062-295−6588 contact-th@studist.co.th

มิติใหม่ของการ “ถ่ายทอดเทคนิค” ที่เรียบง่ายและเข้าใจง่าย

ชื่อบริษัท

บริษัท Daitetsu Seikou

เว็บไซต์

www.daitetsuseikou.com

ที่อยู่

5-285 Hikonari, Misato-shi, Saitama

จำนวนพนักงาน

3 คน

ประเภทธุรกิจ

อุตสาหกรรมการผลิต

รายละเอียดทางธุรกิจ

การแปรรูปโลหะ

การใช้งาน

คู่มือการใช้งานระบบ/อุปกรณ์​

วัตถุประสงค์

ถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีด้วยระยะเวลาสั้น ต้นทุนต่ำ และได้คุณภาพสูงสุด

ปัญหา

ตระหนักว่าข้อมูลที่แชร์ด้วยสมุดกระดาษอาจสูญหายหรือถูกขโมย

ผล

เข้าใจกระบวนต่างๆได้ง่ายจากภาพปฎิบัติงานจริง

 

มิติใหม่ของการ “ถ่ายทอดเทคนิค” ที่เรียบง่ายและเข้าใจง่าย

บริษัท Daitetsu Seikou (จังหวัดไซตามะ เมืองมิซาโตะ) เป็นผู้ผลิตโลหะแปรรูป ที่เชี่ยวชาญด้านงานตัด

บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการความแม่นยำสูงมาก ยกตัวอย่างเช่นเครื่องมือแพทย์ หรือชิ้นส่วนเรือดำน้ำ เรารับทำชิ้นส่วนตั้งแต่ 1 ชิ้นจนไปถึงล็อตขนาดกลาง ประมาณ 100 ชิ้น โดยเฉพาะงานที่หลาย ๆ บริษัทคิดว่ายากเราก็รับทำ จุดแข็งของบริษัทเรา คือ ความสามารถในตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่นเนื่องจากรับงานที่ยากอยู่เสมอ

บริษัท ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.2012 เพื่อความอยู่รอดในโลกการผลิตที่มีการแข่งขันสูงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแสวงหา “เทคโนโลยี” พร้อมไปกับการสะสมและแบ่งปัน เพื่อที่สามารถผลิตงานที่ “คุณภาพสูง ราคาต่ำ และ ส่งมอบรวดเร็ว”  ในครั้งนี้เราได้พูดคุยกับคุณมิชิทากะ คิโนชิตะ ประธานบริษัท เกี่ยวกับการนำ Teachme เข้ามาใช้และวิธีการใช้งาน

Know-how ที่สะสมเพิ่มเติมทุกวัน ควรจะจดไว้แค่ใน “สมุดบันทึก” หรือ ?

Daitetsu Seikou ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.2012 โดยประธานคิโนชิตะ จุดแข็งของบริษัทคือ เทคนิคระดับสูงที่สามารถจัดการ “งานยาก” พร้อมกับการควบคุมคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยทั่วไป “งานยาก” ในอุตสาหกรรมการผลิตหมายถึงงาน “ยากทางเทคนิค” ที่ต้องใช้ล็อตจำนวนน้อย (จำนวนผลิตภัณฑ์) ต้องการความแม่นยำสูงและต้องใช้เทคนิคการแปรรูปพิเศษ ความรู้ทางเทคนิคเป็นที่มาของความสามารถในการแข่งขัน ในการตอบสนองต่องานดังกล่าวได้อย่างยืดหยุ่นและรักษาความสมดุลของคุณภาพ ราคา และเวลาการส่งมอบ

” ผมได้จดบันทึกสิ่งที่ผมได้เรียนรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับงานประจำวันลงในสมุด เพื่อแบ่งปัน know-how ให้กับพนักงาน” (ประธานคิโนชิตะ)

แม้ว่าประธานคิโนชิตะเองได้แบ่งปันความรู้ที่จดไว้ในสมุด แต่เขาก็เริ่มรู้สึกถึงปัญหาในเวลาเดียวกัน

” ผมสามารถจดบันทึกในสมุดได้ง่าย ๆ ก็จริง แต่มีบางส่วนที่เข้าใจได้ยากเนื่องจากภาพประกอบที่เขียนด้วยลายมือ นอกจากนี้เมื่อสมุดบันทึกก็ยิ่งสกปรกและขาดรุ่งริ่งไปเรื่อย ๆ และยังกังวลว่าจะสูญหายหรือถูกขโมยอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผมเริ่มพบว่ามันยากที่จะค้นหาเวลาที่จะใช้งาน “

สามารถทำงานและสะสมความรู้ได้ในเวลาเดียวกัน คู่มือที่ทำง่าย และ “เข้าใจ”

 

ประธานคิโนชิตะรู้สึกถึงข้อจำกัดของการแชร์ข้อมูลทางเทคนิคทางสมุดบันทึกได้รู้จัก Teachme ในงานสัมมนาแห่งหนึ่ง

“ความน่าสนใจอยู่ที่แค่ใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูปก็สร้างคู่มือได้แล้ว หลังงานสัมมนาเลยทดลองใช้กับพนักงาน และพบว่าสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วทันทีจึงตัดสินใจนำ Teachme เข้ามาใช้”

ในอุตสาหกรรมการผลิตมีคำว่า “Sangenshugi” แนวคิดคือสถานที่ปฏิบัติงานจริง (Genba) ชิ้นงานจริง (Genbutsu)  และความจริง ( Genjitsu) เป็นสิ่งสำคัญ ประธานคิโนชิตะกล่าวว่าความรู้มากมายที่ถูกทิ้งไว้ในสมุดบันทึกที่ผ่านมา ปัจจุบันสามารถเก็บไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงาน ชิ้นงานของจริงและความจริงก็สามารถเก็บไว้ในรูปแบบภาพถ่ายทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก

ไม่ใช่ผมเท่านั้นแต่พนักงานก็ต้องทำคู่มือด้วย ทำให้ผมสามารถรู้ได้ว่าพนักงานทำงานอย่างไร แล้วการหารือเรื่องทางเทคนิคยังเข้าใจง่ายมากขึ้นด้วย ผมรู้สึกว่าการดูคู่มือประกอบการสอนทำให้สอนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าวิธีแบบเมื่อก่อนที่ให้ดูและจดจำ

นอกจากนี้ประธานคิโนชิตะยังพูดเกี่ยวกับขนาดของบริษัท และวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยว่า

“ แม้ในองค์กรขนาดเล็กอย่างเรา แต่ละงานก็ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคมากมาย ด้วยจำนวนคนที่น้อยเลยดูเหมือนน่าจะเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่ก็มีเรื่องที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจกันบ่อยๆ ไม่ว่าบริษัทจะมีขนาดเท่าไร ผมคิดว่าการเก็บความรู้ให้เรียบร้อยเป็นระบบก็เป็นสิ่งสำคัญ”

การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นแหล่งกำเนิดของความสามารถในการแข่งขัน

การถ่ายทอดความรู้และ know-how ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น เราทุกคนต้องสั่งสมทักษะความรู้ และแชร์สิ่งเหล่านั้นภายในองค์กร เพื่อยกระดับความสามารถของบริษัทให้สูงขึ้น ซึ่งบริษัทที่สามารถแบ่งปันสิ่งเหล่านั้นกันได้นั่นเองจึงจะอยู่รอดจากการแข่งขันที่ยากลำบาก

“งานหลักของเราคือเทคโนโลยีการตัด เป็นเรื่องปกติสำหรับพนักงานที่จะต้องพัฒนาทักษะส่วนตัวของพวกเขา แต่ถ้ามีข้อมูลหรือทักษะที่มีคนรู้และเข้าใจแค่คนนั้นคนเดียวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็นับเป็นความเสี่ยงของบริษัท

“เราจะเปลี่ยนความรู้ของเราเป็นสินทรัพย์ของบริษัทได้อย่างไร มีวิธีการต่างๆ มากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือการลองสิ่งใหม่ ๆ เช่นสมาร์ทโฟน และบริการคลาวด์”

ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะมีขนาดใหญ่ขนาดไหน หรือผลิตภัณฑ์จะมีชื่อเสียงเพียงใด ทุกผลิตภัณท์ย่อมประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทุกชิ้น  เรามีความภาคภูมิใจในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่น และความพยายามที่จะยกระดับและแบ่งปันความรู้ที่สนับสนุนความภาคภูมิใจนี้เพิ่งจะเริ่มขึ้นเท่านั้นเอง 

ตัวอย่างผู้ใช้งานอื่นๆ

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. "วางแผนจัดการคู่มือไว้ล่วงหน้า" หลีกเลี่ยงการมีคู่มือแต่ไม่ถูกใช้งานลดภาระในการส่งมอบงานและอัตราการลาออก วัตถุประสงค์: หลีกเลี่ยงภาระงานที่ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และสร้างมาตรฐานการทำงาน ปัญหา: ผู้รับผิดงานชอบลาออก...

GLOBAL B (THAILAND)

GLOBAL B (THAILAND)

 GLOBAL B (THAILAND) CO., LTD.เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบคำถามลูกค้า ได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว วัตถุประสงค์:ใช้คู่มือเพื่อให้บริการซัพพอร์ต ตอบคำลูกค้า ปัญหาที่เคยพบ:ใช้เวลามากในการสร้างและจัดการคู่มือ ผลลลัพธ์:ลดจำนวนคำถามจากลูกค้า ลดเวลาในการช่วยเหลือซัพพอร์ต...

CAPICHI

CAPICHI

CAPICHI PTE. LTD.หมดปัญหาการเสียเวลาออกแบบคู่มือ ซัพพอร์ตการขยายสาขาไปยังต่างประเทศ วัตถุประสงค์:สร้างคู่มือเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับทุกสาขา ก้าวข้ามอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม ปัญหาที่เคยพบ:สื่อสารผิดพลาดระหว่างสาขาต่างประเทศ ผลลลัพธ์:ลดเวลาในการสร้างคู่มือ เหลือเพียง 1...

Pin It on Pinterest