062-295−6588 contact-th@studist.co.th

ส่งต่อความรู้ได้ด้วยมือเดียว “ความพอดี” คือกุญแจที่นำไปสู่ประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการทำคู่มือได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาว่าง

ปัญหา

การทำคู่มือต้องมีเวลามานั่งทำอย่างตั้งใจ

ผล

วางรากฐานให้สามารถส่งต่อความรู้ได้ “ด้วยมือเดียว”

ชื่อบริษัท

บริษัท hototo corporation

เว็บไซต์

http://hototo.jp/

ที่อยู่

41010 Makioka-chō, Somaguchi, Yamanashi-shi, Yamanashi

จำนวนพนักงาน

10 – 50 คน

ประเภทธุรกิจ

ธุรกิจการเกษตร

รายละเอียดทางธุรกิจ

ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ฝึกสอนงานทางการเกษตร ศูนย์ประสบการณ์ทางการเกษตร ศูนย์ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการทำการเกษตร

การใช้งาน

คู่มือการใช้งานอุปกรณ์และการบริหารสาขา

รายงาน

Mr. Atsushi Mizukami ซึ่งเป็นตัวแทนของ บริษัท ผลิตสินค้าเกษตร “Hototo” ได้ทำงานในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยมี NY เป็นสนามรบหลักมาตั้งแต่เด็ก หลังจากประสบกับสิ่งก่อสร้างเร่งด่วนในดูไบเขาบอกว่าเขากลับไปที่บ้านของเขาและเริ่มทำธุรกิจเกษตรซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวในฐานะ “เข็มทิศที่ใช้กระตุ้นหัวใจ”

​ ​”เสน่ห์ของ Teachme Biz คือ ‘ความพอดี’ ที่อยู่ระหว่าง ‘ความตึง’ กับ ‘ความหย่อน’ ครับ” ‘ความพอดี’ ที่คุณมิซุคามิพูดถึงนั้นคืออะไร เราจะมาพูดคุยกันตั้งแต่สาเหตุที่นำ Teachme Biz เข้ามาใช้ จนถึงวิธีการใช้ด้วย

เพราะ “ต้องทำทุกอย่าง” จึงต้องใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพที่สุด

สัมภาษณ์ที่ "Tsuchitomi" ซึ่งบริหารโดย hototo เป็นการสัมภาษณ์นอกสถานที่ครั้งแรกสำหรับเคส Teachme

สัมภาษณ์ที่ “Tsuchitomi” ซึ่งบริหารโดย hototo เป็นการสัมภาษณ์นอกสถานที่ครั้งแรกสำหรับ Teachme Biz

ณ ยามานาชิที่รายล้อมไปด้วยทิวเขา จุดเด่นของที่นี่คือมีแสงแดดยาวนานที่สุดในประเทศเพราะก้อนเมฆถูกทิวเขากั้นเอาไว้ และเมื่อมีแสงแดดยาวนาน การเกษตรก็เฟื่องฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกผลไม้ที่ได้ผลผลิตดีติดอันดับประเทศ ในบรรดาผลไม้เหล่านั้นผลผลิตองุ่นและลูกท้อก็อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศทีเดียว บริษัทโฮโตะโตะที่คุณมิซุคามิตั้งขึ้นมา ใช้สวนองุ่น “ซึจิโตะจิสึ” เป็นศูนย์กลางในการเปิดโรงเรียนการเกษตร จัดชั้นเรียนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง ไปจนถึงการทำโรงแรมและให้คำปรึกษาด้านการเกษตรด้วย นับเป็นบริษัทใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ “การเกษตร” อย่างหลากหลาย

“คำว่า ‘Hyakusho’ (ชาวนา) นั้นหมายความว่า ทำงานได้เป็นร้อยอย่าง เช่น บ้านที่ถ้าให้ผู้เชี่ยวชาญมาสร้างจะราคาหลังละหลายร้อยล้านเยน ถ้าเราทำกันเองก็ทำเสร็จได้ด้วยราคาแค่ไม่กี่แสน ต่อให้มีงบจำกัด ถ้ามีเวลาและมีคนก็ทำได้ เพราะฉะนั้นผมจึงจำใส่ใจไว้ตลอดว่าต้องใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพ” (คุณมิซุคามิ) “IT คือเครื่องมือที่เหมาะที่สุดในการทำให้งานมีประสิทธิภาพ” คุณมิซุคามิกล่าว ดูเหมือนว่าเขาจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจนถึงขีดสุด ด้วยการใช้ Dropbox ในการแขร์รูปกับพนักงาน สร้างกลุ่ม Facebook เอาไว้อัพเดทข้อมูลร่วมกัน และใช้ Mind Map ในการวางแผนจัดงานอีเวนท์หรือร้านอาหารต่างๆ เพราะเป็น ‘Hyakusho’ จึงมีงานที่ต้องทำให้สำเร็จด้วยตัวคนเดียวอยู่เยอะ เพื่อให้ได้การเกษตรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เขาจึงใช้บริการจากเว็บต่างๆ อยู่เสมอ

เคลื่อนไหวโดยคำนึงถึง “อนาคต” อยู่เสมอ

ช่วงที่สัมภาษณ์เป็นช่วงที่กำลังทำแยมจากสตรอเบอร์รี่ที่สุกงอมพอดี แน่นอนว่าคู่มือการทำแยมก็ใช้ Teachme Biz สร้างจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ช่วงที่สัมภาษณ์เป็นช่วงที่กำลังทำแยมจากสตรอเบอร์รี่ที่สุกงอมพอดี แน่นอนว่าคู่มือการทำแยมก็ใช้ Teachme Biz สร้างจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณมิซุคามิเคยบอกพนักงานเอาไว้ว่า “อยากให้ถ่ายภาพตอนทำงานเอาไว้เยอะๆ” รูปที่ถ่ายด้วยสมาร์ทโฟน จะถูกบันทึกเวลาและสถานที่เอาไว้ในไฟล์ Exif เรียบร้อยแล้ว ถ้าเอารูปมาเรียงกันเป็นตารางตามวันเวลาที่ถ่าย ก็จะได้เห็นการเจริญเติบโตของพืชผล ถ้าหากว่าการเจริญเติบโตไม่ดีนัก ก็สามารถดูประวัติจากสีหรือความใหญ่ได้ ทำให้ทราบว่า “สาเหตุ” เกิดจาก ความร้อน ความชื้นหรืออากาศอย่างไร ที่คุณมิซุคามิได้รู้จักกับ Teachme Biz นั้น ก็เพราะผู้จัดการร้านอาหารทะเลเป็นผู้แนะนำนั่นเอง ที่ร้านเดียวกันนี้ไม่อยากใช้ระบบหน้าร้าน POS ที่ทำงานยาก แต่ต้องการใช้สมาร์ทโฟนดูเมนูและสั่งอาหารมากกว่า ตอนที่หาสมาร์ทโฟนที่เหมาะกับร้านนี่เอง ที่ทำให้ได้รู้จักกับ Teachme Biz

​ ​”เกษตรกรรมเป็นงานที่ใครๆ ก็สามารถทำได้เลยทันที เพราะอย่างนั้นเราจึงต้องเก็บรักษาสิ่งที่ใครคนใดคนหนึ่งประสบพบเห็นมา เพื่อส่งต่อให้กับพนักงานในอนาคต ถ้าเป็น Teachme Biz ก็จะสามารถใช้รูปที่ถ่ายเก็บมาจนถึงตอนนี้เอามาทำคู่มือได้ และที่สำคัญที่สุดคือไม่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งตั้งใจทำคู่มือด้วย เลยตัดสินใจนำเข้ามาใช้ทันทีครับ” (คุณมิซุคามิ)

แนะนำฟังก์ชั่นการสร้างคู่มือ “สร้างคู่มือได้ในทุกเมื่อ”

“ข้อได้เปรียบใหญ่คือมือเดียวก็ทำได้”

ด้วยการนำ Teachme Biz เข้ามาใช้ทำให้มีการถ่ายรูปผ่านสมาร์ทโฟนระหว่างทำงานด้วยมือเดียว ถ้าจำเป็นจะต้องใส่ความเห็นอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถรวบรวมข้อมูลได้ตรงนั้นเลย ด้วยการใช้เพียง “มือเดียว” นี้เองเป็น “ข้อได้เปรียบข้อใหญ่” ดังที่คุณมิซุคามิกล่าวอย่างมั่นใจ “Teachme Biz ทำให้ไม่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ แต่สามารถทำคู่มือได้เลยในตอนที่ทำงานอยู่ในไร่ในสวน เรื่องอะไรที่พนักงานรู้สึกตัวขึ้นมาตอนระหว่างทำงาน หรืออะไรที่นึกขึ้นมาได้ตอนนั้น ก็สามารถแก้ไขคู่มือได้ทันที ทั้งการสร้างใหม่และรวบรวมก็ทำได้ด้วยสมาร์ทโฟน สามารถสร้างพื้นฐานการส่งต่อความรู้ได้ด้วย “มือเดียว” เท่านั้นครับ” (คุณมิซุคามิ)

เพียงเอารูปที่ถ่ายได้มาวางเรียงกันเท่านั้น รูปใดไม่จำเป็นก็ลบทิ้งไป ถ้าจำเป็นต้องอธิบายอะไรก็เขียนความคิดเห็นเพิ่ม เท่านี้คู่มือก็เสร็จเรียบร้อย โดยคุณมิซุคามิใช้เวลาว่างมาตรวจสอบและรวบรวมคู่มือที่พนักงานทำจากมือถือสมาร์ทโฟน

ที่โฮโตะโตะมีบริการสอนการทำการเกษตร ให้ลองลงมือทำการเกษตรจริงๆ ด้วย จึงมีพนักงานชั่วคราวหรือพนักงานที่ไม่คุ้นกับเกษตรกรรมอยู่หลายคน เมื่อก่อนก็จะใช้วิธีอธิบายปากเปล่าเป็นครั้งคราวไป แต่ตอนนี้สามารถส่งลิงค์ของ Teachme Biz ให้อ่านก่อนมาทำงานได้ ด้วยวิธีนี้ แม้จะไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด ก็สามารถดูภาพได้ทำให้พนักงานนึกภาพออกและเข้าใจงานเกษตรกรรมได้ในทันที

คลิกที่นี่สำหรับฟังก์ชั่นการเรียกดู “มองเห็นภาพรวมการทำงานได้ง่ายเพราะส่วนใหญ่เป็นรูปภาพ”

จะเป็น “Hyakusho” ได้ ต้องรู้ “วิธีปูพื้น” ด้วย

คู่มือ “แยมสตรอเบอร์รี่” ที่กำลังทำอยู่

ทำงานไปทำคู่มือไปแบบ “เรื่อยๆ” คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของ Teachme Biz

เสน่ห์คือแม้จะแค่ “พอดีๆ” แต่ก็เข้าใจได้

เพราะเป็นคู่มือแบบใช้รูปเป็นหลักทำให้พนักงานตัดสินใจได้ว่าองุ่นลูกไหนควรตัดทิ้งไปเพราะมีแมลงหรือโรค

เพราะเป็นคู่มือแบบใช้รูปเป็นหลักทำให้พนักงานตัดสินใจได้ว่าองุ่นลูกไหนควรตัดทิ้งไปเพราะมีแมลงหรือโรค คุณมิซุคามิบอกว่าข้อดีของ Teachme Biz ก็คือ “ความพอดี” เพราะไม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่า “จะทำคู่มือแล้วนะ!” แต่สามารถถ่ายรูประหว่างทำงานแบบแค่ “พอใช้ได้” แล้วเอามาทำเป็นคู่มือก็ได้ “ความสบายประมาณนี้กำลังดีครับ” เขายืนยัน

“สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำคู่มือคือการสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ใช่ไหมครับ Teachme Biz เนี่ย ไม่ได้มีแต่ตัวหนังสือ แต่ก็ไม่ได้มีแต่รูปภาพ เป็นการนำความ ‘พอดี’ ที่อยู่ระหว่างความตึงกับความหย่อนมาทำเป็นคู่มือครับ ผมรู้สึกว่าเสน่ห์ของTeachme Biz ก็คือ แม้ว่าจะให้ข้อมูลแบบ ‘สบายๆ พอดีๆ’ แต่สามารถส่งต่อข้อมูลให้ผู้รับได้อย่างพอเพียงครับ” (คุณมิซุคามิ)

นอกจากนี้ คุณมิซุคามิยังกล่าวต่อไปว่า  “ความสบายแบบพอดีๆ ยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกด้วยครับ” (คู่มือ)ไม่ได้ทำขึ้นด้วยพนักงานเพียงคนเดียว แต่เป็นการให้พนักงานทำส่วนที่ตัวเองทำได้ จากนั้นก็ให้คนอื่นรับช่วงทำต่อ ด้วยการทำคู่มือแบบให้พนักงานหลายๆ คนสับเปลี่ยนกันมาทำ ทำให้เนื้อหามีความละเอียดลออขึ้นเพราะผ่านสายตาของหลายคน

​ ​”ไม่ต้องจำขั้นตอนการทำงานก็ได้ การที่ทำให้แต่ละคนแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองออกมาต่างหากเป็นสิ่งสำคัญในการทำการเกษตรครับ” คุณมิซุคามิกล่าว ดังที่เขาได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ เกษตรกรรมนั้นหากจำวิธีการทำงานและขนบธรรมเนียมในการทำงานได้ ใครๆ ก็ทำได้ แต่ “ความคิดสร้างสรรค์” คือลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่สามารถส่งต่อกันได้

คุณมิซุคามิได้กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างมุ่งมั่นว่า การใช้ Teachme Biz ทำให้สามารถส่งต่อพื้นฐานการทำงานได้ และด้วยการเพิ่ม “คนทำงานแบบพร้อมใช้” และดึง “ความคิดสร้างสรรค์” จากพนักงานออกมา โฮโตะโตะจะทำให้วงการเกษตรกรรมคึกคักขึ้นอย่างแน่นอน

คลิกที่นี่สำหรับฟังก์ชั่นการแก้ไขร่วม “การสร้างการคู่มือคือการส่งผ่านความรู้จากคนสู่คน”

(Yosuke Yamakawa)

บทความที่ลงในสื่อ

ตัวอย่างผู้ใช้งานที่น่าสนใจ

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. 

Tokyo Consulting Firm Co., Ltd. "วางแผนจัดการคู่มือไว้ล่วงหน้า" หลีกเลี่ยงการมีคู่มือแต่ไม่ถูกใช้งานลดภาระในการส่งมอบงานและอัตราการลาออก วัตถุประสงค์: หลีกเลี่ยงภาระงานที่ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และสร้างมาตรฐานการทำงาน ปัญหา: ผู้รับผิดงานชอบลาออก...

GLOBAL B (THAILAND)

GLOBAL B (THAILAND)

 GLOBAL B (THAILAND) CO., LTD.เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบคำถามลูกค้า ได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว วัตถุประสงค์:ใช้คู่มือเพื่อให้บริการซัพพอร์ต ตอบคำลูกค้า ปัญหาที่เคยพบ:ใช้เวลามากในการสร้างและจัดการคู่มือ ผลลลัพธ์:ลดจำนวนคำถามจากลูกค้า ลดเวลาในการช่วยเหลือซัพพอร์ต...

CAPICHI

CAPICHI

CAPICHI PTE. LTD.หมดปัญหาการเสียเวลาออกแบบคู่มือ ซัพพอร์ตการขยายสาขาไปยังต่างประเทศ วัตถุประสงค์:สร้างคู่มือเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับทุกสาขา ก้าวข้ามอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม ปัญหาที่เคยพบ:สื่อสารผิดพลาดระหว่างสาขาต่างประเทศ ผลลลัพธ์:ลดเวลาในการสร้างคู่มือ เหลือเพียง 1...

Pin It on Pinterest

Optimized with PageSpeed Ninja