062-295−6588 contact-th@studist.co.th

【User Interview】ร้านอาหาร Otaru Masazushi

สาเหตุที่ตัดสินใจใช้

 ต้องการให้การทำงานทุกขั้นตอน

มีมาตรฐานเดียวกัน

ชื่อบริษัท

ร้านอาหาร Otaru Masazushi

เว็บไซต์

https://masazushi.co.th/th/

ที่อยู่

ICONSIAM ฝั่ง SIAM TAKASHIMAYA ชั้น4 โซน Rosedining 299 ซอย เจริญนคร 5 , Bangkok 10600

จำนวนพนักงาน

ประเภทธุรกิจ

Restaurant

รายละเอียดทางธุรกิจ

ร้านซูชิ

การใช้งาน

ให้ Teachme Biz เป็นเครื่องมือส่งเสริม “การสร้างความอร่อย จัดการพนักงาน และรังสรรค์ความสุข”​ ​

 

・ ตอบรับขอเสนอการเปิดสาขาที่ไทยในที่สุด

Otaru Masazushi เป็นร้านซูชิที่ก่อตั้งโดยคุณปู่ของผม ปัจจุบันมีร้านในเมืองโอตารุ ฮอกไกโดอยุ่ 2 แห่ง และนอกจากนี้เรายังมีสาขาที่โตเกียว คือ กินซ่าและชินจูกุ เมื่อรวมกับร้านที่กรุงเทพแล้ว เรามีทั้งหมด 5 สาขาครับ
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งร้านมาคุณปู่ของผมก็เริ่มทำซูชิภายใต้คติที่ว่า ” เราจะสร้างสรรค์ซูชิแสนอร่อยให้กับผู้คนให้ได้มากที่สุด” ในฐานะที่ผมเป็นรุ่นสืบทอดที่3 ผมยังคงมุ่งมั่นในเป้าหมายนี้ทุกๆวัน ทำซูชิอร่อยๆให้ทั่วโลกได้ชิมกันครับ
สำหรับการขยายกิจการในต่างประเทศนี้ เราได้รับข้อเสนอดีๆจากหลายแห่ง เช่น นิวยอร์ก และอาบูดาบี แต่ครั้งนี้เราได้ตัดสินใจเข้าร่วมตามคำเชิญของทาง Takashimaya ที่จะเปิดร้านเป็นผู้เช่าหลักของห้าง Icon Siam และเปิดสาขาต่างประเทศที่ไทย

จริงๆแล้วผมได้ปฏิเสธในครั้งแรก เพราะในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว เราค่อนข้างยุ่งกับขั้นตอนการสืบทอดธุรกิจที่ญี่ปุ่น บวกกับเป็นช่วงที่ผมเริ่มเข้ามากำกับดูแลรายการทีวีเต็มรูปแบบ จึงไม่สามารถบริหารเวลาให้เพียงพอได้ อย่างไรก็ตาม ในท้ายสุดผมตัดสินใจที่จะตอบรับข้อเสนอที่กระตือรือร้นของ Takashimaya และเข้ามาเริ่มต้นที่ประเทศไทย

・ปรับการเข้าถึงลูกค้าโดยกิจกรรม SNS

แม้ว่าสาขาในกรุงเทพที่เปิดในเดือนพฤศจิกายนปีก่อน จะมีผลการดำเนินงานที่ดีจนจบเดือนธันวาคม แต่จำนวนลูกค้าก็ลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปีใหม่ที่แล้ว ดังนั้นเราจึงมุ่งเน้นการสร้างโปรโมชั่นบนสื่อต่างๆ เช่น Instagram, Facebook และโฆษณานิตยสาร เพื่อเพิ่มการดึงดูดและเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จำนวนลูกค้าของเราจึงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ประมาณเดือนเมษายนและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่นั้นมา​ ​

ปัจจุบัน 80-90% ของลูกค้าเราเป็นชาวไทย แม้ว่าผมจะผลิตซูชิสำหรับคนญี่ปุ่นในกินซ่ามากว่า 10 ปีแล้ว การทำซูชิให้ลูกค้าไทยก็จะไม่เปลี่ยนแปลง เราจะยังคงสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าไทยโดยไม่ทำซูชิให้เป็นแนวฟิวชั่นหรือละทิ้งมาตรฐานแน่นอนครับ

ที่ Otaru Masazushi เราให้บริการซูชิแบบ “Ezo-mae” โดยเราจะเพิ่มความเข้มข้นของเกลือเล็กน้อยเพื่อตอบรับกับความชอบของคนไทย แต่ด้วยความที่เรามีวัสดุที่สดใหม่ส่งตรงจากฮอกไกโดจึงได้เปรียบในการให้บริการซุชิ “Ezo-mae“ มากที่สุด

Otaru Masazushi CEO, Mr.Takashi Nakamura​ ​

・ เปลี่ยนมาตรฐานการทำงานให้เห็นภาพด้วยแผน 10 ปี

ผมได้รู้จักเกี่ยวกับ Teachme Biz จากงานแนะนำธุรกิจที่จัดขึ้นโดยธนาคาร เมื่อผมเห็นมันครั้งแรกผมคิดว่ามันเหมาะมาก มันอาจจะดูพูดเกินจริงไปหรือเปล่าที่จะบอกว่าผมหลงรักเครื่องมือประเภทนี้ (หัวเราะ)

เป้าหมายของการใช้งาน คือ การทำให้คู่มือมาตรฐานการทำงานที่ผมสร้างเป็นเล่มเปลี่ยนออกมาถ่ายทอดเป็นภาพ โดยมาตรฐานการทำงานที่ว่านี้ผมได้รวบรวมมันออกมาเกือบ 170 หน้า มันอาจจะเหลือเชื่อที่ว่าปรัชญาองค์กรของ Otaru Masazushi มีเนื้อหาตั้งแต่รายการสูตรอาหารไปจนถึงวัฒนธรรมการให้บริการลูกค้าที่เราใส่ใจ ดังนั้นผมคิดว่ามันต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ผมตั้งใจที่จะทำให้มาตรฐานการทำงานทั้งหมดนั้นเข้าไปอยู่บน Teachme Biz โดยขอตั้งชื่อแผนการนี้ว่า“ แผน 10 ปี”

ข้อดีของ Teachme Biz คือคุณสามารถมองเห็นพนักงานทุกที่ทุกเวลา การบันทึกวิธีการต่างๆนั้นง่ายมากครับ ตัวอย่างเช่น การแนบกล้อง“ GoPro” ไว้บนศีรษะเพื่อถ่ายวิดีโอการปั้นซูชิในระดับเดียวกับการมองของเรา ผู้ดูก็จะสามารถเข้าใจขั้นตอนและทำตามได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ Teachme Biz นั้นง่ายต่อการอัพเดต ดังนั้นทุกคนจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลสดใหม่ได้ตลอดเวลา ผมวางแผนที่จะทำวิดีโอเกี่ยวกับความล้มเหลวและความรู้ที่ยากที่จะทำเป็นคู่มือและนำมาแชร์ให้กับพนักงานเพื่อต่อยอดการนำไปใช้ในการทำงานครับ

・ใช้ Teachme Biz เพื่อมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

ผมเชื่อว่า Teachme Biz เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากในการส่งเสริมปรัชญาของ Otaru Masazushi ที่ว่า “การสร้างความอร่อย จัดการพนักงาน และรังสรรค์ความสุข” ในปัจจุบันเรามีพนักงานทั้งหมด 150 คนและผมมีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและเผยแพร่ปรัชญาขององค์กรให้กับพนักงานมาอย่างยาวนาน มันค่อนขางเป็นปัญหาสำหรับผมมาก เพราะถ้าเพียงถ่ายทอดออกไปผิดเล็กน้อย มันอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดให้การทำงานได้ทันที

ผมจะถ่ายทอดปรัชญาการจัดการของเราทุกครั้งในงานบริษัทประจำปีและงานประชุมผู้บริหาร แต่มันก็เป็นวิธีเดียวกับการแจกเครื่องดื่มชูกำลังพวกเขาตื่นตัวพร้อมปฏิบัติงานทันที แต่มันยากที่จะรักษาการทำงานที่ถูกต้องนี้เอาไว้ให้นาน ในทางกลับกันหากเราเปลี่ยนการอธิบายเป็นภาพเคลื่อนไหวบน Teachme Biz เราก็จะสามารถตรวจสอบได้ทุกที่ เพียงแค่นี้มันก็จะเพิ่มประสิทธิภาพทางความคิดให้กับคนของเรา

หากแต่ละคนทำงานด้วยเป้าหมายที่แตกต่างกัน เราก็จะไม่เป็นทีมที่แข็งแกร่งได้ พลังของทีมนั้นจะไปได้สุดก็ต่อเมื่อทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผมจึงอยากใช้ Teachme Biz เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดปรัชญาการจัดการและแนวคิดของผมเพื่อสร้างแรงร่วมมือร่วมใจในองค์กรครับ

・ วางแผนที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับลูกค้า

หลังจากที่ผมมาประเทศไทย ผมก็รู้สึกได้ว่าสิ่งที่จำเป็นสำหรับร้านอาหารในญี่ปุ่นและประเทศไทยนั้นมีความแตกต่างกัน ในญี่ปุ่นลูกค้ามักจะสนใจเวลาที่เราแนะนำรายละเอียดเช่นว่า “เรารับปลานี้มาจากที่ไหนและเมื่อไร” แต่ถ้าเป็นที่ไทย ลูกค้าจะสนใจว่าเมนูนี้มีเฉพาะที่ร้านเราเท่านั้นหรือเปล่า หน้าตาสวยหรือตกแต่งมีสไตล์ สามารถถ่ายรูปลง Instagram ได้ไหม​ ​

ด้วยเหตุนี้ เชฟจึงสร้างตัวการ์ตูนหน้าตาของผมเองประทับตราลงบนไข่ม้วน เพื่อให้เป็นเมนูพิเศษสำหรับลูกค้าและสร้างสรรค์ไอเดียต่าง ๆ ที่คนไทยชอบมากขึ้น การใช้ Teachme Biz ก็เป็นสิ่งใหม่ที่ผมอยากจะนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าไทยเช่นกัน เพราะการใช้งานมันไร้ขีดจำกัดเลยครับ

สำหรับสาขากรุงเทพผมอยากทำวิดีโอเกี่ยวกับวิธีการรับประทานซูชิในด้านต่างๆ เช่น “การทานซูชิกับเหล้า” และ “ปริมาณวาซาบิ” นอกจากนี้เรายังจะสร้างคู่มือแผนที่ร้านอาหารเพื่อนำทางลูกค้ามายังร้านของเราในลักษณะที่เข้าใจง่ายด้วยภาพ Otaru Masazushi ตั้งอยู่ในบริเวณโซนร้านอาหาร Rose Takashimaya ของ Siam Takashimaya แต่ที่ตั้งร้านค่อนข้างหายากและลูกค้าหลายคนบอกว่ามันยากที่จะหาเจอ บางท่านคิดด้วยซ้าว่าร้านผมเป็นห้องน้ำครับ (หัวเราะ)

​ ​ดังนั้นเราจะใช้ Teachme Biz มาใช้ในการอธิบายที่ตั้งร้านและทำจุดสังเกต ผมคาดว่านี่ช่วยลดโอกาสที่ลูกค้าจะหลงทางได้อย่างมากเลยครับ

・ หากไม่ใช้หัวใจบริการ คุณก็จะไม่ได้กลุ่มคนเหล่านั้นมาเป็นแฟน
ร้านซูชิเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากในโลก ผมเคยมีช่วงเวลาที่ยากในการเปิดสาขาที่กินซ่า ร้านซูชิในกินซ่านั้นเป็นที่นิยมอย่างมากและมีตลาดแข่งขันกันเชือดเฉือน โดยภายใน 3 ปีเหลือร้านอยู่ 70% และลดเหลือเพียง 30% ใน 7 ปี การอยู่รอดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เพียงแค่มีซูชิแสนอร่อยเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจไปได้

เราต้องจัดการสิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบ เลือกสิ่งที่ลูกค้าชอบและตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ ประเทศไทยก็เช่นกัน สำหรับลูกค้าที่มาทานซ้ำ โดยลูกค้าที่มาร้านในครั้งที่ 3 เราจะมอบสิทธิพิเศษให้เขาได้ดื่มด่ำกับความเหนือระดับทั้งอาหารและบริการครับ​ ​

ทั้งนี้เราจะใช้ Teachme Biz ในสาขาประเทศไทยและญี่ปุ่นให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อส่งเสริม “ การสร้างความอร่อย จัดการพนักงาน และรังสรรค์ความสุข” ในทุกวันต่อๆไป

ตัวอย่างผู้ใช้งานอื่นๆ

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. "วางแผนจัดการคู่มือไว้ล่วงหน้า" หลีกเลี่ยงการมีคู่มือแต่ไม่ถูกใช้งานลดภาระในการส่งมอบงานและอัตราการลาออก วัตถุประสงค์: หลีกเลี่ยงภาระงานที่ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และสร้างมาตรฐานการทำงาน ปัญหา: ผู้รับผิดงานชอบลาออก...

GLOBAL B (THAILAND)

GLOBAL B (THAILAND)

 GLOBAL B (THAILAND) CO., LTD.เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบคำถามลูกค้า ได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว วัตถุประสงค์:ใช้คู่มือเพื่อให้บริการซัพพอร์ต ตอบคำลูกค้า ปัญหาที่เคยพบ:ใช้เวลามากในการสร้างและจัดการคู่มือ ผลลลัพธ์:ลดจำนวนคำถามจากลูกค้า ลดเวลาในการช่วยเหลือซัพพอร์ต...

CAPICHI

CAPICHI

CAPICHI PTE. LTD.หมดปัญหาการเสียเวลาออกแบบคู่มือ ซัพพอร์ตการขยายสาขาไปยังต่างประเทศ วัตถุประสงค์:สร้างคู่มือเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับทุกสาขา ก้าวข้ามอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม ปัญหาที่เคยพบ:สื่อสารผิดพลาดระหว่างสาขาต่างประเทศ ผลลลัพธ์:ลดเวลาในการสร้างคู่มือ เหลือเพียง 1...

Pin It on Pinterest

Optimized with PageSpeed Ninja