd. ผู้ให้บริการด้าน IT Solutions เช่น บริการ Cloud, การพัฒนาระบบการทำงาน,...
KORAT MATSUSHITA
เปลี่ยนผ่านสู่ยุค IoT กับคู่มือปฏิบัติงาน Work Instructions แบบดิจิตัลบริษัท โคราช มัตสึชิตะ จำกัด (KMC) ผู้รับผลิตอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอะไหล่รถยนต์...
Tokyo Consulting Firm Co., Ltd.
Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. "วางแผนจัดการคู่มือไว้ล่วงหน้า" หลีกเลี่ยงการมีคู่มือแต่ไม่ถูกใช้งานลดภาระในการส่งมอบงานและอัตราการลาออก วัตถุประสงค์: หลีกเลี่ยงภาระงานที่ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และสร้างมาตรฐานการทำงาน ปัญหา: ผู้รับผิดงานชอบลาออก...